คนเจนวายหมดไฟสูงกว่าคนรุ่นอื่น พร้อมกับการเป็น เดอะ แบก ที่แท้ทรู

คนเจนวายหมดไฟสูงกว่าคนรุ่นอื่น พร้อมกับการเป็น "เดอะ แบก" ที่แท้ทรู

คนเจนวายหมดไฟสูงกว่าคนรุ่นอื่น พร้อมกับการเป็น "เดอะ แบก" ที่แท้ทรู

ภาวะหมดไฟ หรือ Burnout ที่หลายคนมักจะมองว่าเกิดขึ้นกับคนรุ่นใหม่มากกว่าคนวัยอื่นๆ แต่ในความเป็นจริง คนที่ต้องอยู่ตรงกลางระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่อย่างคนเจนวายต่างหาก ที่เจอภาวะหมดไฟมากกว่าใคร

ชาวมิลเลนเนียลหรือคนเจนวายในปัจจุบันได้กลายเป็นผู้มีส่วนสำคัญในองค์กรและทีมไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิของชาวเจนวาย ที่มีประสบการณ์ทำงานแบบระดับซีเนียร์หรืออัดแน่นด้วยคุณสมบัติและความสามารถในการเป็นหัวหน้าทีมได้แล้ว

ทำให้หัวหน้าส่วนใหญ่มองว่าคนกลุ่มนี้เหมาะที่จะดูแลน้องๆ ลูกทีมกลุ่มเจนซีหรือกลุ่มลูกน้องที่เพิ่งเริ่มงานไม่นาน และมีความท้าทายในเรื่องของการทำงาน 

ด้วยกลุ่มคนเจนซีที่อาจจะมีความงอแง ต่อต้าน หรือไม่ได้ตั้งใจในการทำงานตามเป้าหมาย ทำให้คนตรงกลางที่ต้องบริหารจัดการระหว่างน้องๆ ในทีมกับฝ่ายบริหารที่อาจจะเป็นกลุ่มเจนเอ็กซ์ รวมทั้งต้องมีรูปแบบการสื่อสารที่ชัดเจนและถูกใจทั้งสองฝ่าย

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนเจนซีไม่ดีเสมอไป เพราะคนเจนวายบางคนก็อาจจะเป็นคนที่มีพฤติกรรมต่อต้าน ขบถ และไม่ชอบทำตามกรอบ เพราะมั่นใจว่าตนเองมีประสบการณ์ รวมถึงรับผิดชอบหน้าที่ต่างๆ มานานแล้วเช่นกัน

ผลสำรวจของ Metlife ในกลุ่มผู้บริหารที่มีช่วงอายุ 26-40 ปี มีปัญหาเรื่องภาวะหมดไฟ หรือ Burnout มากถึง 42% คิดเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ที่มีสัดส่วน 21%

มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับคำแนะนำสำหรับคนที่กำลังอยู่ในภาวะหมดไฟ หรือ burnout เป็นสิ่งสำคัญที่บริษัทต้องใส่ใจเรื่องของสุขภาพจิตหรือ mental wellbeing ของพนักงานให้มากขึ้นด้วย

โดยพิจารณาจากความกังวลที่คนวัยทำงานมักเจอ คือ

  • สวัสดิการของครอบครัว 41%
  • อนาคตทางการเงินระยะยาว 41%
  • โอกาสในการทำงาน/ความไม่แน่นอนของงาน 40%
  • การเงินประจำวัน 34%
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 23%
  • บรรยากาศทางสังคม/การเมือง 25%
  • ความปลอดภัยส่วนบุคคล 24%

หลายคนอาจจะคิดไปว่าภาวะหมดไฟ ก็แค่เบื่อหน่ายในการทำงานเพียงชั่วคราว แต่ทราบหรือไม่ว่าปัญหาหมดไฟสามารถลุกลาม ไปจนถึงอาการป่วยได้ด้วย

ทั้งนี้ อาการป่วยที่เกิดจากภาวะหมดไฟ จะมีอาการที่เริ่มต้นจากความเบื่อหน่ายไปจนถึงขาดพลังในการทำงานและอ่อนเพลีย รวมทั้งความรู้สึกล้มเหลวและความสงสัยในตนเอง ความรู้สึกโดดเดี่ยวสูญเสียแรงจูงใจ ความพึงพอใจและความรู้สึกของความสำเร็จลดลง

นอกจากอาการทางร่างกายของความเหนื่อยหน่าย ยังรวมถึงอาการทางสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น

  • นอนไม่หลับ
  • ลิ่มเลือด
  • การเปลี่ยนแปลงทางเมตาบอลิซึม
  • ระบบภูมิคุ้มกันลดลง
  • โรคหัวใจ
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคเบาหวาน
  • มะเร็ง

หากมีอาการเหล่านี้ก็ต้องเริ่มระมัดระวังและดูแลตัวเองให้มากกว่าเดิม เพราะจากผลสำรวจมีการให้ข้อมูลว่า 73% ของคนรุ่นมิลเลนเนียลทำงาน มากกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งบางรายอาจต้องรับภาระการทำงานหนักถึง 50 ชั่วโมง

แม้ว่าการทำงานที่บ้านหรือ Work From Home จะเข้ามาช่วยในเรื่องของการเดินหน้านโยบายสำหรับคนรุ่นใหม่ ตามพฤติกรรมที่ต้องการหาสถานที่ทำงานแบบยืดหยุ่นได้มากขึ้น

  • 69% ของชาวเจนวาย มองว่าการทำงานจากที่บ้านช่วยลดความเครียดได้
  • 54% มองว่าการทำงานที่บ้านช่วยประหยัดค่าครองชีพ
  • 66% รู้สึกว่าการทำงานระยะไกลช่วยให้การทำงานและชีวิตมีความสมดุลมากขึ้น
  • 50% พบว่าการทำงานจากระยะไกล ทำให้ได้เป็นตัวของตัวเอง
  • 70% รู้สึกว่าการทำงานจากที่บ้านและเลี่ยงการเดินทางจะช่วยลดความเครียดได้

ดังนั้น การลาออกจึงเป็นอีกหนึ่งการแก้ปัญหาที่ตรงจุด 
อ้างอิงจากผลการศึกษาของ McKinsey & Co ระบุถึงสาเหตุของการ burnout มาจาก

  • พฤติกรรมที่เป็นพิษของผู้ร่วมงาน (Toxic behavior) สูงถึง 70%
  • มีการเลือกที่รักมักที่ชัง  11%
  • ผลักภาระเรื่องการทำงาน ต้องทำงานเกินเวลา 8%

ดังนั้น หากคุณมีภาวะหมดไฟ หรือรู้สึกว่าตัวเองกำลังอยู่ในภาวะหมดไฟ ต้องรีบมองหาสิ่งใหม่ๆ และผลักตัวเองให้หลุดพ้นจากปัญหาเหล่านี้

 

ที่มา : https://www.springnews.co.th/digital-tech/startup/836380

 

Visitors: 1,429,830