นับถอยหลัง 1 ปี ไมโครซอฟต์เลิกซัพพอร์ต Windows 10 ,Office 2016-2019 ก็โดน

นับถอยหลัง 1 ปี ไมโครซอฟต์เลิกซัพพอร์ต Windows 10 ,Office 2016-2019 ก็โดน

ไมโครซอฟต์เลิกซัพพอร์ต Windows 10 ในตุลาคม 2025 ซึ่งอาจทำให้คอมพิวเตอร์ PC กว่า 240 ล้านเครื่องกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็นน้ำหนักว่า 480,000 ตัน หรือเทียบเท่ากับรถยนต์ประมาณ 320,000 คันเลยทีเดียว

เข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีอย่างเดือนตุลาคม ในแวดวงไอทีและดิจิทัลจะมีการอัปเดตสิ่งต่างๆใหม่ๆ เพื่อเป็นเทรนด์ใหม่ของปีหน้า แต่อย่างไรก็ตาม ก็จะมีการประกาศ หรือนับถอยหลังว่า ซอฟต์แวร์อันใด จะไม่ได้ไปต่อดด้วย ซึ่ง ณ เวลานี้ เมื่อเข้าสู่กลางเดือนตุลาคม 2024 นั่นก็เท่ากับว่า เหลือเวลาอีกแค่ 1 ปีแล้ว ที่ ไมโครซอฟท์  Microsoft เลิกซัพพอร์ต Windows 10 ตามที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ 

ตามประกาศของไมโครซอฟท์นั้น วันที่ 14 ตุลาคม 2025 จะเป็นวันสิ้นสุดระยะซัพพอร์ต Windows 10 ซึ่งนอกจาก Window 10 ที่โดดดีดนิ้วแล้ว วันที่ 14 ตุลาคม 2025 ก็ยังเป็นวันสิ้นสุดระยะซัพพอร์ตซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ ของไมโครซอฟท์ ได้แก่

  • Office 2016, Office 2019 และยังมีตัวที่เป็นซอฟต์แวร์ที่นิยม อย่าง  Excel (2016,2019) , Outlook (2016,2019) และ PowerPoint (2016,2019)  รวมถึงซอฟต์แวร์ตัวย่อยๆ อย่าง Visio และ Project
  •  ซอฟต์แวร์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์อย่าง Exchange Server 2016/2019 และ Skype for Business Server 2015/2019
  • Visual Studio 2015 และ Visual Studio Team Foundation Server (ตอนนี้กลายร่างเป็น Azure Dev Ops)
 
 

เหลือเวลาอีก 1 ปี! ไมโครซอฟต์เลิกซัพพอร์ต Windows 10 อาจทำให้คอมพิวเตอร์ PC กว่า 240 ล้านเครื่องกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็นน้ำหนักว่า 480,000 ตัน หรือเทียบเท่ากับรถยนต์ประมาณ 320,000 คันเลยทีเดียว  Credit ภาพ Microsoft

เหลือเวลาอีก 1 ปี! ไมโครซอฟต์เลิกซัพพอร์ต Windows 10 อาจทำให้คอมพิวเตอร์ PC กว่า 240 ล้านเครื่องกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็นน้ำหนักว่า 480,000 ตัน หรือเทียบเท่ากับรถยนต์ประมาณ 320,000 คันเลยทีเดียว Credit ภาพ Microsoft

ในช่วงปี 2023 ที่ไมโครซอฟต์ประกาศช่วงแรกๆ ว่าจะไม่ซับพอร์ต Window 10 นั้น สำนักข่าว REUTERS เคยรายงานว่า ผลของเรื่องนี้ อาจทำให้คอมพิวเตอร์ PC กว่า 240 ล้านทั่วโลก เครื่องกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ  E-Waste คิดเป็นน้ำหนักว่า 480,000 ตัน หรือเทียบเท่ากับรถยนต์ประมาณ 320,000 คันเลยทีเดียว

แนวทางแก้ไข เมื่อ สิ้นสุดทางรัก Windows 10

ทางไมโครซอฟต์แนะนำว่าให้เปลี่ยนไปใช้ Windows 11 แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานจำเป็นต้องทราบข้อจำกัดบางอย่าง โดยข้อจำกัดที่ต้องรู้หากจะลง Windows 11 ในคอมฯ เก่านั้น

หนึ่งในข้อจำกัดของสเปกในการก้าวไปที่ Windows 10 สู่ Windows 11 คือต้องติดตั้งชิปบความปลอดภัย TPM 2.0 ซึ่งคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ไม่ได้รองรับ บางคนอาจจะใช้วิธีเสี่ยงคือการ ByPass แต่อาจจะไม่ได้ทำได้ทุกรุ่น และถ้าความรู้ในการทำไม่มากพอ ทางออกเดียวคือเปลี่ยนคอมฯ ใหม่

นอกจากนี้ อย่างไรก็ตามสำหรับองค์กรที่ยังต้องอยู่กับ Windows 10 ต่อไปหลังหมดระยะซัพพอร์ต ไมโครซอฟท์ก็มีทางเลือกให้เหมือนตอน Windows 7 คือจ่ายเงินซื้อซัพพอร์ตความปลอดภัยแบบต่อเวลาหรือ Extended Security Updates (ESU) โดยจ่ายเงินเป็นรายปี รองรับการต่อเวลาออกไปอีก 3 ปี ได้รับอัพเดตความปลอดภัยแบบรายเดือนต่อไป เฉพาะพีซีที่ลงทะเบียน ESU

ESU ของ Windows 10 ครั้งนี้ ยังไม่ประกาศรายละเอียดราคา ว่าจะขึ้นราคาทุกปีแบบ Windows 7 ทุกปีหรือไม่ ซึ่งออกแบบมาเพื่อจูงใจให้อัพเกรดเป็น Windows เวอร์ชันใหม่ รวมทั้งไมโครซอฟท์ยังบอกว่า ESU นี้ จะรองรับผู้ใช้งานแบบรายบุคคลด้วย

 

ที่มา : microsoft microsoft reuters

 

 

Visitors: 1,382,557