CrowdStrike ล่ม กระทบอุปกรณ์ 8.5 ล้านเครื่อง Microsoft ชี้ 1% จากทั้งหมด
CrowdStrike ล่ม กระทบอุปกรณ์ 8.5 ล้านเครื่อง Microsoft ชี้ 1% จากทั้งหมด
CrowdStrike บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ล่าสุดได้มีการอัปเดตที่ผิดพลาดส่งผลให้ระบบทั่วโลกเกิดขัดข้องอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบประมาณ 8.5 ล้านเครื่อง คิดเป็นน้อยกว่า 1% ของอุปกรณ์ Windows ทั้งหมด Crowdstrike ถือเป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่บริษัททั่วโลกนิยมใช้ หลังการอัปเดตที่ผิดพลาดส่งผลให้เที่ยวบินหลายพันเที่ยวถูกยกเลิก, สถานีโทรทัศน์หลายแห่งต้องงดออกอากาศบริการต่างๆ เช่น ระบบธนาคารขัดข้อง ซึ่งมีธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบโดยตรง
ปัจจุบัน CrowdStrike กำลังแก้ไขปัญหา ประกอบกับ Microsoft ก็กำลังเร่งแก้ไขบนโครงสร้างพื้นฐานของ Azure เที่ยวบินเริ่มกลับมาให้บริการ แต่ยังมีการยกเลิกเพิ่มเติม Microsoft เผยว่า การหยุดทำงานของเทคโนโลยีทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับการอัปเดตซอฟต์แวร์โดยบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ CrowdStrike ได้รับผลกระทบเกือบ 8.5 ล้านอุปกรณ์
“ขณะนี้เราประเมินว่าการอัปเดตของ CrowdStrike ส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ Windows ประมาณ 8.5 ล้านเครื่อง หรือน้อยกว่าหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของเครื่องที่ใช้ Windows ทั้งหมด” “แม้ว่าเปอร์เซ็นต์จะน้อย แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้างสะท้อนถึงการใช้ CrowdStrike โดยองค์กรต่างๆ ที่ใช้บริการสำคัญๆ มากมาย” Microsoft เสริมว่ากำลังทำงานร่วมกับ Amazon Web Services และ Google Cloud Platform เพื่อแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบที่ Microsoft ตรวจพบทั่วทั้งอุตสาหกรรม ที่น่าสนใจคือ Delta Airlines หนึ่งในสายการบินที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ยกเลิกเที่ยวบินมากกว่า 600 เที่ยว ณ เวลา 10.00 น. EDT (21.00 น. ตามเวลาประเทศไทย) ของวันเสาร์ และคาดว่าจะมีการยกเลิกเที่ยวบินเพิ่มเติม
หลังจากความวุ่นวายของการขัดข้องด้านไอทีทั่วโลกเมื่อวันศุกร์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดในโลกที่เกี่ยวข้องกับไอที เริ่มมีคำถามว่าใครจะเป็นคนรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่ามีหลายเหตุผลที่ CrowdStrike จะรอดตัว
การเรียกร้องค่าเสียหายจากการเดินทางทางอากาศในบรรดาความสูญเสียที่หนักที่สุดน่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมการบิน เนื่องจากดูเหมือนว่าจะเป็นภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดแต่การเรียกร้องค่าเสียหายก็ไม่น่าจะชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้โดยสารสายการบิน
ประเด็นสำคัญประการหนึ่ง คือที่ผ่านมา สายการบินมักโต้แย้งว่าพวกเขาไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยสำหรับเที่ยวบินล่าช้าหรือถูกยกเลิกเนื่องจากสิ่งเหล่านี้เป็น "สถานการณ์พิเศษ" สายการบินมักโต้แย้งว่าไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย สำหรับเที่ยวบินล่าช้าหรือถูกยกเลิก เนื่องจากเป็น "สถานการณ์พิเศษ"
ดังนั้นคนเดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ ควรจะเก็บตั๋วเครื่องบิน ใบเสร็จ และบันทึกการติดต่อกับสายการบิน เพื่อใช้เป็นหลักฐานด้วย https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/851635
|