อาการฮีทสโตรก เป็นอย่างไร วิธีสังเกตอาการ อันตรายแค่ไหน สรุปรวมที่นี่

อาการฮีทสโตรก เป็นอย่างไร วิธีสังเกตอาการ อันตรายแค่ไหน สรุปรวมที่นี่

"อาการฮีทสโตรก" เป็นอย่างไร วิธีสังเกตอาการเบื้องต้น อันตรายแค่ไหน หากปล่อยทิ้งไว้ให้มีอาการอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ สรุปรวมให้ครบที่นี่

"อาการฮีทสโตรก" เป็นอย่างไร เนื่องจากประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการแล้ว สภาพอากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง มีโอกาสป่วยโรค "ฮีทสโตรก" (Heat stroke) ได้ ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด

 ฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด อาการจะเริ่มจากอุณหภูมิร่างกายค่อยๆ สูงขึ้น เมื่อเกิน 40 องศาเซลเซียส ร่างกายจะไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้รู้สึกผิดปกติ หน้ามืด ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย ซึม สับสน ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบ ตัวแดง หากปล่อยทิ้งไว้ให้มีอาการอาจส่งผลกระทบ ที่รุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้ ทั้งนี้เมื่อพบผู้ที่มีอาการจากฮีทสโตรก (โรคลมแดด) ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว

วิธีสังเกตอาการเบื้องต้นของ "ฮีทสโตรก"

• ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงถึง 40 องศา

• ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกกระหายน้ำมาก

• หายใจถี่ ชีพจรเต้นแรง

• ปวดศีรษะ หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ

• อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน

 

"อาการฮีทสโตรก" เป็นอย่างไร วิธีสังเกตอาการ อันตรายแค่ไหน สรุปรวมที่นี่

โรคลมแดดเป็นภาวะวิกฤตของร่างกาย ที่ไม่สามารถควบคุมความร้อนได้ เนื่องจากอากาศร้อนที่ เพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง 5-10 องศาเซลเซียสในระยะเวลาสั้นๆ ภาวะนี้จะทําให้สมองรู้สึกชินชากับ ความร้อนที่ได้รับ จนไม่รู้สึกกระหายนํ้า ทั้งๆที่สมดุลนํ้าและเกลือแร่ในร่างกายเสียหาย

 ส่งผลให้ระดับความดันเลือดตก เลือดที่มีนํ้าเป็นส่วนประกอบไปเลี้ยงสมอง กล้ามเนื้อ และอวัยวะ ต่างๆไม่เพียงพอ ทําให้เกิดอาการไตวาย หากเป็นมากๆ เซลล์กล้ามเนื้อก็จะเริ่มแหลกสลาย มีของ เสียตกตะกอนในไต ทําให้เกิด ไตวายซํ้าซ้อน และเสียชีวิตในที่สุด

 ทั้งนี้เริ่มมีคนไทยเสียชีวิตจากฮีทสโตรกแล้วในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในกลุ่มทหารที่ต้องฝึกกลางแดด ยังมีกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังอีก ได้แก่ ทารก เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ คนที่มีความพิการ ทางสมอง จิตประสาทแปรปรวน เป็นโรคหัวใจ ความดัน คนเหล่านี้ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือปรับตัวเองได้ไม่ดี

 อีกข้อที่สําคัญ ความร้อนของอากาศ ยังขึ้นอยู่กับความชื้นในอากาศ ซึ่งป้องกันไม่ให้เหงื่อระเหยระบายความร้อนออก ไม่ได้ทําให้ความร้อนจริงที่ร่างกายต้องเผชิญสูงมากขึ้น ยิ่งอยู่กลางแดดและมีลมร้อนจัด สภาวะแวดล้อมแบบนี้จะอันตรายยิ่งขึ้น ที่ต้องระวังในช่วงสงกรานต์ เช่นออกกําลังกายกลางแจ้ง ตีแบดฯ ตีเทนนิส ก็มีโอกาสเป็นลมแดดได้ และแม้อยู่ในที่อับ ร้อนจัด ชื้น อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ไม่ได้อยู่กลางแจ้ง ก็เป็นได้เช่นกันถึงแม้จะเสี่ยงน้อยกว่า

 

อันตรายที่เกี่ยว กับแดดและความร้อน (และชื้น) แบ่งระดับความรุนแรงได้ 4 ระดับ

• ระดับ 1 แดดเผา ผิวบวม แดง ลอก

• ระดับ 2 ตะคริวตามน่อง กล้ามท้อง

• ระดับ 3 เพลียรุนแรง ใกล้จะช็อก ตัวเย็นชืดชื้น ชีพจรเร็วเบา เป็นลม อาเจียน แต่อุณหภูมิร่างกายยังปกติ

• ระดับ 4 ฮีตสโตรกถือเป็นภาวะฉุกเฉินวิกฤต อุณหภูมิร่างกายอาจสูงถึง 41องศาเซลเซียส ผิวแห้ง ร้อน ชีพจรเร็ว แรง อาจหมดสติ ถึงขั้นเสียชีวิต

 ด้านนายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา แนะนำว่ากลุ่มเสี่ยงของฮีทสโตรก (โรคลมแดด) อย่าง ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ หรือบุคคลทั่วไป สามารถป้องกันตัวเองจากฮีทสโตรกได้ดังนี้

• หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในสภาพอากาศร้อนจัดหรือกลางแจ้งเป็นเวลานานๆ หากสามารถเลี่ยงได้ ควรเลือกเวลาที่ต้องการทำกิจกรรมในช่วงเช้ามืด หรือระหว่างพระอาทิตย์ตกดิน

• สำหรับผู้ที่ชอบออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิร้อนจัด ควรดื่มน้ำให้มากเพียงพอ

• หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ เช่น เครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน กาแฟ เหล้า เบียร์ หากไม่สามารถชดเชยน้ำได้มากพอจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นฮีทสโตรก (โรคลมแดด) ได้

• หากจำเป็นต้องออกไปกลางแจ้งควรมีอุปกรณ์ป้องกันแสงแดด เช่น เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี หมวก ร่ม อุปกรณ์ ที่ควรพกติดตัวเมื่อต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด

• ไม่ควรอยู่ในรถที่ติดเครื่องยนต์กลางแจ้ง จะเพิ่มความเสี่ยงของการได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทจึงควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเจอผู้ป่วยฮีทสโตรก

1. นำเข้าในที่ร่ม นอนราบยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถ้ามีการอาเจียนให้นอนตะแคงก่อนเมื่ออาเจียนแล้วให้นอนหงาย คลายเสื้อผ้าออก

2. ลดอุณหภูมิร่างกายลงโดยการใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกลำตัว คอ รักแร้ เชิงกราน ศีรษะ หลังและขาหนีบ

3. ให้ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่เพื่อทดแทน แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

 

ที่มา : https://www.springnews.co.th/news/hot-issue/837433

 

Visitors: 1,222,199