Deepfake คลิปปลอมจาก AI อันตราย จน Microsoft ต้องออกมาเตือนภัย

Deepfake คลิปปลอมจาก AI อันตราย จน Microsoft ต้องออกมาเตือนภัย

Deepfake คลิปปลอมจาก AI อันตราย จน Microsoft ต้องออกมาเตือนภัย

ประธานบริษัท Microsoft ออกมาเตือนภัยจากปัญญาประดิษฐ์ เมื่อเทคโนโลยี Deepfake คลิปปลอมจาก AI และการจำแลงเสียงจริงของ AI กลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้ง่ายขึ้น

Brad Smith ประธานบริษัท Microsoft ระบุว่า สิ่งที่น่ากังวลที่สุดเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ในขณะนี้คือเทคโนโลยี Deepfake ที่สามารถสร้างข้อมูลเท็จให้เหมือนจริงได้

ในการพูดคุย ที่กรุงวอชิงตัน เพื่อหาแนวทางกำกับดูแลการใช้งาน ChatGPT ปัญญาประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นโดย OpenAI และเริ่มถูกใช้อย่างแพร่หลายไปทั่วโลก Brad Smith ประธานบริษัท Microsoft ได้เรียกร้องให้มีการดำเนินงานเพื่อให้ผู้ใช้รู้ว่าภาพถ่ายหรือวิดีโอเป็นของจริงหรือเป็นสิ่งที่ AI สร้างขึ้น ซึ่งอาจมีจุดประสงค์ร้ายแอบแฝง

"เราต้องจัดการกับปัญหาเทคโนโลยี Deepfake เราต้องแก้ไขในสิ่งที่น่ากังวล ซึ่งก็คืออิทธิพลทางไซเบอร์จากต่างประเทศ  เช่น กิจกรรมที่เกิดขึ้นโดยรัฐบาลรัสเซีย จีน และอิหร่าน เราจำเป็นต้องดำเนินการป้องกันการดัดแปลงคลิป จากคนที่มีวัตถุประสงค์ในการหลอกลวงหรือเอาเปรียบบุคคลอื่นผ่านการใช้งาน AI"

 

ขณะที่ภาพประกอบที่ SPRiNG นำม่เปรียบเทียบ เป็นคลิปจริงที่เกิดขึ้น โดยพระพยอมถูก Deepfake ปัญญาประดิษฐ์ จำลองท่าทาง ภาษากาย ให้กลายเป็นคลิป ซึ่งคลิปดังกล่าวจัดทำโดย กองทุนสื่อสร้างสรรค์ฯ เพื่อให้ความรู้ประชาชน คุณดูคลิปแล้วเชื่อไหม ?

 


ข้อถกเถียงเรื่อง AI เกิดขึ้นเป็นเวลาหลายสัปดาห์แล้ว ที่ฝ่ายนิติบัญญัติของสหรัฐฯ กำลังถกเถียงเรื่อง กฎหมายควบคุม AI ขณะเดียวกันบริษัทต่าง ๆ ก็พยายามนำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ในธุรกิจของตน

นอกจากนี้ Smith ยังเรียกร้องให้ออกใบอนุญาตสำหรับ AI เพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ และความมั่นคงระดับชาติ ซึ่งผู้คนจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นจากปัญญาประดิษฐ์ และฝ่ายนิติบัญญัติต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าระบบโครงสร้างพื้นฐานจะยังมีความปลอดภัยหากมีการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ควบคุม

"เราต้องมีระบบใหม่เพื่อควบคุมการส่งออกเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้แน่ใจว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะไม่ใช้ในทางที่ผิดหรือละเมิดกฎการส่งออกระหว่างประเทศ"

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอที่สภาสหรัฐฯกำลังพิจารณาจะเน้นไปที่ภัยจากปัญญาประดิษฐ์ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อวิถีชีวิตหรืออาชีพของผู้คนมากกว่า เช่น ด้านการแพทย์ หรือการเงิน

 

อ้างอิง : Reuters

 

ที่มา : https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/839284

 

 

Visitors: 1,218,251