Influencer อินฟลูเอนเซอร์ มีกี่ประเภท ?

 Influencer อินฟลูเอนเซอร์ มีกี่ประเภท ?

 

อินฟลูเอนเซอร์คือใคร? แล้วเพราะเหตุใด บุคคลเหล่านี้จึง เป็น ผู้ทรงอิทธิพลในโซเชียล อาชีพในฝันเด็ก Gen Z ทั้งหลาย , และหากต้องแบ่ง อินฟลูเอนเซอร์ เป็นประเภทต่างๆ แล้ว มีกี่ประเภท

ในโลกที่ใครๆอยากจะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในโลกออนไลน์ ทุกคนอยากมีตัวตน อยากเป็นที่รู้จัก คนที่จะเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้คนดู หรือ audience ติดตามได้ตลอดเวลา ก็คือ เหล่า  อินฟลูเอนเซอร์ Influencer นั่นเอง และ เด็กรุ่นใหม่ รุ่น Gen Z  ต่างก็อยากเป็น ผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์ หรือ ที่ทุกวันนี้ เรียกกันว่า อินฟลูเอนเซอร์ Influencer ด้วยกันทั้งนั้น , 

หากจะลองอธิบายให้เข้าใจง่ายๆที่สุด ว่า  อินฟลูเอนเซอร์คือใคร? แล้วเพราะเหตุใด บุคคลเหล่านี้จึง เป็น ผู้ทรงอิทธิพลในโซเชียล อาชีพในฝันเด็ก Gen Z ทั้งหลาย

อินฟลูเอนเซอร์ คืออะไร ?  

หากให้นิยามความเป็นอินฟลูเอนเซอร์นั้น ส่วนใหญ่แล้วจะสรุปแบบอนุมานตรงกันว่า อินฟลูฯ เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลกับคนหมู่มากบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งจะมีการทำคอนเทนต์เผยแพร่ตามแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Blog, Instagram, Facebook, YouTube แล้วมีคนสนใจติดตาม ยิ่งมีผู้ติดตามมากก็ยิ่งมีอิทธิพลมาก

ผู้ติดตามส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ตั้งแต่เด็กไปจนถึงวัยทำงาน และมักคล้อยตามเนื้อหาหรือสิ่งที่ Influencer พูดโน้มน้าวใจได้ง่าย เพราะรู้สึกถึงความใกล้ชิดและจริงใจกว่าสื่อโฆษณาของแบรนด์ต่างๆ ในรูปแบบเดิม กล่าวอย่างไม่เกินจริง เดี๋ยวนี้ ผู้ชมบางกลุ่ม เชื่อถือ อินฟลูเอนเซอร์ มากกว่า นักวิชาการ หรือ คนที่มีความรู้ในสาขาเฉพาะทางด้วยซ้ำ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่แปลกประหลาดเป็นอย่างมาก แต่มันก็เป็นไปแล้ว 
 
จริงๆ แล้วคำว่าอินฟลูเอนเซอร์ถูกพูดถึงมานานแล้ว คล้ายๆ กับปรากฏการณ์เลียนแบบหรือกระทำตามบุคคลใดบุคคลหนึ่งกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งภาพจำของอินฟลูเอนเซอร์มาเริ่มชัดในยุคที่อินเทอร์เน็ตรุ่งเรือง และกลายเป็นอาชีพที่ทำเงินมหาศาลในปัจจุบัน
 

 

จากการทำคอนเทนต์สู่การสร้างเงินมหาศาลในบทบาทอินฟลูเอนเซอร์ 

มีรายงาน Influencer Marketing Outlook ประจำปี 2020 หรือเมื่อ 4 ปีก่อน ที่จัดทำโดย Influencer Marketing Hub ซึ่งได้เก็บข้อมูลจากการใช้แพลตฟอร์ม Social Media ของนักการตลาด พบว่า อินฟลูเอนเซอร์มีรายได้โพสต์ละประมาณ 100- 700,000 บาท

นั่นหมายความว่า การมีตัวตนของอินฟลูเอนเซอร์ และมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ ตามเข็มนาฬิกาที่เดินไป นำมาสู่การตลาดที่เรียกว่า Influencer Marketing คือการตลาดออนไลน์ที่ใช้ Influencer ในการโฆษณาสินค้า เป็นการตลาดที่เริ่มแพร่หลาย

และปฏิเสธความจริงไม่ได้เลยว่า ในยุคนี้การทำตลาดออนไลน์ คงหนีไม่พ้นการใช้ Influencer ผ่าน Social Media ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเพิ่ม Awareness (การรับรู้) ให้กับแบรนด์สินค้า ซึ่งการใช้ Influencer ถือเป็นการทำการตลาดที่ได้รับความนิยมในยุคนี้เพราะ Influencer คือผู้ที่จะช่วยเพิ่มการรับรู้ โน้มน้าว และชักจูงให้ผู้บริโภคเชื่อจนนำไปสู่การตัดสินใจซื้อ โดยเราสามารถแยก Influencer ได้หลายประเภท ทั้งจากไลฟ์สไตล์ แพลตฟอร์ม Social Media รวมถึงแยกประเภทจากยอดผู้ติดตามของ Influencer ซึ่งจะสามารถแยกได้ตามนี้

 

Influencer Tier (แบ่งคลาสอินฟลูเอนเซอร์ ) 

Nano Influencer  มียอดผู้ติดตามตั้งแต่ 1,000 - 10,000 คน : เป็นอินฟลูเอนเซอร์ระดับที่เล็กที่สุด มีผู้ติดตามในโซเชียลมีเดียตั้งแต่ 1,000-10,000 คน เป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากและราคาไม่สูง ทำให้เลือกใช้พร้อมกันหลายคนได้ต่อ 1 แคมเปญ 
Micro Influencer  มีผู้ติดตามตั้งแต่ 10,000 - 50,000 คน :  อินฟลูเอนเซอร์ระดับรองลงมาที่มีผู้ติดตามตั้งแต่ 10,000-50,000 คน ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า Nano Influencer และยังมีไลฟ์สไตล์ที่ชัดเจนมากกว่า ส่วนเรทราคามากกว่าแต่ไม่สูงมากจนเกินไป
Mid-Tier Influencer  มีผู้ติดตามตั้งแต่ 50,000 - 500,000 คน  : ผู้ติดตามตั้งแต่ 50,000-500,000 คน เป็นกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ระดับมืออาชีพแล้ว มีเอกลักษณ์ในการทำคอนเทนต์เฉพาะตัว โดยส่วนมากอินฟลูเอนเซอร์ประเภทนี้จะมีทีมงานคอยสนับสนุนในการสร้างคอนเทนต์กันเป็นทีม เหมาะสำหรับแบรนด์ที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์แบบมืออาชีพมากว่า 2 ประเภทก่อนหน้า


Macro Influencer  มีผู้ติดตามตั้งแต่ 500,000 - 1,000,000 คน :  เป็นกลุ่มคนที่มีชื่อเสียงที่มีผู้ติดตามมากกว่า 500,000 คน ไปจนถึงล้านกว่า โดยอินฟลูเอนเซอร์ประเภทนี้จะส่วนมากจะเป็นคนที่มีชื่อเสียงหรือเป็นเน็ตไอดอลบนสื่อโซเชียลมีเดีย เป็นกลุ่มที่มีผู้ติดตามเฉพาะเจาะจงมากกว่า เหมาะกับผู้ที่มีงบในการลงทุนด้านนี้โดยเฉพาะ เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
Mega Influencer  มีผู้ติดตาม 1,000,000 คนขึ้นไป : อินฟลูเอนเซอร์ระดับเซเลปที่เป็นคนดังในวงการบันเทิง หรือเป็นที่รู้จักในสังคมทั่วไป โดยมีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคนขึ้นไป กลุ่มนี้จะเหมาะกับแบรนด์ที่มีงบประมาณสูงมาก และเหมาะกับงานแคมเปญที่ต้องการให้เกิดการรับรู้ในวงกว้างด้วยเวลาที่รวดเร็วจากอิทธิพลของพวกเขา

 

Influencer อินฟลูเอนเซอร์ มีกี่ประเภท ?  อาชีพในฝันเด็ก Gen Z ที่ใครก็อยากเป็น

นอกจากนี้ หากเราจะลองแยกย่อย 8 ประเภทของ Influencers อินฟลูเอนเซอร์ ที่แบ่งตามลักษณะคอนเทนต์ที่พวกเขาสร้างสรรค์ 

  • สาย Gamers และ Live Streamers
  • สายกีฬา และฟิตเนส
  • Bloggers/ Vloggers
  • สายท่องเที่ยว
  • สายความงาม
  • สายแฟชั่น
  • สายครอบครัว
  • สายกิน รีวิวอาหาร

 

ที่มา : https://www.springnews.co.th/digital-business/digital-marketing/848627

 

Visitors: 1,327,428