Net Zero ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน! เร่งหนุนธุรกิจด้วยนวัตกรรม สู่ความยั่งยืน

Net Zero ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน! เร่งหนุนธุรกิจด้วยนวัตกรรม สู่ความยั่งยืน

รวมมุมมองภาคเอกชนเกี่ยวกับมุมมองเส้นทางของไทยสู่… Net Zero ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน! ร่วมกันทำ เพื่อการเปลี่ยนแปลง หนุนธุรกิจด้วยนวัตกรรม สู่ความยั่งยืน

เป้าหมายของไทยในตอนนี้คือการก้าวไปสู่… Net Zero รับเทรนด์การค้าการลงทุนโลกที่เปลี่ยนไป ที่ไทยต้องทำเพราะ…ถ้าไม่ทำก็จะแข่งขันในตลาดโลกไม่ได้ โดยในงานสัมมนา Sustainable Daily Talk Action for Change : ทำเดี๋ยวนี้! เพื่อการเปลี่ยนแปลง ในหัวข้อภาคธุรกิจกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีหลายมุมมองจากภาคเอกชนที่น่าสนใจ

อย่างเช่น…. “ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC กล่าวว่า ESG เป็นปัจจัยสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวขององค์กร โดยบริษัทมีเป้าหมายในการเดินหน้าองค์กรสู่ธุรกิจเติบโตควบคู่การลดคาร์บอน โดยตั้งเป้าหมาย Commitment to Net Zero ภายในปี 2050 หรือปี 2593 รวมทั้งบริษัทยังปรับ Portfolio มุ่งสู่ธุรกิจ Hight Value and Low Carbon

 

ปัจจุบัน GC มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนองค์กรภายใต้สมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และมุ่งสู่องค์กรยั่งยืน ที่คงความสามารถในการทำกำไรด้วยผลิตภัณฑ์แห่งอนาคต โดยสอดคล้องกับเมกะเทรนด์ ตอบสนองต่อความต้องการ คำนึงถึงสุขภาพ สังคมเมือง ที่จะช่วยให้อยู่ในสังคมเมืองได้ดี รวมถึงเรื่องดิจิทัล ซึ่งบริษัทดำเนินการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยนแปลง

 

Net Zero ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน! เร่งหนุนธุรกิจด้วยนวัตกรรม สู่ความยั่งยืน

ทั้งนี้ การดำเนินธุรกิจภายใต้สมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม คือ การเติบโตทางธุรกิจที่มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี บริหารจัดการความเสี่ยงที่ครอบคลุมครบทุกมิติ รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และสร้างเสถียรภาพทางธุรกิจ

ทั้งนี้บริษัท วางกลยุทธ์ 3 Step Plus เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน มุ่งสู่ High Value and Low Carbon ประกอบด้วย 1. Step Change: ยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ 2.Step Out: แสวงหาโอกาสการเติบโตใหม่ๆ ในต่างประเทศ เพื่อก้าวสู่บริษัทระดับโลก และ 3. 3.Step Up: รักษาความเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนระดับโลกภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืนและการดำเนินงานด้าน Decarbonization ตามเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2593 เพื่อมุ่งสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ

 

ด้าน “น.ส.ขัตติยา อินทรวิชัย” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ขึ้นเวทีฉายภาพในหัวข้อ Action for Change : นวัตกรรมการเงิน เพื่อความยั่งยืน เปิดเผยว่า ความยั่งยืนเป็นโจทย์ความท้าทายของสถาบันการเงิน ถ้าต้องการให้เกิด Action for Change ต้องทำอะไรบ้าง? โดยในปัจจุบันภาพรวมของโลกมีการปล่อยคาร์บอนมากถึง 53,800 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ และในไทยมาการปล่อยสูง 372 ล้านตันคาร์บอนฯ

สำหรับธนาคารกสิกรไทย มีการปล่อยคาร์บอนมากถึง 36 ล้านตันคาร์บอน โดยธนาคารกสิกรไทย ได้เริ่มมุ่งดำเนินการและพัฒนาสู่ความยั่งยืน และยังเป็นธนาคารพาณิชย์แรกที่ได้รางวัล dow jones sustainability index 8 ปีติดต่อกัน ซึ่งในเรื่องของ ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) ต้องทำไปพร้อมกัน

“บทบาทแรกคือ ต้องคุยกับลูกค้าถึงแนวทางการเปลี่ยนผ่านโดยใช้กรีนโลน กรีนบอนด์ พลังงานหมุนเวียน รวมไปถึงธนาคารกสิกรไทย กับ ธนาคารกรุงศรีฯ เป็นตัวแทนสมาคมธนาคารไทย ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ช่วยภาคธุรกิจและประเทศไปสู่ Transition Finance เพื่อให้เป็นเน็ตซีโร่ (Net Zero) ตามบริบทในประเทศไทยในปี 2065 ซึ่งกสิกรไทยได้เตรียมแผนพูดคุยลูกค้าเริ่มจากโรงไฟฟ้าถ่านหินต้องหยุดตั้งแต่วันนี้”

“ซีอีโอ ธนาคารกสิกรไทย” กล่าวว่า แผนงานเพื่อให้เกิดขึ้น เช่น ต้องคิดไม่เหมือนเดิม , เรื่องต้นทุนผลิตออกมาแล้ว ขายได้จำนวนหนึ่ง แต่ถ้าขายให้มากกว่านั้น ต้นทุนต้องถูก , ทำงานร่วมกับลูกค้าผู้ซื้ออยากได้แบบไหน ออกแบบผลิตภัณฑ์จะได้มีคนซื้อ , ทำงานกับอีโคซิสเต็ม คนเกี่ยวข้องกับเรา ซัพพลายเออร์ ให้เป็นสีเขียว, หาคนที่เก่งร่วมทำงาน และต้นทุนการเงินที่ถูกราคาไม่แพง ขอสินเชื่อต้องออกแบบเพื่อให้ต้นทุนไม่ได้ถูกที่สุดแต่ต่อเนื่องมากที่สุด

มาต่อกันที่มุมมองของ “นายสราวุฒิ อยู่วิทยา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวในหัวข้อ TCP Action for Change : เครื่องดื่มเพื่อความยั่งยืน ว่า จากรายงานของ เวิลด์  อีโคโนมิก ฟอรั่ม เรื่องความยั่งยืน มีทั้งความเสี่ยงเดิมและใหม่ โดยเรื่องความเสี่ยงเดิม คือ อากาศเปลี่ยนแปลง ภูมิรัฐศาสตร์ สงครามในภูมิภาคต่างๆ ส่วนความเสี่ยงใหม่  เป็นเรื่องเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ  เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ และโทษมหันต์ ความเสี่ยง คือ สร้างข้อมูลเท็จ หรือปลอม ไม่ตรงความจริง และเป็นเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานสูง

นายสราวุฒิ กล่าวต่อว่า ในประเทศไทย จากอุณหภูมิที่สูงขึ้น มีการวิจัยว่า จะทำให้จีดีพีติดลบ 0.7% และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง 9.7 พันล้านชั่วโมง และยังมีผลต่อสุขภาพและโรคระบาดต่างๆ ด้วย นอกจากนี้ TCP ยังได้หันมาเน้นเรื่อง Sustainable  นำแนวคิด คิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อได้

โดยในเรื่องแพ็กเกจจิ้ง มีการเปลี่ยนแปลงให้ทุกอย่างเพื่อดีกับโลกมากขึ้น เช่น ขวดแก้ว ลดน้ำหนักลง  12%  ปรับฉลากสั้นลง 4% ช่วยลดคาร์บอนฟุตพรินต์ ด้านการขนส่งด้วย นอกจากนี้ ได้ยกเลิกการใช้ขวด PETทั้งหมด และใช้ rPET ที่รีไซเคิลมาเป็นส่วนผสมในการผลิต  ส่วนกระป๋องมีส่วนผสมของอะลูมิเนียมจากการรีไซเคิล 70%

มาต่อกันที่ “นายอธิป ตันติวรวงศ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินโนเพาเวอร์ จำกัด เปิดเผยว่า World Economic Forum เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ระบุว่า บริษัทที่ขาด 2 สิ่งนี้จะแข่งขันได้ยาก คือ นวัตกรรม เช่น เอไอ เพราะมาเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันได้ดี ส่วนอีกอันคือ Sustainability ด้าน เจพีมอร์แกน ให้ข้อมูลปีนี้น่าจะเห็นการลงทุนในเรื่องความยั่งยืนมากกว่าปีที่แล้ว

 

Net Zero ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน! เร่งหนุนธุรกิจด้วยนวัตกรรม สู่ความยั่งยืน

โดยหลายคนบอกเป็นเทรนด์ไกลตัวหรือไม่ แต่ว่า ความเป็นจริง เรื่องความยั่งยืนในไทยเป็นประเทศที่ตระหนักรู้ในเรื่องความยั่งยืน แต่ยังมีสาเหตุที่ทำไมการ Action เรื่องความยั่งยืนยังน้อยกว่าคาด มี 3 เหตุผล คือ

1.เนื่องจากเรื่องนี้ ยังเป็นเรื่องใหม่ เรื่อง ความรู้ยังจำกัด (Gap of Knowledge & Expertise about Sustainability)

2.หลายบริษัท ยังมีความเชื่อว่า การจ่ายในเรื่อง Sustainability ไม่คุ้มค่า เพราะว่าข้อมูลมีจำกัด (Mispercepion that Sustainbility is Costly) จ่ายไปไม่เห็นผลหรือไม่เพิ่มความสามารถ 3.เรื่องการ Allocate Resourcess to Core Business มีงบที่จำกัด แก้โดยได้มีเทคโนโลยี

“สิ่งที่สำคัญที่สร้างความยั่งยืนด้านพลังงานได้ คือ เรื่องของต้นทุน หากผู้ประกอบการต้องมีค่าใช้จ่ายต้นทุนเรื่องกรีนมาก จะไม่สามารถแข่งขันได้ เช่น ความมั่นคงทางด้านพลังงาน หากผู้ประกอบการกรีนบ้าง ไม่กรีนบ้าง บางช่วงผลิตไฟบ้าง ไม่ผลิตบ้าง คงไม่ส่งเสริมความยั่งยืนที่แท้จริง ดังนั้น จึงต้องมีความรู้ และมีนวัตกรรมมาเสริม”

 

ที่มา : https://www.springnews.co.th/keep-the-world/sustainable/849125

 

Visitors: 1,430,151