สรุปให้ รวมเรื่องที่ต้องรู้ ฉนวนความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ นับ 100 ปี



สรุปให้ รวมเรื่องที่ต้องรู้ ฉนวนความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ นับ 100 ปี

#สรุปให้ รวมเรื่องที่ต้องรู้ ฉนวนความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ นับ 100 ปี
 รวมเรื่องที่ต้องรู้ก่อนอ่านข่าว อิสราเอล-ปาเลสไตน์ แล้วคุณจะเข้าใจภูมิภาคนี้มากขึ้น จากฉนวนความขัดนับ 100 ปี

ความขัดแย้งระหว่าง อิสราเอล-ปาเลสไตน์ ที่ปะทุขึ้นครั้งใหม่ เมื่อเช้าวันที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่น กลุ่มปาเลสไตน์หัวรุนแรง ชื่อกลุ่มฮามาส เปิดฉากยิงถล่มใส่ดินแดนอิสราเอล ทำให้มีผู้บริสุทธิ์และเสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งหนึ่งในนั้นมีคนไทยจำนวนหนึ่งที่ได้รับลูกหลงด้วย

ชวนคุณมาทำความเข้าใจพื้นที่นี้ ฉนวนความขัดแย้งเป็นอย่างไร ? ทำไมการเมืองและสงครามในประเทศแถบนั้นถึงร้อนแรงเหลือเกิน ?

ถิ่นที่ตั้ง ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและดินแดนสำคัญทางศาสนา

2 สิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจคือ ศาสนาและพื้นที่แถบนั้น โดย อิสราเอล ส่วนใหญ่เป็นชาวยิว (ยิวนับถือศาสนายูดาห์) และ ปาเลสไตน์ นับถือ ศาสนาอิสลาม เป็นส่วนใหญ่

พื้นที่แถวอิสราเอลสมัยก่อนเรียก ปาเลนสไตน์ จากการตกเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งในพื้นที่นี้เองมีนครที่ชื่อว่า กรุงเยรูซาเล็ม ตามประวัติศาสตร์แล้วเมืองแห่งนี้ เป็นข้อพิพาทของหลายศาสนาตั้งแต่อดีต ซึ่งเอาที่หลาย ๆ คนน่าจะจำได้ก็คือ สงครามครูเสด ที่นักรบของศาสนาคริสต์และอิสลาม ทำสงครามเพื่อแย่งชิงนครแห่งนี้กัน

ทำให้ภูมิภาคที่จักรวรรดิออตโตมันตั้งชื่อให้ว่า ปาเลนสไตน์ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมอย่างมาก

 

#สรุปให้ รวมเรื่องที่ต้องรู้ ฉนวนความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ นับ 100 ปี

 

จนกระทั่งช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดิออตโตมันเป็นฝ่ายตรงข้ามของสัมพันธมิตร อังกฤษที่เป็นชาติสัมพันธมิตรจึงทำสนธิสัญญาบัลฟอร์กับชาวยิว สัญญาว่าถ้าชาวยิวช่วยอังกฤษรบจนชนะ จะยกดินแดนปาเลสไตน์ให้ แต่ในขณะเดียวกัน อังกฤษที่กลัวแพ้สงคราม ก็ทำสนธิสัญญาซ้อนอีกฉบับ แต่ทำกับชาวปาเลสติเนียน บอกว่าถ้าช่วยรบกับเยอรมัน จะคืนอิสรภาพให้ปาเลสไตน์

 

#สรุปให้ รวมเรื่องที่ต้องรู้ ฉนวนความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ นับ 100 ปี

สุดท้ายอังกฤษและฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 ประกาศเอกราชให้ชาวยิว กลายเป็นประเทศอิสราเอล ช่วงปี 1948 ทำให้ประชากรที่อยู่อาศัยเดิมไม่พอใจ จนกระทั่งสงครามปะทะกันขึ้นเรื่อยมา

ศาสนา การเมือง และ การเมืองโลก

ดูเหมือนว่าความขัดแย้งนี้จะเป็นเรื่องศาสนาเพียงอย่างเดียว แต่จริง ๆ แล้ว มีมากกว่านั้นเมื่อ อิสราเอล เป็นเพียงไม่กี่ชาติในภูมิภาคนั้นที่เป็นพันธมิตรกับชาติตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกา ดังนั้นนี่จึงเป็นกึ่งสงครามตัวแทนเล็ก ๆ ด้วย เพราะหลังจากอังกฤษให้เอกราชอิสราเอล ก็ทำให้ประเทศนี้อยู่โดดเดี่ยวท่ามกลางคู่ขัดแย้งรอบตัวมาตลอด

หนึ่งในสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า สหรัฐฯ หนุนหลังอิสราเอล คือ ระบบ Iron Dome ระบบต่อต้านขีปนาวุธพิสัยการยิงสั้นของอิสราเอล ที่ใช้ป้องกันจรวดของศัตรูที่จะยิงเข้ามาในเขตชุมชน

 

#สรุปให้ รวมเรื่องที่ต้องรู้ ฉนวนความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ นับ 100 ปี

ขณะที่ปาเลสไตน์ ก็ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน ประเทศที่มีผู้นำเป็นศาสนาอิสลามนิกายเดียวกัน และรัสเซีย พันธมิตรของอิหร่านเป็นคนหนุนหลังให้ นี่จึงอาจกลายเป็นสงครามระหว่าง 2 ขั้วอำนาจด้วย

 

กล่มฮามาส มาจากไหน ?

ขณะที่ปาเลสไตน์เอง แม้รัฐบาลจะเป็น กลุ่มฟาตาห์ (Fatah) ซึ่งเป็นกลุ่มการเมืองที่มีนโยบายประนีประนอมกับอิสราเอล มี มาห์มูด อับบาส ประธานาธิบดีแห่งรัฐปาเลสไตน์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำการเมืองของรัฐบาลปาเลสไตน์ (Palestinian Authority- PA) ซึ่งปกครองและดูแลเขต West Bank

ในขณะที่กลุ่มฮามาส (Hamas) ซึ่งเป็นกลุ่มการเมืองแนวทางอิสลามนิยมปาเลสไตน์หัวรุนแรงควบได้คุมอำนาจการปกครองในฉนวนกาซา และต่อมาทั้งสองฝ่ายตกลงจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ (Unity Government) เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2557 (ค.ศ. 2014) แต่กลุ่มฟาตาห์ยังคงเป็นฝ่ายที่มีอำนาจเหนือกว่าในรัฐบาลดังกล่าว 

 

#สรุปให้ รวมเรื่องที่ต้องรู้ ฉนวนความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ นับ 100 ปี

อิลราเอล เมืองหลวงชื่อ เทลอาวีฟ และการโจมตีครั้งนี้อยู่ที่ฉนวนกาซา ส่วนปาเลสไตน์ตั้งเมืองหลวงตัวเองให้อยู่ที่กรุงเยลูซาเล็ม ซึ่งเมืองนี้เองก็ถูกแบ่งเป็น 2 ฝั่งเพราะต่างฝ่ายต่างแย่งพื้นที่นี้กัน 

การโจมตีครั้งนี้รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี และไม่มีวี่แววว่าจะลงเอยอย่างไร ส่วนล่าสุด นายกฯ คอนเฟิร์มว่ามีไทย เสียชีวิต 1 คน ถูกจับไป 11 คน และอาจมีมากกว่านั้นด้วย

 

#สรุปให้ รวมเรื่องที่ต้องรู้ ฉนวนความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ นับ 100 ปี

ปัจจุบันจำนวนแรงงานไทยที่ทำงานอยู่ในประเทศอิสราเอลรวมทั้งสิ้นประมาณ 29,900 คน โดยเป็นแรงงานที่อยู่อาศัยบริเวณเมือง Netivot , Sderot, Ashkelo และพื้นที่ใกล้เคียง ประมาณ 5,000 คน



ที่มา : https://www.springnews.co.th/news/hot-issue/844029



Visitors: 1,405,382