ทำความรู้จัก เทคโนโลยี Mind-Uploading ช่วยมนุษย์มีชีวิตอมตะในอนาคต
ทำความรู้จัก เทคโนโลยี Mind-Uploading ช่วยมนุษย์มีชีวิตอมตะในอนาคต
เทคโนโลยี Mind-Uploading หรือเรียกอีกชื่อว่า transhumanism ที่จะทำให้มนุษย์กลายเป็นอมตะ อาจจะสำเร็จภายในช่วงชีวิตอันใกล้ของเรานี้ ในปัจจุบันแล้วถ้าพูดถึงความเป็นอมตะ ก็คงมีแต่ในหนัง หรือ พวกแวมไพร์ หรือจะเป็น จำพวกการ์ตูนเหล่าตัวร้ายที่อยากมีชีวิตอมตะไว้ยึดโลก เรื่องราวในหนังนั้น กำลังจะเป็นจริงในโลกของเรา นั่นก็คือการเป็นอมตะ เพราะว่าในวันนี้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า พวกเราทุกที่มีชีวิตอยู่กันทุกวันนี้ อาจจะมีอายุยืนยาวพอที่จะได้เห็นความเป็นไปของมวลมนุษยชาติในอนาคตได้ด้วยตัวเอง สิ่งมหัศจรรย์นี้อาจเกิดขึ้นได้จริง ด้วยเทคโนโลยี อัปโหลดสมอง ความคิด ความทรงจำ ของเราไปเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ ด้วยสมมติฐานนี้อาจกล่าวได้ว่า “เรายังคงมีชีวิตอยู่ต่อไป” Mind-Uploading transhumanismกระบวนการทางเทคโนโลยีนี้มีชื่อว่า “transhumanism” นั่นคือการใช้เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ช่วยกันทำให้มนุษย์มีชีวิตอมตะ ไม่ว่าในท้ายที่สุดแล้ว ชีวิตนั้นจะดำเนินต่อในร่างกายที่มีเนื้อหนังหรือในร่างหุ่นยนต์ก็ตาม โดยพื้นฐานการทำงานของกระบวนการนี้ จะก๊อปปี้ข้อมูลในสมองเราไปเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย และเก็บไว้ในนั้นได้นานเกินกว่าร่างที่เป็นเนื้อหนังของเราจะอยู่รอดได้ คลาส เวเบอร์คลาส เวเบอร์ (Clas Weber) ผู้เชี่ยวชาญด้านปรัชญาจิตใจ, AI และอภิปรัชญาประจำมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลียกล่าวไว้ว่า เราอาจจะเข้าใกล้ความเป็นจริงขึ้นอีกมากแล้ว เขาเชื่อว่าจะสามารถคิดค้นเทคโนโลยีที่สามารถอัปโหลดสมอง หรืออย่างน้อยก็สามารถสร้างแผนที่สมองได้ภายในทศวรรษนี้ “เมื่อ 20 ปีที่แล้วนั้น ต้องใช้เวลากันหลายปีเลยล่ะและเงินทุนอีกหลายร้อยล้านเหรียญกว่าจะสร้างแผนที่พันธุกรรมมนุษย์ชุดแรกขึ้นมาได้ แต่ทุกวันนี้ ห้องแล็บที่เร็วที่สุดของเราสามารถทำได้เสร็จภายในไม่กี่ชั่วโมง ด้วยงบประมาณแค่ 100 เหรียญ” “ด้วยประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน เราอาจจะได้เห็นเทคโนโลยีการอัปโหลดสมองภายในช่วงชีวิตของลูกหรือหลานเราเนี่ยล่ะ” แต่การทำแผนที่สมองนั้นเป็นแค่เพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการ เพราะยังมีความท้าทายอีก 3 เรื่องที่ต้องทำให้สำเร็จได้ก่อน จะเริ่มกระบวนการอัปโหลด สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เทคโนโลยีอัปโหลดสมองเป็นไปได้จริง ก็คือความสามารถในการโคลนนิ่งและถ่ายโอนข้อมูลในสมอง ซึ่งเรายังทำไม่ได้ การจำลองสมองมนุษย์ถือเป็นความท้าทายใหญ่เวเบอร์เองได้กล่าวอีกว่า “การจำลองสมองมนุษย์นั้นถือเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ สมองของเราเป็นโครงสร้างที่ซับซ้อนที่สุดในจักรวาล พวกมันมีเซลล์ประสาทประมาณ 86,000 ล้านเซลล์ และเซลล์ที่ไม่ใช่เซลล์ประสาท 85,000 ล้านเซลล์ โดยมีการเชื่อมต่อของระบบประสาทประมาณ 1,000 พันล้านเซลล์” เปรียบเทียบได้กับ กาแล็กซีทางช้างเผือก ที่เป็นบ้านของดาวฤกษ์ประมาณ 200,000 ล้านดวง นอกจากนี้ ก็ยังมีอีกข้อสงสัยที่ยังคงเป็นปริศนาลึกลับอีกว่า ข้อมูลสมองที่ถ่ายโอนมานั้น “จะสามารถสร้างสภาพจิตความนึกคิด” ได้ด้วยหรือไม่ แต่ด้วยการใช้เทคโนโลยี AI นักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะสามารถเลียนแบบการทำงานของสภาพจิตใจบางส่วนได้ แต่ต้องใช้เวลานาน และสภาพจิตความนึกคิด ที่ถ่ายโอนมานั้นยังคงเป็นของเจ้าของเดิมหรือร่างที่รับโอนจะเป็นมนุษย์สังเคราะห์ได้รับความทรงจำคัดลอกมา เวเบอร์อธิบายในข้อนี้ว่า “เมื่อเราคาดหวังว่าการอัปโหลดสมองจะกลายเป็นหนทางให้มนุษย์ได้ดำเนินชีวิตต่อไป” "ลองจินตนาการว่า สมองของคุณถูกย้ายไปอยู่ในกะโหลกศีรษะที่ว่างเปล่าในร่างกายของบุคคลอื่น ร่างที่รับ จะมีความทรงจำของคุณ ความพึงพอใจต่าง ๆ บุคลิกตัวตนของคุณก็น่าจะเป็นตัวคุณ หรือว่าเขาจะเป็นผู้บริจาคร่างกาย ? พูดง่าย ๆ ก็คือ ตกลงคุณได้ร่างใหม่ หรือว่าเขาได้จิตใจใหม่" สุดท้ายนี้เสียงที่แตกต่างกลับออกมาว่า เทคโนโลยีนี้นั้น ไม่เวิร์ค เพราะในด้านของความเป็นจริงกลับมีการตั้งคำถามกลับไปว่า แล้วอยากจะมีชีวิตที่ยืนยาวขนาดนั้นเพื่ออะไรกัน แต่ในอีกเสียงหนึ่งก็บอกว่ากลับเป้นเรื่องที่ดีและเทคโนโลยีเหล่านี้จะต้องเป็นผลดีในอนาคตอย่างแน่นอน
ที่มา : https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/849677
|