ยกระดับเตือนภัย ‘เอลนีโญ’ สัญญาณชัด ต.ค. ถึง มี.ค 67 ส่งผลไทยร้อน แล้งกว่าปกติ

ยกระดับเตือนภัย ‘เอลนีโญ’ สัญญาณชัด ต.ค. ถึง มี.ค 67 ส่งผลไทยร้อน แล้งกว่าปกติ

ยกระดับเตือนภัย ‘เอลนีโญ’ สัญญาณชัด ต.ค. ถึง มี.ค 67 ส่งผลไทยร้อน แล้งกว่าปกติ

ตอนนี้ได้มีการยกระดับเตือนภัย ‘เอลนีโญ’ เพิ่มเป็น El Niño Advisory ความน่าจะเป็นที่จะเกิดเอลนีโญทะลุ 90% ส่งผลลากยาวถึงอย่างน้อย มี.ค. 2567 สัญญาณชัด ต.ค. ลากยาวถึงอย่างน้อย มี.ค. 2567 ส่งผลไทยอากาศร้อนและแล้งกว่าปกติ

รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเกษตร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Witsanu Attavanich เกี่ยวกับสถานการณ์เอลนีโญ ซึ่งตอนนี้ได้ยกระดับเป็น El Niño Advisory แล้ว

 

ยกระดับเตือนภัย ‘เอลนีโญ’ สัญญาณชัด ต.ค. ถึง มี.ค 67 ส่งผลไทยร้อน แล้งกว่าปกติ

"มีการยกระดับเตือนภัยเอลนีโญเพิ่มเป็น El Niño Advisory!! ความน่าจะเป็นที่จะเกิดเอลนีโญทะลุ 90% ลากยาวถึงอย่างน้อย มี.ค. 67 ความน่าจะเป็นที่จะเกิดเอลนีโญในระดับรุนแรงเพิ่มขึ้นจากการพยากรณ์เดือนที่ผ่านมา โดย 2 ดัชนี (ONI index และ IOD) ชี้สอดคล้องกันว่าเอลนีโญจะเกิดขึ้นค่อนข้างแน่นอน เตรียมรับมือสภาพอากาศที่มีแนวโน้มร้อนและแล้งกว่าปกติซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค โดยสัญญาณจะเริ่มชัดเจนตั้งแต่ ต.ค. 66 เป็นต้นไป"

 

 

ยกระดับเตือนภัย ‘เอลนีโญ’ สัญญาณชัด ต.ค. ถึง มี.ค 67 ส่งผลไทยร้อน แล้งกว่าปกติ

 

ทางด้าน International Research Institute for Climate Society (IRI) มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และ Climate Prediction Center องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) สหรัฐอเมริกา ได้พยากรณ์ว่าความน่าจะเป็นที่จะเกิดเอลนีโญเพิ่มขึ้นอีกเมื่อเทียบกับผลพยากรณ์ช่วง พ.ค. 66 ทะลุ 90% ลากยาวถึงอย่างน้อย มี.ค. 67

และงานวิจัยจาก CPC (NOAA) คาดว่ากำลังของเอลนีโญระดับปานกลางขึ้นไป (>1.0 °C) มีความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น 72-84% ตั้งแต่ช่วง ส.ค.66-มี.ค.67 (ภาพที่ 2 ขวาแท่งสีม่วง) และกำลังของเอลนีโญระดับรุนแรง (>1.5 °C) มีความน่าจะเป็นสูงสุดเท่ากับ 56% ช่วง พ.ย.66 - ม.ค.67 (ภาพขวาที่ 2 แท่งสีแดงเข้ม)

 

ยกระดับเตือนภัย ‘เอลนีโญ’ สัญญาณชัด ต.ค. ถึง มี.ค 67 ส่งผลไทยร้อน แล้งกว่าปกติ

ภาพที่ 3 บ่งชี้ว่า 2 ดัชนี (ONI index และ IOD) จากแบบจำลองทั่วโลก พยากรณ์ตรงกันว่าเอลนีโญจะเกิดขึ้นค่อนข้างแน่นอนและจะเร่งตัวเพิ่มขึ้นจากนี้ไปสู่ระดับรุนแรงในเดือน ส.ค. 66 (1.7°C) และเพิ่มเป็น 2.0°C ใน ต.ค. 66 ภาพที่ 4 บ่งชี้ว่า จากการรวบรวมสถิติในอดีต สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งสหราชอาณาจักร (Met Office)

พบว่า ปรากฎการณ์เอลนีโญมีแนวโน้มทำให้ประเทศไทยแล้งกว่าปกติช่วง มี.ค.-ก.ค.และร้อนกว่าปกติช่วง ต.ค.-มิ.ย. ขณะที่ องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NOAA) พบว่า ปรากฎการณ์เอลนีโญมีแนวโน้มทำให้ภาคใต้ของไทยอากาศร้อนและแล้งกว่าปกติช่วง ธ.ค.-ก.พ. ขณะที่ภูมิภาคอื่นจะร้อนกว่าปกติช่วง ธ.ค.-ก.พ.

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ / FB Witsanu Attavanich

Visitors: 1,405,371