มะเส็ง ชื่อเขมรแต่มาจากวัฒนธรรมจีน ? ส่งต่อความเชื่อสู่ปีนักษัตรไทย

มะเส็ง ชื่อเขมรแต่มาจากวัฒนธรรมจีน ? ส่งต่อความเชื่อสู่ปีนักษัตรไทย

 

มะเส็ง ชื่อเขมรแต่มาจากวัฒนธรรมจีน ? ส่งต่อความเชื่อสู่ปีนักษัตรไทย แบบยิ่งกว่าต้มยำรวมมิตรทางวัฒนธรรมอย่างลงตัว

ปี 2568 เป็นปีมะเส็ง หรือที่เรียกด้วยภาษาไทยง่ายๆ ว่าปีงูเล็ก เป็นการนับปีตามปีนักษัตรที่ไทยใช้มาอย่างยาวนานตั้งแต่โบราณ

 

คำถามที่ตามมาคือปีนักษัตรคืออะไรทำไมมีอิทธิพลต่อความเชื่อของคนไทยที่รวมไปถึงเรื่องปีชงด้วย ต้องบอกว่าปีนักษัตร เป็นระบบการนับปีแบบโบราณที่ใช้สัตว์ 12 ชนิดเป็นสัญลักษณ์แทนปีต่างๆ ซึ่งเป็นที่นิยมในหลายวัฒนธรรม โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเอเชีย เช่น ไทย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น ในประเทศไทยเอง ระบบปีนักษัตรก็เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านาน 

 

หลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งชี้ว่า ไทยรับเอาแนวคิดเรื่องปีนักษัตรมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมีหลักฐานปรากฏใน ตำนานการตั้งจุลศักราช ซึ่งกล่าวถึงการเริ่มต้นใช้จุลศักราชใน ปีกุนเอกศก ตรงกับ พ.ศ. 1182 นอกจากนี้ยังพบการอ้างอิงถึงปีนักษัตรใน ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่กล่าวถึง “1214 สกปีมะโรง” ซึ่งบ่งบอกว่าคนไทยในสมัยสุโขทัยก็คุ้นเคยกับการนับปีแบบนักษัตรเป็นอย่างดี

ข้อสันนิษฐานที่น่าสนใจเกี่ยวกับที่มาของปีนักษัตรไทย คือแนวคิดที่ว่าไทยอาจรับเอาปีนักษัตรมาจากเขมร ดังที่ปรากฏใน พงศาวดารไทใหญ่ พระนิพนธ์ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ที่ทรงสันนิษฐานว่า ชื่อสัตว์ 12 นักษัตรในภาษาไทยน่าจะรับมาจากภาษาเขมร เห็นได้จากหนังสือสาส์นสมเด็จคำว่าชวดภาษเขมรเรียกจู๊ด ฉลูอ่านว่าเฉล็อว ขาลอ่านว่าขาล เถาะอ่านว่าเถาะ มะโรงอ่านว่ามะโรง และมะเส็งอ่านว่ามะซัล ซึ่งออกเสียงค่อนข้างคล้ายกัน ขณะที่ไทยใหญ่ก็น่าจะรับเอาปีนักษัตรมาจากไทยและลาว ซึ่งก็รับมาจากจีนอีกทอดหนึ่ง

แม้ว่าจะมีข้อสันนิษฐานที่แตกต่างกันไป แต่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า จีนมีอิทธิพลสำคัญต่อการเผยแพร่ระบบปีนักษัตรในภูมิภาคเอเชีย โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจีนชี้ว่า ระบบปีนักษัตรน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากชนเผ่าทางตอนเหนือของจีน ก่อนที่จะเผยแพร่เข้าสู่จงหยวนใน สมัยราชวงศ์ฮั่น ส่วน เหตุผลที่เลือกสัตว์ 12 ชนิดมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของปีนักษัตรนั้น ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมี ข้อวินิจฉัยว่า การใช้รูปสัตว์เป็นสัญลักษณ์แทนปีนั้น ช่วยให้จดจำได้ง่าย และสามารถใช้สื่อสารกับคนต่างภาษาได้โดยไม่เกิดความสับสน

ข้อสันนิษฐานอีกประการหนึ่งเชื่อมโยงสัตว์ 12 นักษัตรกับช่วงเวลาการเคลื่อนไหวของสัตว์ โดยเชื่อว่าคนโบราณสังเกตพฤติกรรมของสัตว์ในแต่ละช่วงเวลา และนำมาเชื่อมโยงกับ 12 ชั่วยาม ในหนึ่งวัน


ตัวอย่างเช่น

ยามจื่อ (23.00-01.00 น.) เป็นเวลาที่หนูออกหากิน จึงถูกจับคู่กับปีชวด

ยามโฉ่ว (01.00-03.00 น.) เป็นเวลาที่วัวเคี้ยวเอื้อง จึงถูกจับคู่กับปีฉลู

ยามฉิน (03.00-05.00 น.) เป็นเวลาที่เสือออกล่าเหยื่อ จึงถูกจับคู่กับปีขาล

จะเห็นได้ว่าปีนักษัตรไทยเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยมาอย่างยาวนาน หลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งชี้ว่า ไทยรับเอาแนวคิดเรื่องปีนักษัตรมาจากประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีนน่าจะมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ระบบปีนักษัตรในภูมิภาคนี้ แม้ว่าที่มาของปีนักษัตรจะยังไม่ชัดเจน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าปีนักษัตรได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนไทย และยังคงส่งอิทธิพลต่อความเชื่อ

อ้างอิง

SilpaMag 1 / SilpaMag 2 /

ที่มา : https://www.springnews.co.th/news/hot-issue/855059

 

 

 

Visitors: 1,419,194