ช้อปปิ้งออนไลน์ไม่ใช่เทรนด์ แต่เป็นบรรทัดฐานการใช้ชีวิต

 ช้อปปิ้งออนไลน์ไม่ใช่เทรนด์ แต่เป็นบรรทัดฐานการใช้ชีวิต

"ของมันต้องมี" กลายเป็นแรงบันดาลใจสำหรับของนักช้อปออนไลน์ ที่เดิมจะมีพฤติกรรมการช้อปบนช่องทางโซเชียลมีเดีย แต่ตอนนี้กลับเลือกช้อปผ่านแบรนด์เว็บไซต์เพิ่ม เพื่อความมั่นใจว่าเป็นของแท้ถูกลิขสิทธิ์

วันเดอร์แมน ธอมป์สัน เผยผลสำรวจด้านพฤติกรรมของนักช้อปไทยมีการเปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบันการซื้อสินค้าออนไลน์ไม่ได้มาจากมาร์เก็ตเพลส เสิร์ชเอนจิน โซเชียลมีเดีย ยูทูป แบบเดิมแล้ว แต่ไปให้ความนิยมในการช้อปผ่านแบรนด์เว็บไซต์เพิ่มมากขึ้น 

การใช้จ่ายออนไลน์ของผู้บริโภคจึงมีความแตกต่างจากปีก่อนๆ โดยเป็นการกระจายตัวใช้จ่ายบนแพลตฟอร์มต่างๆ ทำให้แพลตฟอร์มออนไลน์ส่วนใหญ่ สามารถแบ่งยอดการใช้จ่ายออนไลน์รวมทั้งหมดของผู้บริโภคได้เพียงรายละไม่ถึง 20%

ซึ่งปีนี้นักช้อปไทยยังเต็มใจที่จะซื้อของออนไลน์บ่อยขึ้นและใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการช้อปหรือ Consumer Journey ของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ตั้งแต่แรงบันดาลใจ – การค้นหา – การซื้อ โดยมากกว่า 50% ของแต่ละขั้นตอนการพิจารณาจะมีขั้นตอนความต้องการที่ไม่เหมือนเดิม

 

ช้อปปิ้งออนไลน์ไม่ใช่เทรนด์ แต่เป็นบรรทัดฐานการใช้ชีวิต

โดยแต่ละขั้นตอนของนักช้อป ได้ถูกวิเคราะห์ออกเป็นแต่ละเหตุผล ดังนี้

เห็นแล้วกระตุ้นความต้องการซื้อ

แม้ว่ามาร์เก็ตเพลส ยังคงเป็นผู้นำในการสร้างแรงบันดาลใจ แต่โดยรวมแล้วแรงบันดาลใจที่เคยได้จาก มาร์เก็ตเพลส เสิร์ชเอนจิน โซเชียล ยูทูป มีสัญญาณลดลง

ซึ่งมาร์เก็ตเพลสมีประเด็นเรื่องความน่าเชื่อถือ 76% เห็นด้วยว่าพวกเขาเคยพบผลิตภัณฑ์หรือคอมเมนท์เกี่ยวกับของปลอมจากมาร์เก็ตเพลส ทำให้นักช้อปไทยเริ่มหาแรงบันดาลใจในการซื้อของจากเว็บไซต์เปรียบเทียบสินค้าและราคา แบรนด์เว็บไซต์ และจากหน้าร้านมากยิ่งขึ้น

มีแรงบันดาลใจแล้ว ต้องหาจากช่องทางที่ใช่!

การค้นหาข้อมูลที่ "เจาะจง หรือ Niche" ในช่องทางอื่นๆ มีเพิ่มมากขึ้น เช่น เว็บไซต์เปรียบเทียบราคา แบรนด์เว็บไซต์ และหน้าร้าน สิ่งที่น่าสนใจคือ แบรนด์เว็บไซต์ จะมีอำนาจมากพอ กับโซเชียลมีเดียในการค้นหา

อะไรจะดีไปกว่าการบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์จากในบ้านของแบรนด์เอง ผู้บริโภคกว่า 20% กล่าวว่าพวกเขาใช้เวลา 91% - 100% เพื่อค้นหาในออนไลน์ ซึ่งการค้นหามีความแตกต่างกันตามประเภทสินค้า

แม้ว่ามาร์เก็ตเพลสยังครองตลาดในกลุ่มสินค้าประเภทเสื้อผ้าและของใช้ในบ้าน แต่สินค้าเพื่อสุขภาพและยา ผู้คนยังคงมีการสอบถามข้อมูลที่ร้านมากกว่า ส่วนผลิตภัณฑ์ทางการเงิน จะค้นหาจากเสิร์ชเป็นส่วนใหญ่


ช้อปปิ้งออนไลน์ไม่ใช่เทรนด์ แต่เป็นบรรทัดฐานการใช้ชีวิต

ซื้อช่องทางไหนก็ได้ที่ ให้ข้อมูลชัด ราคาดี จัดส่งฟรี มีของถูกใจ

ปี 2566 จำนวนนักช้อปออนไลน์ที่ใช้จ่ายมากกว่า 90% เพิ่มขึ้น 300% ในทุกระดับของการใช้จ่ายตั้งแต่ 1,000 – 35,000 บาท กลุ่มที่ช้อปมากกว่า 30,000 บาท คือ กลุ่ม Millennials ที่อายุน้อยกว่า (25 – 34) และ Gen X (45 – 54)

มาร์เก็ตเพลสยังคงเป็นช่องทางการซื้ออันดับต้นๆ แต่มีทิศทางลดลง รวมถึงช่องทางรีเทลเว็บไซต์ของห้างสรรพสินค้า แบรนด์เว็บไซต์ ด้วย

สถิติที่น่าสนใจคือ ปี 2566 ผู้บริโภคซื้อสินค้าจากแบรนด์เว็บไซต์บ่อยกว่าโซเชียลมีเดียเสียอีก เป็นเพราะผู้คนชอบเนื้อหาและข้อมูลที่มีคุณภาพถูกต้องชัดเจน รวมถึงราคาที่ดีกว่าและจัดส่งฟรีเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเลือกซื้อของโดยตรงจากแบรนด์เมื่อเทียบกับช่องทางอื่นๆ

ทั้งนี้พบว่า KOL มีอิทธิพลมากที่สุดในการกระตุ้นการซื้อถึง 28% ตามด้วยครอบครัว 17% ส่วนพลังของสตรีมเมอร์ที่มีอิทธิพลต่อการซื้อลดลงอย่างมากจาก 17% เหลือเพียง 4%

 

ช้อปปิ้งออนไลน์ไม่ใช่เทรนด์ แต่เป็นบรรทัดฐานการใช้ชีวิต

จำนวนผู้ซื้อของบนโซเชียล แบ่งเป็น

  1. Facebook 80%
  2. TikTok 29.8%
  3. Live Shopping 73%

การสร้าง Brand Loyalty ตัวขับเคลื่อนหลักที่จะสร้างลูกค้าประจำคือ ข้อเสนอที่ดี ประสบการณ์ที่ดี และการจัดส่งที่รวดเร็ว

ยิ่งซื้อมาก ยิ่งคาดหวังมาก

นักช้อปต้องการประสบการณ์การจัดส่งที่สะดวก ส่งทุกที่ อย่างรวดเร็วมากขึ้น

  • 42% คาดหวังว่าจะได้รับสินค้าภายใน 2 – 3 วัน
  • นักช้อปต้องการจะได้รับสินค้าภายใน 12 ชั่วโมง เพิ่มสูงขึ้นถึง 30% 
  • Gen Z กว่า 30% คาดหวังการจัดส่งภายใน 1 ชั่วโมง

ส่วนหมวดหมู่ที่ผู้คนยินดีรอนานที่สุด (มากกว่า 2 วัน) ได้แก่ รถยนต์ สินค้าลักชัวรี่ สินค้ามือสอง เสื้อผ้าและของเล่น

นอกจากนี้ นักช้อปออนไลน์ยังต้องการความสะดวก ง่ายดาย และความหลากหลายในการชำระเงิน เพราะการช้อปปิ้งออนไลน์ได้เปลี่ยนจากความจำเป็นต่อการใช้งานไปสู่ “Retail Therapy” ที่ให้ความรื่นรมย์เติมเต็มความสุขของวันไปเสียแล้ว 

 

 

 

ที่มา : https://www.springnews.co.th/digital-business/digital-marketing/840649

 

 

Visitors: 1,405,369