วันแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ

     หลายคนอาจไม่รู้ว่าเรามี “วันแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ” ที่กำลังจะมมาถึงในอีกไม่กี่วันนี้ เราเลยอยากชวนทุกคน โดยเฉพาะคนเมือง มาทำความเข้าใจว่า “Biodiversity” ไม่ใช่แค่เรื่องไกลตัวอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่มันคือหัวใจของ “เมืองที่ดี”
    ความหลากหลายทางชีวภาพคือรากฐานของชีวิตในเมืองที่หลายคนอาจมองข้าม มันไม่ใช่แค่เรื่องของสัตว์ป่าในป่าลึกหรือพืชหายากในพื้นที่ห่างไกล แต่คือระบบนิเวศที่อยู่รอบตัวเรา ตั้งแต่จิ้งจกบนผนังบ้าน ผึ้งที่บินผ่านสวนหลังบ้าน ไปจนถึงจุลินทรีย์ในดินที่ช่วยให้ต้นไม้เติบโต
     ในประเทศไทย การสำรวจล่าสุดพบสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ใหม่จำนวนมากในพื้นที่ภูเขาหินปูนและถ้ำ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่มีความเฉพาะตัวสูง แต่ในขณะเดียวกัน การขยายตัวของเมืองและการทำเกษตรเชิงเดี่ยวกำลังคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมัน
     ผลกระทบของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในเมืองนั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัว ตัวอย่างจากบราซิลในช่วงปี 2014–2023 พบว่าการถูกแมงป่องต่อยในเมืองเพิ่มขึ้นถึง 155% เพราะระบบนิเวศเสียสมดุลจากการขยายเมืองอย่างรวดเร็วและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
     กรณีของอินเดียก็เป็นอีกบทเรียนสำคัญ: การหายไปของ แร้ง ซึ่งเคยเป็นผู้เก็บซากสัตว์ตามธรรมชาติ ทำให้ สุนัขจรจัดเข้ามาแทนที่ เกิดการเพิ่มประชากรสุนัขอย่างรวดเร็ว และนำไปสู่การแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในมนุษย์มากถึง 47,000 รายต่อปี นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเราละเลย "ผู้เล่นตัวเล็ก" ในระบบนิเวศ
     แม้กระทั่ง แมลงปอ นักล่ายุงตามธรรมชาติที่สามารถกินยุงได้วันละนับร้อยตัว ก็แทบไม่พบเห็นในเมืองอีกแล้ว เพราะการใช้สารเคมีและมลพิษในแหล่งน้ำ ส่งผลให้ประชากรแมลงปอลดลงอย่างมาก และอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ ไข้เลือดออกในเมืองกลายเป็นโรคประจำฤดูที่รุนแรงขึ้นทุกปี
    ในทางกลับกัน มีกรณีตัวอย่างเชิงบวกจากประเทศไทยที่ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้นำความหลากหลายทางชีวภาพมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ดอยตุง มีการเลี้ยง ผึ้งโพรง เพื่อช่วยผสมเกสรให้ต้นแมคคาเดเมีย และในขณะเดียวกันก็ได้น้ำผึ้งจากดอกแมคคาเดเมียเป็นผลพลอยได้ การดูแลผึ้งเหล่านี้ต้องอาศัยการไม่ใช้ยาฆ่าแมลง และลดการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันของมนุษย์และธรรมชาติ
    ดร.สุภัชญา เตชะชูเชิด หรือ ดร.แอน ผู้จัดการสิ่งแวดล้อมอาวุโส กล่าวว่า “ถ้าเราจะดูแลความหลากหลายทางชีวภาพ เราไม่ต้องออกไปประท้วงที่ไหนไกล หรือออกไปปลูกป่า อาจเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยจานอาหารของเราเอง ว่าเรากินให้หมด กินอย่างรับผิดชอบ ลดเนื้อแดงลงได้บ้าง แค่นี้ทุก ๆ คนก็เป็นฮีโร่ที่จะดูแลความหลากหลายทางชีวภาพได้แล้วค่ะ”
     เพราะสุดท้ายแล้ว เมืองที่มีชีวิต ไม่ใช่แค่เมืองที่มีต้นไม้ปลูกริมทาง หรืออาคารเขียวที่มีฉลากรับรองแต่คือเมืองที่ยังมีชีวิตเล็ก ๆ อยู่รอบตัวเรา ระบบนิเวศที่สมดุลไม่ใช่แค่ความสวยงาม แต่คือ รากฐานของสุขภาพ ความมั่นคง และความยั่งยืนในอนาคต
 
Biodiversity isn’t just about remote forests or rare species—it’s the foundation of healthy city life. From geckos on our walls to bees in backyard gardens, every small creature plays a role in keeping our urban ecosystems balanced. When biodiversity declines, cities face real consequences: in Brazil, scorpion stings rose 155% due to ecological imbalance; in India, the disappearance of vultures led to a rabies outbreak from a surge in stray dogs. Even dragonflies, once common mosquito predators, have nearly vanished due to pollution—contributing to rising urban dengue cases.
 
But positive change is possible. At Doi Tung, the Mae Fah Luang Foundation integrates biodiversity into sustainable development—raising native bees to pollinate macadamia trees without pesticides, benefiting both nature and people. As Dr. Supatchaya Techachoocherd says, “Protecting biodiversity doesn’t require protests or planting trees far away. It can start with finishing our meals, eating responsibly, and reducing red meat. That alone makes us heroes for biodiversity.” A truly livable city is one where small lives thrive around us—because a balanced ecosystem is not just beautiful, but essential for health, resilience, and the future.
 
 
 
May be an image of text that says 'ความหลากหลายทางชืวภาพ รากฐานของชีวิตในเมือง เมือง ที่หลายคนอาจมองข้าม ที่ห เป็นความยั่งยืนในอนาคต นในอ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง 더'
 
 
 
Visitors: 1,534,252