แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานร่วมกับมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์กรสาธารณประโยชน์)

     
     เจ้าหน้าที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ตัวแทนของคนทำงานรุ่นใหม่ 5 คนเข้าร่วมงาน IMF Strategy Toward Mainstreaming Gender ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานร่วมกับมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์กรสาธารณประโยชน์)
ช่องว่างทางด้านสังคมระหว่างเพศหญิงและเพศชายเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหาภาค ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการปลดล็อคข้อจำกัดเรื่องศักยภาพทางเศรษฐกิจและทำข้อเสนอเชิงโยบายของประเทศให้ครอบคลุมกับคนทุกกลุ่ม และให้ความสำคัญกับความหลากหลาย (inclusivity) ทางเพศมากขึ้น นำไปสู่สังคมที่มีภูมิคุ้มกันที่ดีและยั่งยืน

     มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ นำเสนอภาพรวมการดำเนินงานกว่า 30 ปีของโครงการพัฒนาดอยตุงฯ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนตามพระราชดำริของสมเด็จย่าว่า “ไม่มีใครอยากเป็นคนไม่ดี แต่ที่เขาไม่ดีเพราะขาดโอกาสและทางเลือก” โดยเฉพาะการให้โอกาสเสมอภาคกับคนทุกกลุ่มเพื่อลดปัญหาความไม่เท่าเทียมเชิงโครงสร้างไปพร้อมกัน ซึ่งรวมถึงช่องว่างระหว่างเพศด้วย จึงส่งเสริมอาชีพในกลุ่มสตรีให้สอดคล้องกับศักยภาพและบริบทของพื้นที่ เช่น หัตถกรรม เกษตรกรรม การเป็นผู้ประกอบการ พร้อมกับพัฒนาความเป็นอยู่ ควบคู่กับการศึกษาทั้งในและนอกห้องเรียน

     นอกเหนือจากคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนทุกเพศทุกวัย เช่น รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นกว่า 20 เท่าจากช่วงก่อตั้งโครงการ หรือการเข้าถึงการศึกษาเพิ่มขึ้น พื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์แล้ว ยังส่งเสริมให้ผู้หญิงหลายคนสามารถพึ่งพาตนเองและสร้างรายได้มั่นคงจนเป็นที่พึ่งของครอบครัว และกลายเป็นแบบอย่างและสร้างแรงบันดาลใจให้กลุ่มผู้หญิงด้วยกัน เป็นต้น

     ส่วนมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรีฯ ได้เล่ากรณีศึกษาการทำงานในมิติเพศและการพัฒนาที่ยั่งยืนในหลายแง่มุม รวมถึงภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัย เช่น การข่มขืน ทารุณกรรม ทำร้ายร่างกาย การค้าประเวณี ปัญหาครอบครัว เกือบ 180,000 ระหว่างปี 2543-2566 โดยยึดหลักบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และการสร้างความตระหนักกับกลุ่มคนต่างๆ ให้ป้องกัน รับมือ และรู้เท่าทันสถานการณ์
 
Visitors: 1,237,277