ERP คืออะไรใน 2 นาที

ERP คืออะไร ?

 

        ระบบ ERP โปรแกรม คือ “ระบบการวางแผนทรัพยากรในองค์กร” ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning เป็นระบบที่เข้ามาช่วยจัดการภาพรวมขององค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันมากที่สุด 

ERP คืออะไร สรุปครบ จบ เข้าใจง่าย

หน้าที่หลักของ Enterprise Resource Planning

        หน้าที่หลักของ ERP คือการรวมศูนย์จัดเก็บข้อมูลไว้ใน Database หลัก เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในองค์กรต้องการใช้ข้อมูล ก็สามารถดึงข้อมูลจาก Database มาใช้งานได้ทันที ช่วยให้สามารถดูแลจัดการข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มทั้งในส่วนของความสะดวก และช่วยให้ในส่วนของงานบริหารให้เป็นไปได้อย่างราบรื่น

ประเภทของโปรแกรม ERP

ประเภทของโปรแกรม ERP

       หลังจากได้รู้เรื่องราวต่าง ๆ ของ ERP ไปมากพอสมควร เรามารู้จักกับรูปแบบการทำงานของระบบนี้กันบ้าง ว่าสามารถแบ่งประเภทการทำงานออกไปได้กี่รูปแบบ แต่ละรูปแบบจะทำงานแตกต่างการอย่างไรบ้าง ในเนื้อหาดังต่อไปนี้

  • ERP ระบบ Cloud

    เริ่มต้นที่ระบบแรกของ ERP เป็นระบบที่นิยมใช้งานกันมากในช่วงเวลานี้ เนื่องจากสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่บนโลกใบนี้ ขอเพียงมีอินเทอร์เน็ตเพียงเท่านั้น โดยข้อมูลต่าง ๆ จะถูกเก็บไว้เป็นอย่างดีภายใน Cloud ซึ่งเป็นไดร์ฟที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ เอาไว้บนอินเทอร์เน็ต สะดวกเป็นอย่างมากในขั้นตอนของการดึงข้อมูลต่าง ๆ นำไปใช้งาน

  • ERP ระบบ On-Premise

    สำหรับการทำของงาน ERP รูปแบบนี้คือ การติดตั้งระบบเอาไว้ภายในเซิร์ฟเวอร์ขององค์กร มักใช้กับองค์กรใหญ่ ๆ ที่ต้องการเก็บข้อมูลเอาไว้เป็นความลับให้มากที่สุด แม้จะไม่สะดวกเหมือนอย่าง ERP ในระบบ Cloud แต่ในเรื่องของความปลอดภัย ต้องยอมรับเลยว่ามั่นใจได้เกือบ 100% ว่าไม่มีทางรั่วไหลออกไปอย่างแน่นอน
 

เมื่อใดที่ธุรกิจคุณต้องใช้งาน ERP system ?

        นี่คือสัญญาณเตือนแล้วว่าตอนนี้องค์กรของคุณกำลังต้องการระบบ ERP เข้ามาช่วยดูแลจัดการระบบงานให้ดีขึ้น จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

  • ระบบเดิมไม่สามารถรองรับการเติบโตขององค์กรได้แล้ว

    การที่ยังใช้งานระบบเก่า ๆ อยู่ ในที่สุดแล้วเมื่อกาลเวลาผ่านไป องค์กรเติบโตขึ้น สุดท้ายแล้วระบบเหล่านั้นก็จะมาถึงขีดสุด ไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้ตามการเติบโตขององค์กรแล้ว ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ERP คือตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะระบบสามารถยืดหยุ่นได้ ปรับตัวตามการเติบโตขององค์กรได้อย่างทันท่วงที ด้วยมาตรฐานของระบบ ERP ที่สามารถพัฒนาไปได้ไกลถึงในระดับโลก
  • เกิดความยากลำบากระหว่างความแตกต่างของการใช้งานระบบ

    “ความเข้ากันไม่ได้ของระบบ” เป็นปัญหาที่มักเจอได้ในทุก ๆ การเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี หากองค์กรของคุณยังเลือกใช้ระบบเดิม ๆ อยู่ ทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานยังคงล้าหลัง ไม่สามารถใช้งานร่วมกับระบบใหม่ ๆ ที่สะดวกมากยิ่งขึ้นได้ เมื่อถึงเวลานั้นควรมองหาระบบ Modern ERP ให้องค์กรจะดีที่สุด เพราะช่วยให้งานในทุกส่วนภายในองค์กร สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างไร้รอยต่อ มอบทั้งความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน รวมไปถึงเพิ่มศักยภาพการทำงานให้มากขึ้นไปพร้อม ๆ กัน
  • องค์กรไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้

    ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจของโลกมีการแข่งขันสูงเช่นนี้ ระบบเก่าที่อยู่อาจยังไม่พอ ซึ่งแน่นอนว่า ERP ก็เป็นหนึ่งในเครื่งมือที่คุณควรมี เพราะจะทำให้ลูกค้าได้เล็งเห็นถึงศักยภาพการทำงานขององค์กรที่ทันสมัย รวมไปถึงความรวดเร็วในทุก ๆ ระบบการจัดการ ช่วยให้สามารถตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันท่วงที จะบอกว่า ERP คือหัวใจของความสำเร็จขององค์กรในตอนนี้ก็ไม่ใช่พูดที่เกินจริงแต่อย่างใด

ERP ช่วยพัฒนาองค์กรได้อย่างไร ?

ERP ช่วยพัฒนาองค์กรได้อย่างไร
  • ทำงานได้เรียลไทม์

    ระบบ ERP ในรูปแบบคลาวด์ทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูล การดำเนินงานต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ทุกที่ ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์ เพิ่มความสะดวกในการทำงาน ลดระยะเวลาในการติดต่อประสานงานส่งต่อข้อมูลได้มากกว่า

  • ปลอดภัยสูง

    ทุก ๆ การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลบน Database จะถูกบันทึกไว้ในระบบ สามารถตรวจสอบย้อนหลัง และเรียกซ้ำข้อมูลได้

  • ลดการทำงานซ้ำซ้อน

    ระบบ ERP จะช่วยคุณจัดการงานซ้ำซ้อน ลดระยะเวลา ขั้นตอนการทำงานเอกสาร ให้คุณมีเวลาไปทำงานส่วนที่สำคัญได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

  • เห็นภาพรวมเดียวกัน

    เนื่องจากระบบ ERP มีการเชื่อมต่อข้อมูล การทำงานไว้ในระบบเดียว ทำให้พนักงานทุกฝ่าย หรือแม้แต่ผู้บริหารเองก็เห็นภาพรวมขององค์กรเป็นภาพเดียวกัน ช่วยให้ง่ายต่อการวางแผน การตัดสินใจในการดำเนินงาน อีกทั้งยังช่วยลดความผิดพลาด เพิ่มโอกาสให้ธุรกิจมากขึ้น

ความเสี่ยงที่ต้องเจอเมื่อไม่มีระบบ ERP ?

  • พลาดโอกาสสำคัญ (Missed opportunities)

    การที่มองภาพรวมขององค์กรได้ไม่ครบทุกมุมมอง อาจทำพลาดโอกาสสำคัญที่จะพัฒนาธุรกิจให้ก้าวหน้าไปมากกว่าเดิมได้

  • กระบวนการไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ (Inefficient processes)

    การใช้กระบวนการรูปแบบเดิม ๆ ที่ช้าและล้าสมัย อาจทำให้ต้องเสียทั้งเงินและเวลา

  • ระบบบริการลูกค้าทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร (Poor customer service)

    นอกจากจะมีตัวเลือกให้เลือกเยอะแล้ว อีกหแน่นอนว่าเมื่อไม่มีฐานข้อมูลกลาง ช่องทางการติดต่อลูกค้าจะเป็นเรื่องที่ลำบากไปในทันที ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถพิชิตใจลูกค้าในระยะยาวได้

  • ความสามารถในการแข่งขันลดลง (Reduced competitiveness)

    การที่ยังใช้ระบบที่ยังล้าหลัง ทำให้ในมุมมองของการแข่งขัน คุณไม่สามารถทัดเทียมกับคู่แข่งที่มีการพัฒนารูปแบบระบบในเวอร์ชั่นล่าสุดได้ทัน

ระบบงานของ ERP (โมดูลของ ERP)

        ระบบการทำงาน ERP ส่วนใหญ่จะมีอย่างน้อย 5 ระบบหลัก ดังต่อไปนี้

5 โมดูลที่มีในทุก ๆ ERP ส่วนใหญ่
  1. ระบบจัดการการผลิต

    ช่วยให้คุณสามารถตรวจเช็คข้อมูลสินค้าต่าง ๆ ภายในคลังสินค้าได้ทั้งหมด รวมไปถึงการจัดการในส่วนของการผลิต วัตถุดิบต่าง ๆ การขนส่ง สินค้าคงคลัง โดยข้อมูลที่จำเป็นทุกอย่างจะถูกจัดเก็บไว้ใน Database ซึ่งสามารถตรวจสอบผ่านระบบ ERP ได้ตลอดเวลา

  2. ระบบจัดการทรัพยากรบุคคล

    ระบบนี้จะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากรทุกคนภายในองค์กร ทั้งผลงานการทำงาน การประเมิน ข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ของบุคลากรในองค์กร ช่วยให้สามารถคาดคะเนว่าควรรับบุคลากรเพิ่มเมื่อไหร่ รับจำนวนเท่าใด ช่วยการทำงานของฝ่ายจัดการทรัพยากรบุคคล (HR) มีประสิทธิภาพมากขึ้น

  3. ระบบจัดการการเงิน

    ระบบการเงินจะเป็นสิ่งที่ประเมินได้เห็นภาพชัดที่สุด ว่าตอนนี้ธุรกิจของคุณกำลังเดินหน้าไปในทิศทางใด ซึ่งในส่วนนี้ ERP ก็จัดการให้คุณได้อย่างเรียบร้อย ทุกรายรับ-รายจ่ายขององค์กร จะถูกบันทึกเอาไว้ทั้งหมด พร้อมทั้งยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ว่าสินค้าใดขายแล้วให้ความคุ้มค่ากับองค์กรคุณมากที่สุด เพื่อนำข้อมูลไปต่อยอดในอนาคต

  4. ระบบจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า

    ระบบ ERP ยังสามารถช่วยคุณวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลเกี่ยวกับโอกาสในการกลับมาซื้อซ้ำของลูกค้าแต่ละราย และคาดคะเนว่าสินค้าแต่ละประเภทเหมาะกับกลุ่มลูกค้าประเภทใด เพื่อสร้างโอกาสการค้าในระยะยาว รวมไปถึงความประทับใจของลูกค้าในเวลาเดียวกัน

  5. ระบบจัดการห่วงโซ่อุปทาน

    ระบบ ERP จัดการห่วงโซ่อุปทานถือเป็นอีกหนึ่งระบบที่สามารถกำหนดเส้นทางขององค์กรของคุณให้ “ก้าวหน้า” หรือ “ถอยหลัง” ได้เลยทีเดียว เพราะระบบ ERP ในส่วนนี้จะคอยรายงานภาพรวมองค์กรของคุณ เช่น ตอนนี้มีการผลิตสินค้ามากน้อยแค่ไหน และในส่วนของผู้ซื้อมี Feed Back อย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าในช่วงเวลานั้น ๆ ควรผลิตสินค้าในจำนวนเท่าใด ถึงจะคุ้มค่ากับองค์กรของคุณมากที่สุด

Visitors: 1,406,239