Influencer คืออะไร? ทำไมคน Gen Z และ Gen Y ต้องติดตาม..

..Influencer คืออะไร? ทำไมคน Gen Z และ Gen Y ต้องติดตาม..
 
หลายคนอาจเคยได้ “อินสไปเรชั่น” กระแสรักสุขภาพหันมาออกกำลังกายตามนางแบบนายแบบ แต่ไม่วายกดเสิร์ชดูชุดคอลเล็กเล็กชั่นล่าสุดที่นางแบบ นายแบบใส่ และยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ยังมีปรากฎการณ์ อีกมากมายที่สาวๆหลายคนต้อง “ซื้อ” ตาม เช่น ลิปสติกเฉดสี หรือชุดออกกำลังกายแบรนด์พี่ตูน เฮ้ย!!!แบรนด์ A***as นี่ยังไม่รวมถึง ไอเดียติดแฮชแท็ก #saveนั้นsaveนี้ กันให้ว่อนกันทั่วฟีต อินสตราแกรม ,FACKBOOK
 
 
อินฟลูเอนเซอร์หรือที่แปลตรงตัวว่า “ผู้ทรงอิทธิพลบนโลกโซเชียล” และหากจะสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน นาทีนี้หันไปทางไหนก็เจอแต่บล็อกเกอร์ อินสตราแกรมเมอร์ ยูทูปเบอร์
 
ซึ่งเขาเหล่านี้คือผู้ทรงอิทธิพลที่ไม่ควรมองข้าม เพียงแต่”ขีดความสามารถ”ในการ”เข้าถึง”ผู้บริโภคของแต่ละบุคคล รวมทั้งสกิลในการสื่อสาร สร้างการรับรู้แบรนด์ หรือแม้กระทั่งมีอิทธิพลโน้มน้าวใจให้กลุ่มเป้าหมายสามารถควักกระเป๋าจ่ายเงินซื้อสินค้าตามที่อินฟลูเอนเซอร์เหล่านั้นเรคคอมเมนท์ได้แตกต่างกันไป
 
Influencer มีหลายแบบ เช่น กูรูด้านความงามและแฟชั่น คนที่ชอบท่องเที่ยวและชิมอาหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเกม ดนตรี ภาพยนตร์ รวมไปถึง Celebrity คนดังที่ออกสื่อโซเชี่ยลเป็นประจำ
 
แต่ขอบอกก่อนว่า อินฟลูเอนเซอร์ หรือ KOL (Key Opinion Leaders) นั้นไม่ได้จำกัดอยู่ที่แวดวงดาราเท่านั้น เพราะอย่างแพทย์, ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และนักการเมือง ก็ถือเป็นหนึ่งในอินฟลูเอนเซอร์ (แต่อาจจะต่างบทบาทกันไปสักนิดส์) แต่เราเห็นแล้วว่า “คิม จองอึน” “โดนัลด์ ทรัมป์” “ประยุทธ”หรือแม้แต่ “ธนาธร” ทั้งหมด สามารถสร้างความอิมแพคกระเทือนทั่วโลกทั่วประเทศ ได้เช่นกัน นี้ยังไม่รวมน้องแมวน้องหมาดังๆด้วยนะครับ
 
แล้ว..ฮินฟลูเอนเซอร์มีกี่ประเภท? แบ่งกันยังไง?
 
เราสามารถแบ่งประเภทของอินฟลูเอนเซอร์ได้จาก เกณฑ์จำนวนผู้ติดตาม (Followers) และ ตามพลังความโน้มน้าวความคิด (Influencing Power)
 
Chiara Ferragni
 
-Macro Influencer: อินฟลูเอนเซอร์กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุด สามารถสร้างการรับรู้แบรนด์เข้าถึงตัวผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวาง โดยมีฐานผู้ติดตามที่จำนวน 1M – 1M+ ฟอลโลวเวอร์ขึ้นไป
 
Kiersten Rich
 
 
-Mid Level Influencer: ผู้ทรงอิทธิพลระดับกลางมีฐานผู้ติดตามที่ 100K – 1M
 
-Micro Influencer: ผู้ทรงอิทธิพลขนาดเล็ก มีฐานผู้ติดตามที่ 5K – 100 K ซึ่งส่วนตัวแล้วเราเชื่อว่าอินฟลูเอนเซอร์กลุ่มนี้กำลังเป็นที่ต้องการของแบรนด์ต่างๆอยู่มาก เพราะสามารถสร้างการรับรู้ได้ดีถึงแม้จะไม่ทรงอิทธิพลมากเท่าดาราตัวเบ้งๆก็ตามที แถมยังเข้าถึงตัวผู้บริโภคได้ง่ายและให้ความรู้สึกที่”เป็นกันเอง”นั้นเอง.
 
ผลการศึกษายังบอกอีกว่า คนยุค Gen Y (อายุ 24-35 ปี) และ Gen Z (อายุ 16-23 ปี) กลับดันเชื่อถือในตัวอินฟลูเอนเซอร์บนสื่อโซเชียลมากกว่าแคมเปญโฆษณาราคาแพงใดๆที่จะสามารถทำได้
 
ผู้ที่ติดตามอินฟลูเอนเซอร์บนสื่อโซเชียล เชื่อถือในตัวอินฟลูเอนเซอร์มากกว่าคนกลุ่มอื่น ส่วนหนึ่งเพราะคนกลุ่มนี้รับข่าวสารการตลาดผ่านการติดตาม Influencer มากกว่าโฆษณาแบบอื่น (ทีวี วิทยุ สิ่งพิมพ์ หรือออนไลน์) เห็นได้จาก…
 
-80% เข้าไปเช็คดูความเคลื่อนไหวของอินฟลูเอนเซอร์หลายครั้งในหนึ่งสัปดาห์ และคาดหวังว่าจะเห็นการอัพเดตใหม่ๆ
-59% ของ Gen Y ตัดสินใจซื้อตามคำแนะนำของอินฟลูเอนเซอร์โดยตรง
-75% อยากเห็นอินฟลูเอนเซอร์แนะนำผลิตภัณฑ์ต่างๆ เชื่อว่าอินฟลูเอนเซอร์แนะนำสินค้าเหล่านั้นโดยบริสุทธิ์ใจถึงแม้ว่าจะได้รับค่าตอบแทนก็ตาม
 
จากผลการวิจัยทางการตลาดบ่งชี้ว่า สถิติการใช้อินฟลูเอนเซอร์เพียงจำนวน 3% สามารถสร้างผลกระทบและส่งผลการรับรู้บนโซเชียลมีเดียได้มากถึง 90%
 
ยิ่งไปกว่านั้นการเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์สามารถสร้างผลตอบแทนให้กับแบรนด์ได้มากถึง 65% เลยทีเดียวเชียว!!!
 
เราจึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเทรนด์การใช้ Influencer Marketing ถึงมาแรงจริงๆ
 
ยุค Social media มีเรื่องแปลกใหม่อยู่เสมอ ตั้งแต่เน็ตไอดอล Youtuber รวมถึง Influencer จึงกลายเป็นอาชีพฮอทฮิตเพราะรายได้ดี มีคนซื้อโฆษณา จ้างทำรีวิวกันเพียบ
 
ไบรอัน กริฟฟิน ซีอีโอของ Vero ที่ปรึกษาด้านการตลาด บอกว่า จากผลการศึกษาเรื่อง “ผลกระทบของอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer Impact Study) ให้คำจำกัดความ Influencer คือ บล็อกเกอร์หรือบุคคลบนโลกออนไลน์อื่นๆ ที่มีผู้ติดตามมากพอที่จะสร้างผลกระทบด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจได้
 
Vero บอกว่า การเติบใหญ่ของอินฟลูเอนเซอร์ไม่ใช่การโหมกระแส แต่เป็นการเปลี่ยนวิธีการทำตลาดที่คาดหวังผลได้ในอนาคต ซึ่ง Influencer เติบโตมาพร้อมๆ กับ คนยุค Gen Z นั่นเอง
 
 
 
 
 
 
Visitors: 1,405,382