ทำไมเราต้องอนุรักษ์ อนุรักษ์แล้วเราจะได้อะไร ???

ทำไมเราต้องอนุรักษ์ อนุรักษ์แล้วเราจะได้อะไร ??????
 
การสูญเสีย "ป่า" เป็นภัยต่อสัตว์ที่อยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ
 
IUCN Red List กล่าวว่า สัตว์ราว 85% สายพันธุ์จากทั้งหมด ได้รับผลกระทบจากพื้นที่ป่าส่วนใหญ่ที่สูญเสีย จากการแผ้วถางให้เป็นพื้นที่การเกษตร และการรุกคืบของถิ่นที่อยู่อาศัยมนุษย์
 
ในปัจจุบันสิ่งมีชีวิตมากมายต่างกำลังป่วย และล้มตายเป็นจำนวนมากจาก สภาวะแวดล้อมที่ผิดปกติ เราต่างได้ยินข่าวเกี่ยวกับการใกล้สูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตจากทั่วโลกอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเสือ พะยูน โลมา ปะการัง ฯลฯ และอีกหลายชนิดที่กำลังถูกคุกคามจนเหลือจำนวนน้อยลงเรื่อย ๆ
 
 
เสือดาวอามูร์ที่เหลือเพียงไม่ถึง 50 ตัวจากทั่วโลก ในตอนแรกเรื่องราวเหล่านั้นอาจทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจ ข่าวถูกแพร่ออก
ไปอย่างสารพัด แต่เพียงเวลาไม่นานกระแสข่าวก็ถูกลืนหายไปกับสายลมด้วยข่าวอื่น ความรู้สึกไม่สบายใจนานไปเราก็จะเริ่มชินชาและหลงลืมในที่สุด
 
"แต่ปัญหาเหล่านั้นไม่ได้จางหายไปไหน กลับทวีความรุนแรงขึ้น" สัตว์และสิ่งแวดล้อมก็ยังต้องเป็นทีรองรับ การกระทำของเราต่อไป
 
 
สัตว์และสิ่งแวดล้อมกำลังถูก "คุกคาม" เราต้องกังวลหรือไม่ ???
 
 
 
มันคงจะน่าเศร้าหากผมกำลังบอกคุณว่า "ผึ้งกำลังจะสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ เราอาจไม่มีน้ำผึ้งจากธรรมชาติให้ได้กินอีกต่อไป หรือ หมีแพนด้าที่ทั่วโลกทั้งโลกเหลือเพียงประมาณ 2,060 ตัว เราอาจไม่ได้เห็นความน่ารักของเจ้าหมีแพนด้าอีกต่อไป 
 
ปัจจุบันประชากรผึ้งทั่วโลกกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่มีอาหาร หรือ สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ จากยาฆ่าแมลง ในธรรชาติพืชส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาอาศัย "ผึ้ง" ในการช่วยผสมเกสรอยู่ ในบรรดาพืชอาหาร 100 ชนิดที่เป็นอาหารเลี้ยงประชากรร้อยละ 90 ของประชากรมนุษย์ทั้งโลก มี 70 ชนิด ที่ต้องการผึ้งเป็นตัวผสมละอองเกสรให้
 
"ผึ้งถือเป็นตัวชี้วัดความปลอดสารเคมีในธรรมชาติ หากที่ใดมีผึ้งแสดงว่าที่นั้นไม่มีสารเคมี "
 
 
 
แต่ในความเป็นจริงหากมันสูญพันธุ์ไปแล้วส่งผลอย่างไรกับเรา ในเมื่อเราไม่ได้พึ่งพิงมันในการดำรงชีวิต จำเป็นที่จะต้องอนุรักษ์อย่างจริงจังหรือ ???
 
นอกจากสัตว์แล้วยังมีมนุษย์อีกมากมายที่ต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งปัญหาก็มีมากมาย ทั้งการขาดแคลนน้ำ อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม
 
"จึงเป็นเรื่องที่จะตัดสินใจได้ยากในการยอมจ่ายเงินเป็นล้าน ๆ เพื่ออนุรักษ์สัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม"
 
ว่าแต่อะไรล่ะ!! ที่จะทำให้การอนุรักษ์มีความสำคัญขึ้นมา ?
 
เหตุผลมากมายร้อยพันเหตุผลที่สนับสนุนว่า ทำไมเราไม่ควรอนุรักษ์ชนิด
พันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ สาเหตุหลักที่ชัดเจนที่สุดก็คือ " เงิน " ของเราหรือต้นทุนที่ต้องถูกนำไปเพื่อการอนุรักษ์นั้น!!!
 
การศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2555 ได้ประมาณว่าเราต้องใช้ต้นทุนราว 76,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปีเพื่ออนุรักษ์สัตว์บกที่ใกล้สูญพันธุ์ หากคิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 228,000 ล้านบาท จำนวนเงินที่เยอะขนาดนี้ทำให้เกิดคำถามอย่างมากมาย ถ้าเรานำเงินก้อนเดียวกันนี้ไปช่วยเพื่อนมนุษย์จากความลำบากหรือโรคระบาดจะมีประโยชน์กว่าหรือไม่ ???
 
 
รู้หรือไม่ !!!!!
" ทั้งโลกใช้จ่ายด้านยุทโธปกรณ์มากกว่านำเงินไปช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาถึง 12 เท่า "
 
 
เมื่อคิดแบบนี้แล้วคงเป็นคำถามที่ยากตามมา หากให้เราจะต้อง "เลือก"
ระหว่างจ่ายเงิน 100 บาทเพื่อซื้อข้าวให้เด็กที่หิวโซ หรือ จ่ายเงิน 100 บาทเพื่อซื้ออาหารให้แก่หมีขั้วโลกที่กำลังหิวโซ บางคนอาจคิดว่าสัตว์บางชนิดสูญพันธุ์ไปก็ดี อย่างเช่น หมาป่าซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง และมนุษย์
 
 
Cr : https://www.nationalgeographic.com.au/
เป็นเรื่องธรรมดาของสิ่งมีชีวิตที่จะสูญพันธุ์ไปจากโลก เพราะในอดีตหลาย ล้านปีที่ผ่านมาโลกได้ผ่านการสูญพันธุ์มาแล้วถึง 5 ครั้ง
 
 
เราจะหยุดการสูญพันธุ์ทำไม ??? ในเมื่อมันเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
 
"คำตอบหนึ่งก็คือ ปัจจุบัน การสูญพันธุ์ของสัตว์และพืชเกิดขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าในอดีตอย่างมาก มีงานศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ระบุว่าอัตราการสูญพันธุ์เพิ่มขึ้นราว 100 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับศตวรรษที่ผ่านมา และมนุษย์ก็เป็นสาเหตุของการเพิ่มขึ้นดังกล่าว"
 
 
 
ตัวผมเอง เป็นคนหนึ่งที่หลงใหลในธรรมชาติ และผมเชื่อว่าหลายคนก็เช่นกัน เราชอบที่จะไปเดินป่า กางเต้นท์นอนในอุทยาน ดำน้ำดูปะการัง สัมผัสอากาศหนาว ดูพระอาทิตย์ขี้นยามเช้าผ่านวิวทิวเขา ฯลฯ
 
"เพราะความงามของธรรมชาตินั้นงามมาจากข้างใน" และไม่มีสิ่งปรุงแต่งใด สร้างคุณค่าทางจิตใจและช่วยให้เรามีสุขภาพกายและจิตที่ดีจากการออกไปสัมผัสธรรมชาติ เป็นเหตุผลที่เราควรรักษาไว้ เช่นเดียวกับที่เรารักษาผลงาน หรือโบราณสถานต่าง ๆ ไว้
 
 
แต่ในความเป็นจริงบางคนยังมองไม่เห็นถึงความงามที่แท้จริงของธรรมชาติ
 
แล้วเรามีเหตุผลอะไรอีกที่ควรจะอนุรักษ์ ???
 
 
 
หากพืชที่เป็นยาสามารถรักษาโรคมะเร็งหายไปเราจะทำอย่างไร?
 
แนวคิดนี้ถูกเรียกว่า "การคาดหวังทางชีวภาพ หรือ Bioprospecting "
แต่ความคิดนี้ไม่สามาารถไปได้ไกลเท่าที่ควร เพราะในปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีมากมายในการรักษา ที่ไม่ต้องพึ่งพาสมุนไพร
 
จึงทำให้การรักษาด้วยพืชสมุนไพรได้รับความนิยมน้อยลง อาจเป็นเพราะสมุนไพรไม่สามารถรักษาให้หายได้อย่างทันใจเหมือนยาสมัยใหม่ มันจึงไม่เป็นแรงผลักดันที่เพียงพอให้เกิดการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน
 
 
ที่มา : เรื่องเล่าคนเข้าป่า https://www.blockdit.com/posts/5e296af2182c100e45bbe41e



Visitors: 1,212,268