รับสมัครผู้ทดสอบนอนโรงแรม อาชีพที่ไม่มีจริง มุกใหม่มิจฉาชีพลวงเทรดหุ้น

รับสมัครผู้ทดสอบนอนโรงแรม อาชีพที่ไม่มีจริง มุกใหม่มิจฉาชีพลวงเทรดหุ้น 

รับสมัครผู้ทดสอบนอนโรงแรม อาชีพที่ไม่มีจริง มุกใหม่มิจฉาชีพลวงเทรดหุ้น

ตำรวจไซเบอร์เตือนภัยโฆษณาชวนทำงานทดสอบนอนโรงแรม แลกเงินเดือนและสวัสดิการสูง ชี้เป็นมุกใหม่ มิจฉาชีพหลอกให้ประชาชนทำภารกิจออนไลน์หรือหลอกให้โอนเงิน ย้ำอย่าหลงเชื่อยอมโอนก่อน

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. เตือนภัยมิจฉาชีพหลอกลวงประชาชนให้ทำภารกิจออนไลน์ หรือหลอกให้โอนเงินเพื่อหารายได้จากการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นักทดสอบเตียงและฟูก อาสาสมัครการนอนหลับเพื่อการวิจัยทางคลีนิค, Sleep executive, Environment sleep tester หรือ Sleep tester เป็นต้น

ลักษณะการชักชวนรับสมัครผู้ทดสอบการนอนโรงแรม ผ่านการโฆษณาเป็นคลิปวิดีโอสั้นใน Facebook, TikTok และ Instagram อ้างเป็นงานสบาย ได้ผลตอบแทนสูงกว่า 30,000 บาทต่อเดือน หรืออ้างว่าจะได้ค่าจ้างจากการนอนหลับจริงกว่า 2,000 บาทต่อคืน รวมถึงจะได้รับสวัสดิการ ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายต่างๆ ฟรี

เมื่อผู้เสียหายสนใจมิจฉาชีพจะให้ทดสอบแสดงความเห็น หรือรีวิวโรงแรมต่าง ๆ ก่อนที่จะได้รับงานทดสอบการนอนที่โรงแรมจริง เพื่อประเมินว่าผู้เสียหายมีความสามารถเพียงพอหรือไม่ หากผู้เสียหายแสดงความเห็นเสร็จแล้วจะได้รับเงินจริง 50 บาทต่องาน

จากนั้นจะให้เข้ากลุ่มในแอปพลิเคชัน Telegram แจ้งว่ามีงานภารกิจเสริมให้ทำ หลอกลวงให้ลงทุนเทรดหุ้น อ้างว่าจะได้รับกำไรมากกว่านี้ กระทั่งผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินไปร่วมลงทุน

 

รับสมัครผู้ทดสอบนอนโรงแรม อาชีพที่ไม่มีจริง มุกใหม่มิจฉาชีพลวงเทรดหุ้น

 

โดยในครั้งแรกที่ลงทุนด้วยจำนวนที่ไม่มากจะได้รับกำไรจากการลงทุนกลับคืนมาจริง จากนั้นมิจฉาชีพก็จะหลอกให้โอนเงินมาลงทุนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย จนไม่สามารถถอนเงินออกมาได้อ้างเหตุผลต่างๆ ผู้เสียหายเชื่อว่าถูกหลอกลวงและได้รับความเสียหาย จึงมาแจ้งความผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์ให้ดำเนินคดีกับมิจฉาชีพตามกฎหมายต่อไป

 

รับสมัครผู้ทดสอบนอนโรงแรม อาชีพที่ไม่มีจริง มุกใหม่มิจฉาชีพลวงเทรดหุ้น

นอกจากการหลอกลวงในลักษณะดังกล่าวแล้ว ยังพบว่ามีหลอกลวงในลักษณะอื่นๆ ที่คล้ายกันอีก เช่น การหลอกลวงให้กดไลก์ (Like) กดแชร์ (Share) ดูคลิปวิดีโอจากยูทูบ (YouTube) กดรับออร์เดอร์สินค้า รีวิวสินค้า พับถุงกระดาษ ร้อยลูกปัด หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ตามแต่ที่มิจฉาชีพออกอุบาย

โดยการประกาศเชิญชวนโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Instagram, Tiktok เป็นต้น หรือการส่งความสั้น (SMS) ไปยังเหยื่อโดยตรง ให้กดลิงก์เพิ่มเพื่อน แล้วเข้ากลุ่มทำงานที่มิจฉาชีพสร้างขึ้นมา โดยในช่วงแรกจะได้เงินคืนมาเล็กน้อย

แต่หลังจากนั้นมิจฉาชีพก็จะให้ทำภารกิจพิเศษ หลอกให้เหยื่อโอนเงินเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามระดับภารกิจ ทั้งนี้เหยื่อมักเสียดายเงินที่เคยโอนไปก่อนหน้านี้ อยากได้เงินทั้งหมดคืน ก็หลงเชื่อโอนเงินไปเพิ่มอีกหลายครั้ง มิจฉาชีพก็จะมีข้ออ้างต่างๆ เช่น อ้างว่าทำผิดขั้นตอน หรือยอดเงินในระบบไม่เพียงพอ เป็นค่าเอกสาร ค่าปิดบัญชี ค่าภาษี เป็นต้น

นอกจากนี้ยังสร้างความน่าเชื่อถือโดยให้หน้าม้าในกลุ่มไลน์แสดงหลักฐานปลอมว่าตนได้รับเงินจริง กระทั่งเมื่อเหยื่อรู้ตัวว่าถูกหลอกลวงก็จะปิดการติดต่อหลบหนีไป เพราะฉะนั้นการทำกิจกรรม หรือธุรกรรมใดๆ บนโลกออนไลน์ต้องรู้เท่าทันกลโกงของมิจฉาชีพและมีสติอยู่เสมอ

 

รับสมัครผู้ทดสอบนอนโรงแรม อาชีพที่ไม่มีจริง มุกใหม่มิจฉาชีพลวงเทรดหุ้น

ฝากเตือนถึงแนวทางการป้องกันการถูกหลอกลวงหารายได้จากการทำกิจกรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ดังนี้

  1. เมื่อพบคำเชิญชวนให้ทำงานออนไลน์ ผ่านทางข้อความสั้น (SMS) หรือประกาศ โฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Instagram, Tiktok อย่าเข้าไปติดต่อสมัครทำงานเป็นอันขาด มักจะมีการแอบอ้างสัญลักษณ์ของหน่วยงาน หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องมาเพิ่มความน่าเชื่อถือ
  2. หลีกเลี่ยงข้อเสนอที่ฟังดูดี หรือมีผลตอบแทนสูง ทำง่าย มีขั้นตอนไม่ซับซ้อน
  3. หากต้องการจะทำงานจริงๆ ให้ปรึกษาสายด่วนของตำรวจไซเบอร์ ที่หมายเลข 1441 หรือ 08-1866-3000 เพื่อปรึกษา สอบถามว่างานดังกล่าวเข้าข่ายหลอกลวงเป็นมิจฉาชีพหรือไม่
  4. หากพบว่ามีการให้โอนเงินมัดจำ หรือเงินลงทุน หรือสำรองเงินใดๆ ก่อน สันนิษฐานได้ทันทีว่ากำลังโดนมิจฉาชีพหลอกลวง อย่าโอนเงินไปเด็ดขาด
  5. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงินใดๆ มิจฉาชีพมักให้เหยื่อส่งหลักฐาน ข้อมูลส่วนบุคคล อ้างว่าใช้ในการสมัครงาน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
  6. ระมัดระวังการโอนผ่านบัญชีของบุคคลธรรมดา โดยควรตรวจสอบหมายเลขบัญชีธนาคาร หรือชื่อนามสกุลเจ้าของบัญชี ก่อนโอนเงินทุกครั้งว่ามีประวัติไม่ดีหรือไม่ ผ่าน https://www.blacklistseller.com หรือ https://www.chaladohn.com เป็นต้น
  7. ช่วยกันตรวจสอบ สอดส่องบุตรหลาน บุคคลใกล้ชิดว่ามีพฤติกรรมทางการเงินผิดปกติหรือไม่ เพื่อจะได้สามารถให้คำปรึกษา ยับยั้งความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที

 

ที่มา : https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/837729

 

Visitors: 1,405,382