ผลิตไฟฟ้าจากเหงื่อ เทคโนโลยีปฏิวัติวงการไม่ต้องง้อการชาร์จไฟ

ผลิตไฟฟ้าจากเหงื่อ เทคโนโลยีปฏิวัติวงการไม่ต้องง้อการชาร์จไฟ

ถ้าการซื้อถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่ เป็นภาระที่ทำให้คุณต้องหงุดหงิด เพราะต้องจำขนาดของแบตเตอรี่ที่มีอยู่หลายขนาด เทคโนโลยีสุดล้ำตัวนี้จะช่วยแปลง "หยดเหงื่อ" ไปจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส

"ผลิตไฟฟ้าจากเหงื่อ" เทคโนโลยีปฏิวัติวงการ

ทีมนักวิจัยจาก California San Diego ได้พัฒนาแถบคล้ายพลาสเตอร์สำหรับสวมบนนิ้ว สามารถเปลี่ยนเหงื่อที่ถูกขับออกมา เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นเทคโนโลยีด้านพลังงานที่เชื่อถือได้มากกว่าแหล่งพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์หรือลม ซึ่งในปัจจุบันขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ

ทีมงานนำโดย Joseph Wang ซึ่งเป็นคนแรกที่ค้นพบอุปกรณ์พลังงานที่สวมใส่ได้เมื่อ 9 ปีก่อน ด้วยแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ซึ่งขับเคลื่อนโดยรอยสักชั่วคราว นอกจากนี้ Wang ได้ช่วยพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงชีวภาพที่ยืดหดได้ ซึ่งสามารถทนต่อการยืด และบิดตัวขณะสวมใส่บนผิวหนัง

"ผลิตไฟฟ้าจากเหงื่อ" เทคโนโลยีปฏิวัติวงการสุดล้ำ

 

ผลิตไฟฟ้าจากเหงื่อ ได้แม้ตอนนอนหลับ ไม่ต้องง้อการชาร์จไฟ

ทีมงานที่ UC San Diego ยังได้วิจัยการผลิตพลังงานจากเหงื่อผ่านสิ่งทออีกด้วย โดยผลิตเสื้อยืดที่มีเซลล์เชื้อเพลิงชีวภาพอยู่ที่หน้าอก ซึ่งเปลี่ยนเหงื่อให้เป็นพลังงานไฟฟ้าในขณะที่ผู้สวมใส่เดินหรือวิ่ง แม้ว่าผู้สวมใส่จะหลับไป ก็สามารถผลิตไฟฟ้าได้จำนวนหนึ่ง

แต่การวิจัยที่ถือเป็นความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญ คือ แถบจับเหงื่อที่ปลายนิ้ว เนื่องจากมันใช้ประโยชน์จากส่วนที่เหงื่อออกมากที่สุดของร่างกาย คือปลายนิ้ว ซึ่งมีความเข้มข้นของต่อมเหงื่อมากที่สุด จึงทำให้สามารถผลิตพลังงานได้มากขึ้น

ในขณะที่อุปกรณ์สวมใส่ก่อนหน้านี้ต้องออกกำลังกายอย่างหนัก แต่การนอนเพียง 10 ชั่วโมงโดยสวมแถบนิ้วก็เพียงพอที่จะผลิตพลังงานได้ 400 มิลลิจูล ซึ่งเพียงพอที่จะเติมพลังงานให้กับนาฬิกาที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เป็นเวลา 24 ชั่วโมง

"ผลิตไฟฟ้าจากเหงื่อ" ไม่ต้องง้อการชาร์จไฟ

งานวิจัยนี้ อาจเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์สวมใส่หลายชนิดได้ในอนาคต ซึ่งปัจจุบันถูกขัดขวางด้วยขนาดแบตเตอรี่ เนื่องจากความสามารถในการใช้พลังงานนั้นเชื่อมโยงกับปริมาณแบตเตอรี่ ซึ่งหมายความว่ายิ่งเทคโนโลยีมีความซับซ้อนมากเท่าไร อุปกรณ์ก็จะยิ่งมีขนาดใหญ่เทอะทะมากขึ้นเท่านั้น

การเปลี่ยนไปใช้ "การชาร์จด้วยเหงื่อ" หรือ "การผลิตไฟฟ้าจากเหงื่อ" อาจทำให้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ เครื่องช่วยฟัง และคอนแทคเลนส์แบบ AR ยุ่งยากน้อยลงในการสวมใส่ เนื่องจากมีฟีเจอร์ที่ใช้พลังงานเพิ่มเติมมากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลเรื่องขนาดแบตเตอรี่ และไม่ต้องพึ่งแร่ธาตุอย่างลิเทียม ซึ่งการทำเหมืองลิเทียมมีความเชื่อมโยงกับการขาดแคลนน้ำและมลพิษ ส่งผลให้ชุมชนได้รับผลกระทบ

หากการวิจัยนี้ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ เราก็จะมีระบบที่ไม่จำเป็นต้องคิดถึงการชาร์จอีกต่อไป พลังงานไฟฟ้าส่วนหนึ่งจะสอดคล้องกับร่างกายมนุษย์มากขึ้น ใช้งานได้นานขึ้น และจะทำให้เราต้องพึ่งพาพลังงานจากภายนอกน้อยลง เพราะเหงื่อคือสิ่งที่ร่างกายเราผลิตขึ้นตลอดเวลาทุกวัน

ที่มา

 

ที่มา : https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/847359

 

Visitors: 1,405,421