นาซาเผยวิดีโอ โลกสำลักคาร์บอน ก๊าซเรือนกระจกหมุนวนบนโลกเราอย่างไร?

นาซาเผยวิดีโอ โลกสำลักคาร์บอน ก๊าซเรือนกระจกหมุนวนบนโลกเราอย่างไร?

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เราปล่อยออกไปมันทำปฏิกิริยาอย่างไรต่อชั้นบรรยากาศโลก และปล่อยไปแล้ว มันไปไหน บทความนี้มีคำตอบ เพราะนาซาเผยวิดีโอการปล่อย CO2 บนโลก 1 ปีเต็ม!

เราพูดกันมาตลอด และรู้ดีว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คือตัวการสำคัญที่ทำให้โลกของเราร้อนขึ้น แต่การพูดถึงเรื่องสสารที่เป็นอากาศคือสิ่งที่เรายังไม่สามารถมองเห็นได้ว่า แท้จริงแล้วมันส่งผลกระทบต่อเรามากแค่ไหน นาซาเลยจัดทำแอนิเมชันให้ดูกันเต็ม ๆ เลยว่า โลกของเรามีคาร์บอนไดออกไซด์ลอยอยู่อย่างไร เยอะแค่ไหน

 

Cr. Scientific Visualization Studio
Cr. Scientific Visualization Studioแอนิเมชันนี้ ผลิตโดย Scientific Visualization Studio ของ NASA ซึ่งเป็นแอนิเมชันการแสดงการปล่อย CO2 หรือคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกในช่วงตลอดปี 2021 ซึ่งเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ๆ ที่สิ่งเหล่านี้ หมุนวนอยู่ในชั้นบรรยากาศโลกของเรา

การปล่อยก๊าซจะถูกแยกออกเป็นสันสีที่ต่างกันออกไป อาทิ

สีส้ม – การปล่อยมลพิษจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล

สีแดง – การเผาไหม้ของชีวมวล พืชที่มีชีวิตหรือตายแล้วซึ่งถูกเผาในที่โล่งเพื่อการเกษตร

สีเขียว – ก๊าซคาร์บอนไดออกไวด์ที่เกิดจากระบบนิเวศบนบกผ่านการหายใจของพืช

สีน้ำเงิน – ก๊าซที่ปล่อยออกมาจากมหาสมุทร

 

นาซาเผยวิดีโอ โลกสำลักคาร์บอน ก๊าซเรือนกระจกหมุนวนบนโลกเราอย่างไร?

จุดสีเขียว ๆ เล็ก ๆที่เราเห็นในแผนที่จะแสดงการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยระบบนิเวศทั้งบนบกและในทะเล เช่น ป่าฝน ที่สังเคราะห์ด้วยแสง มหาสมุทรที่ดูดซับโดยสาหร่าย


ตามการรายงานของนาซา เผยว่า ในความเป็นจริง ทุกปี ๆ ระบบนิเวศเหล่านี้จะช่วยดูดซับการปล่อยก๊าซจากมนุษย์ได้เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น นั่นหมายความว่า ก๊าซเรือนกระจกอีกครึ่งหนึ่งจะยังคงวนเวียนอยู่รอบโลกแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ แถมยังมีปริมาณที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย

สิ่งนี้แสดงให้เราเห็นว่า ธรรมชาติ ระบบนิเวศป่าไม้และพืชต่าง ๆ ไม่ว่าจะบกบนและในน้ำสำคัญต่อเราแค่ไหน พวกมันเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนชั้นดี ที่มนุษย์เองยังไม่สามารถหาอะไรมาทดแทนได้

 

ใกล้สิ้นปีหน่อยก็จะขุ่นเข้มแบบนี้เลย นี่คือทวีปอเมริกาเหนือและใต้ที่ปกคลุมไปด้วยฟอสซิล Cr. Scientific Visualization Studio

ใกล้สิ้นปีหน่อยก็จะขุ่นเข้มแบบนี้เลย นี่คือทวีปอเมริกาเหนือและใต้ที่ปกคลุมไปด้วยฟอสซิล Cr. Scientific Visualization Studioในแอนิเมชันทวีปอเมริกาเหนือและใต้ เมฆที่เราเห็นเป็นสีน้ำตาลเหล่านั้นคือตัวแทนของการปล่อยก๊าซจากเชื้อเพลิง ซึ่งมันจะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นในซีกโลกเหนือ

 

เอเชียและออสเตรเลีย ฝั่งจีนเข้มข้นมาก สีเขียวคือการดูดวับคาร์บอนตากต้นไม้

เอเชียและออสเตรเลีย ฝั่งจีนเข้มข้นมาก สีเขียวคือการดูดวับคาร์บอนตากต้นไม้พื้นที่ในส่วนของเอเชียและออสเตรเลีย สิ่งที่โดดเด่นที่สุดเลยคือ 
การปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิลจากจีน และออสเตรเลียทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน จะเห็นได้จากการกระพริบของจุดเขียว ๆ บนแผนที่ แต่อย่างไรก็ตาม วิดีโอชิ้นนี้ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการปล่อย CO2 ของออสเตรเลียว่ามีการปล่อยมากแค่ไหน

 

แผนที่ของแอฟริกา คาร์บอนส่วนใหญ่มาจากด้านบน คือ ยุโรปและตะวันออกกลาง Cr. Scientific Visualization Studio

แผนที่ของแอฟริกา คาร์บอนส่วนใหญ่มาจากด้านบน คือ ยุโรปและตะวันออกกลาง Cr. Scientific Visualization Studioวิดีโอสุดท้าย ในส่วนของแอฟริกา ยุโรป และตะวันออกกลาง จะเห็นได้ว่า มีการปล่อยก๊าซจากเชื้อเพลิงฟอสซิลจำนวนมากในยุโรปและซาอุดิอาระเบีย

และภาพจำลองนำมาจากข้อมูลจริงที่เกิดขึ้นในทุก ๆ ปี บนโลกใบน้อย ๆ ของเรา เรายังคงเห็นการปล่อยก๊าซอยู่ แม่จะมีการประชุม หารือ ลงนามความร่วมมือให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปหลายเวทีแล้ว แต่ดูเหมือนปริมาณจะไม่ลดลงเลย คุณล่ะ คิดว่าในอนาคตโลกของเราจะเป็นอย่างไรต่อไป?


ดูวิดีโอการเคลื่อนที่ของคาร์บอนไดออกไซด์ฉบับเต็มได้ที่ >>> 

Scientific Visualization Studio

ที่มาข้อมูล

Live Science

Scientific Visualization Studio



Visitors: 1,430,148