ไวรัสโคโรน่า เคยระบาดเมื่อ 20,000 ปีก่อน จากหลักฐานใน DNA ของคนแถบเอเชียตะวันออก

‘ไวรัสโคโรน่า’ เคยระบาดเมื่อ 20,000 ปีก่อน จากหลักฐานใน DNA ของคนแถบเอเชียตะวันออก

ถึงแม้หลายคนจะรู้เพิ่งรู้จักไวรัส ‘โคโรน่า’ ในช่วงปีที่ผ่านมา แต่ความเป็นจริงแล้ว ในช่วงราว 20 ปีที่ผ่านมามนุษยชาติเผชิญหน้ากับโรคระบาดที่อยู่ในตระกูลของไวรัสโคโรน่ามาหลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นโรคซาส์ เมอร์ส และโควิด-19 ที่เรากำลังเผชิญอยู่ในตอนนี้ก็เป็นไวรัสโคโรน่าทั้งหมด แต่ดูเหมือนว่ามนุษย์อาจต่อสู้กับไวรัสชนิดนี้มายาวนานยิ่งกว่าที่เราคิด และยาวนานประวัติศาสตร์เสียอีก

งานวิจัยล่าสุดพบว่าเคยมีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าในแถบเอเชียตะวันออก เมื่อราว 20,000 ปีก่อน

ในการศึกษาของทีมวิจัยจากออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกาซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Current Biology Scientific พบหลักฐานสำคัญว่าเคยมีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าเมื่อ 20,000-25,000 ปีก่อน จากการศึกษาจีโนมของมนุษย์กว่า 2,500 คนจาก 26 กลุ่มทั่วโลก และพบร่องรอยเชื่อมโยงที่เก่าแก่ที่สุดในจีโนมของมนุษย์กับไวรัสโคโรนา ในแถบเอเชียตะวันออก 5 กลุ่ม ซึ่งอยู่ในประเทศจีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม ซึ่งทิ้งร่องรอยไว้ใน DNA ผ่านยีนจำนวน 42 ตัว

Yassine Souilmi หัวหน้าทีมวิจัยระบุว่าจีโนมที่นักวิจัยศึกษาสามารถเก็บข้อมูลวิวัฒนาการของมนุษย์ย้อนไปได้นับแสนปี โดยที่ร่องรอยของเชื้อโคโรนาเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วมันจะทำการยึดเซลล์และก๊อปปี้ตัวเองออกมาจำนวนมาก ซึ่งส่วนนี้ทิ้งร่องรอยไว้ในจีโนมซึ่งเป็นหลักฐานว่าบรรพบุรุษของมนุษย์เคยสัมผัสและปรับตัวเข้ากับไวรัสโคโรน่ามาก่อน

 

เพื่อทำก๊อปปี้ตัวเองไวรัสต้องพึ่งพาโฮสต์ และนั่นคือสาเหตุที่มันทำการโจมตีเซลล์เพื่อขยายตัว” Souilm กล่าวถึงกระบวนการทำงานของไวรัสที่ทำให้เกิดร่องรอยในจีโนมต่อมา

แม้ว่าจะพบหลักฐานในกลุ่มเอเชียตะวันออกแต่นักวิจัยเชื่อว่าการระบาดครั้งนั้นกระจายไปถึงภูมิภาคอื่นๆ ด้วย แต่ทั้งนี้ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนในการจำกัดวงการระบาด และไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าคนเมื่อ 20,000 ปีก่อนเอาตัวรอดจากโรคระบาดอย่างไร รวมถึงไม่ทราบด้วยว่าการระบาดเป็นขึ้นเป็นฤดูกาลเหมือนไข้หวัดใหญ่ หรือระบาดต่อเนื่องเหมือนโรคโควิด-19

Souilmi กล่าวเสริมว่าการระบาดเมื่อ 20,000 ปีก่อนเกิดขึ้นแยกเป็นเอกเทศต่อกัน และค่อยๆ แพร่กระจายไปทั่วเอเชียตะวันออกเป็นการระบาดใหญ่ โดยในกลุ่มคนที่พบร่องรอยของไวรัสโคโรน่าในจีโนมได้ประโยชน์จากบรรพบุรุษ การกลายพันธุ์ในพันธุกรรมช่วยป้องกันพวกเขาจากเชื้อโคโรนาได้ดีกว่า

การศึกษาครั้งนี้ทำให้เราค้นพบหลักฐานสำคัญว่ามนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับเชื้อไวรัสโคโรน่ามาอย่างยาวนานมากกว่าที่เราคิด และในขณะที่เราวิวัฒนาการตัวเอง ไวรัสโคโรน่าก็วิวัฒนาการเพื่อเข้าสู่ตัวโฮสต์ได้ดีมากขึ้นเช่นกัน

อ้างอิง

  • CNN. East Asia was hit by another coronavirus epidemic 20,000 years ago, new study shows. https://cnn.it/3y7GANY
  • Ctvnews. Study suggests a coronavirus pandemic happened 20,000 years ago in East Asia. https://bit.ly/3w2t0dt

 

ที่มา : https://www.brandthink.me/content/coronavirus-in-east-asia

 

Visitors: 1,230,111