ไขสงสัย กฎหมาย PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ถ่ายรูปติดคนอื่นผิดไหม
การบังคับใช้กฎหมาย "PDPA" (Personal Data Protection Act) หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ หรือได้รับความยินยอมจากบุคคลนั้นๆ ในฐานะเจ้าของข้อมูลก่อนเผยแพร่ ทำให้หลายคนเกิดข้อสงสัยว่าเรื่องอะไรที่ทำได้บ้าง และการเผยแพร่ข้อมูลแบบไหนที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย PDPA
ล่าสุดทางเพจ PDPC Thailand ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ได้เผย 4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA ชี้แจงเกี่ยวกรณีดังกล่าวแล้ว เพื่อให้ประชาชนทราบและเข้าใจโดยทั่วกัน ดังนี้
ตอบ : กรณีการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว
ตอบ : สามารถโพสต์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ตอบ : การติดกล้องวงจรปิดภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยของตัวเจ้าของบ้าน 4. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้ ตอบ : ไม่จำเป็นต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว (1) เป็นการทำตามสัญญา (2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ (3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิต และ/หรือร่างกายของบุคคล (4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ (5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ (6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง
PDPA = พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 4 (1) การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำการเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น
|