How to 'สั่งอาหารออนไลน์' อย่างไร? ให้ปลอดภัย

How to 'สั่งอาหารออนไลน์' อย่างไร? ให้ปลอดภัย

How to 'สั่งอาหารออนไลน์' อย่างไร? ให้ปลอดภัย
5 พฤษภาคม 2564
 

"กรมอนามัย" เล็งยกระดับเข้ม "กลุ่มเดลิเวอรี" กำหนด 8 ข้อปฎิบัติ "สั่งอาหารออนไลน์" ให้ปลอดภัย สร้างความมั่นใจลูกค้า ลดเสี่ยงโควิด

จากที่มีการแชร์ข้อความที่พาดพิง ถึงการระบาดของ "คลัสเตอร์คลองเตย"ว่าส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ที่อยู่ในชุมชนประกอบอาชีพหลักคือเป็นพนักงานส่งอาหาร "กลุ่มเดลิเวอรี"และขอให้งดใช้บริการเหล่านี้เพราะอาจส่งผลให้นำเชื้อไปสู่คนอีกครอบครัวหนึ่ง

  • ย้ำ "กลุ่มเดลิเวอรี" ไม่ใช่ผู้แพร่เชื้อโควิด

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ข้อความดังกล่าวไม่ถูกต้องและไม่เป็นความจริง ซึ่งอาจสร้างวิตกกังวลให้กับประชาชนที่ใช้บริการ "สั่งอาหารออนไลน์" จากนอกบ้านได้ โดยประเด็นนี้ ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีความห่วงใยและกังวลต่อความมั่นใจในการใช้บริการของประชาชนผู้บริโภค ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายลดการพบปะเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค


162019356499

จึงต้องมีการเพิ่มความมั่นใจในการส่งอาหารของ "กลุ่มเดลิเวอรี" รวมทั้งกำชับให้ปฏิบัติให้ได้ตามมาตรการที่วางไว้ โดยให้ผู้ประกอบการอาหารแบบเดลิเวอรีแต่ละแห่งมีการควบคุมกำกับพนักงานและปฏิบัติตามมาตรการอย่างเข้มข้น รัดกุม เพื่อความปลอดภัยในการ "สั่งอาหารออนไลน์"  ป้องกันการแพร่เชื้อเพิ่มขึ้น

 

เพิ่ม 4 ข้อปฎิบัติ "สั่งอาหารออนไลน์" ใน"กลุ่มเดลิเวอรี"

พร้อมเน้นย้ำ "สั่งอาหารออนไลน์" ให้เกิดการปฏิบัติจริงจัง และให้หน่วยงานภาครัฐติดตามผลการดำเนินการเป็นระยะ ส่วนเรื่องวัคซีน อาจจะพิจารณาให้ "พนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี"ได้รับการวัคซีนเป็นกลุ่มลำดับต้น ๆ ดังนั้น จึงมอบให้กรมอนามัยจัดประชุมร่วมกับผู้ประกอบการเดลิเวอรี ได้แก่ Minor food , Grab, Gojek, Food Panda และ Lalamove เพื่อทำความเข้าใจต่อประเด็นที่เกิดขึ้น

ขอความร่วมมือผู้ประกอบการและ "พนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี"ทุกคน ปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดขณะนี้จำเป็นต้องยกระดับมาตรการความปลอดภัย ให้มากขึ้น


162019346457

โดยเพิ่มการปฏิบัติ 4 ข้อหลักคือ

1) เพิ่มความเข้มข้นในการดำเนินการตามมาตรการป้องกัน โควิด-19

2) มีการคัดกรองพนักงานรับส่งอาหารอย่างจริงจังทุกวัน

3) มีระบบการติดตามอาการป่วยและพฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานโดยอาจเลือกใช้การประเมินผ่านเว็บไซต์ Thai save Thai และ

4) มีการจัดทำ Time line ของพนักงานในการจัดส่งอาหารแต่ละวัน

 

หลักปฎิบัติ"กลุ่มเดลิเวอรี" ต้องดำเนินการตามมาตฐานสธ.

นพ.สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า แม้ว่าในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา จะยังไม่มีหลักฐานแสดงว่ามีการแพร่เชื้อ "โควิด-19" ผ่านอาหาร แต่ผู้ประกอบการร้านอาหารที่ให้บริการแบบ เดลิเวอรี "สั่งอาหารออนไลน์" และประชาชนผู้ใช้บริการจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

ตั้งแต่ 1) ติดตามสถานการณ์และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันโรค และให้ความรู้หรือประชาสัมพันธ์แก่ผู้ขนส่งอาหาร เมื่อไปส่งอาหารให้ลูกค้าขอให้ใช้วิธีการส่งอาหารแบบ Personal distancing ยืนห่างจากลูกค้าอย่างน้อย 1 เมตร และห้ามวางอาหารบนพื้น 

2) ร้านอาหารให้บริการอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี ร้านอาหารต้องสะอาด ถูกสุขลักษณะ อาหารปรุงสำเร็จต้องปรุงสุกใหม่ ส่วนอาหารประเภทเนื้อสัตว์ปรุงสุกด้วยความร้อนไม่น้อยกว่า 70 องศาเซลเซียส นานกว่า 5 นาที หลีกเลี่ยงการจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก


162019346422

3) ผู้ส่งอาหารเดลิเวอรี ต้องลงทะเบียนกับผู้ประกอบการที่จัดบริการอาหารแบบเดลิเวอรี บริการ"สั่งอาหารออนไลน์"สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยระหว่างปฏิบัติงาน ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ก่อนเข้าร้านอาหาร ก่อนและหลังการส่งอาหารให้ผู้สั่งซื้ออาหารด้วย รวมทั้งหลังเข้าห้องส้วม หลังจับสิ่งสกปรก หรือจับเงิน และ คอยสังเกตอาการตนเอง หากพบมีความเสี่ยงให้หยุดปฏิบัติงานและไปพบแพทย์ทันที 

4) ผู้สั่งซื้ออาหาร หรือผู้บริโภค ให้จัดเตรียมภาชนะรองรับอาหาร เช่น กล่องหรือโต๊ะแบบพับได้ สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย เมื่อออกมารับอาหาร และให้ยืนห่างจากผู้ขนส่งอาหารอย่างน้อย 1 เมตร ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้ เจลแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือหลังการรับอาหารจากคนขนส่งอาหาร และควรจ่ายค่าบริการโดยวิธี E-Payment หรือเตรียมเงินสดให้พอดี เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสเงินทอน



ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/936108


Visitors: 1,213,195