วิจัยชี้ คนเอเชีย ถูกมิจฉาชีพหลอกลวงด้วย AI เสียหายสูงสุด 688.42 พันล้าน USD

วิจัยชี้ คนเอเชีย ถูกมิจฉาชีพหลอกลวงด้วย AI เสียหายสูงสุด 688.42 พันล้าน USD

 

 

ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall เจฟฟ์ กัว แห่ง โกโกลุก เล่าย้อนหลังไปเมื่อ 14 ปีที่ผ่านมาถึงจุดกำเนิดในการก่อตั้งบริษัท ก็คือการถูกหลอก

มิจฉาชีพนำเทคโนโลยี AI มาใช้หลอกลวงประชาชนมากขึ้น

มิจฉาชีพมีการนำเทคโนโลยี AI มาใช้หลอกลวงประชาชนมากขึ้น ขณะที่ทั่วโลกเอง ก็เริ่มมีการกดดันให้ภาคเอกชนมีส่วนรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประชาชนด้วย เช่น อังกฤษ ที่เริ่มบังคับให้ธนาคารต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดกับประชาชน ขณะที่ประเทศไทยเอง ก็เริ่มมีการพูดถึงบทบาทดังกล่าวด้วย 

 

วิจัยชี้ คนเอเชีย ถูกมิจฉาชีพหลอกลวงด้วย AI เสียหายสูงสุด 688.42 พันล้าน USD

แต่ละประเทศมีรูปแบบการถูกหลอกลวงที่แตกต่างกัน ประเทศไทย กับ มาเลเซีย มักถูกหลอกจากการโทรหลอกลวง ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ถูกหลอกจากการส่ง SMS ขณะที่ญี่ปุ่นถูกหลอกผ่านการส่งอีเมล์

ผลการศึกษาวิจัยเรื่องต้นทุนที่แท้จริงของการฉ้อโกงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2566 (2023 True Cost of Fraud Study Asia Pacific), พบว่า 58% ของบริษัทในภูมิภาคนี้ต้องรับมือกับการฉ้อโกงจากมิจฉาชีพเพิ่มขึ้น บริษัทต้องมีค่าใช้จ่ายที่นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาจากการหลอกลวง

 
 

วิจัยชี้ คนเอเชีย ถูกมิจฉาชีพหลอกลวงด้วย AI เสียหายสูงสุด 688.42 พันล้าน USD

เช่น การดำเนินคดีความกับผู้กระทำความผิด และค่าชดเชย เฉลี่ยอยู่ที่ 100 บาท (4 ดอลลาร์สิงคโปร์)  ต่อทุกๆ 25 บาท (1 ดอลลาร์สิงคโปร์) ที่สูญเสียไป โดยบริษัทค้าปลีกจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 80 บาท ต่อทุกๆ 25 บาท หรือ  (3.07 ดอลลาร์สิงคโปร์) ในขณะที่สถาบันการเงินจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสูงถึง 128 บาท ต่อทุกๆ 25 บาท หรือ (4.59 ดอลลาร์สิงคโปร์) 

 

เอเชียถูกมิจฉาชีพหลอกมูลค่ารวมกว่า 688.42 พันล้าน USD

นอกจากนี้รายงานสถานการณ์การหลอกลวงจากมิจฉาชีพในภูมิภาคเอเชียประจำปี 2567 (Anti-Scam Asia Report 2024) ที่จัดทำโดย องค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก Global Anti-Scam Alliance (GASA) ร่วมกับ ScamAdviser ได้ประเมินมูลค่าความเสียหายที่ประชากรและธุรกิจได้รับจากการหลอกลวงทางไซเบอร์ใน 13 ประเทศทั่วภูมิภาคสูงถึง 688.42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

วิจัยชี้ คนเอเชีย ถูกมิจฉาชีพหลอกลวงด้วย AI เสียหายสูงสุด 688.42 พันล้าน USD

การปรากฎตัวและการแพร่กระจายของเทคโนโลยี AI เป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถานการณ์การหลอกลวงในภาคธุรกิจมีความน่าเป็นห่วงมากขึ้น เพราะมิจฉาชีพได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI เพื่อก่ออาชญากรรมอย่างแพร่หลาย อาทิเช่น การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล (identity thef) การแอบอ้างเป็นบุคคลอื่นในรูปแบบต่างๆ (impersonation scams) 

และการนำเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงกระบวนการยืนยันตัวตน (Know Your Customer or KYC)  ส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมต่อต้านการหลอกลวงทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 129.2 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2572 จากความต้องการของรัฐบาลและธุรกิจทั่วโลกในการแสวงหาเครื่องมือเพื่อปกป้องภัยจากมิจฉาชีพ

ใช้ AI ในการจำลองรูปแบบการหลอกลวง

นอกจากช่วยให้บริษัทสร้างฐานข้อมูลในการต่อต้านการหลอกลวงทางดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว ยังช่วยให้บริษัทสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาผสานเข้ากับความเชี่ยวชาญด้าน AI มาวิเคราะห์ และจำลองรูปแบบการหลอกลวง เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ที่จะช่วยป้องกันการหลอกลวงองค์กรที่เหนือระดับ และขยายโอกาสในการดำเนินธุรกิจไปยังภูมิภาคต่างๆทั่วโลก

 

วิจัยชี้ คนเอเชีย ถูกมิจฉาชีพหลอกลวงด้วย AI เสียหายสูงสุด 688.42 พันล้าน USD

ปัจจุบันโซลูชันสำหรับธุรกิจประกอบด้วย Anti-Scam Intelligence (ASI Solutions), บริการ Watchmen Reputation Protection Service และบริการ Identity Suite ที่ช่วยปกป้องชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม

Watchmen Reputation Protection Service ประกอบด้วย

  • Whoscall Verified Business Number หรือ VBN ช่วยยืนยันเบอร์โทรศัพท์ของธุรกิจ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในความถูกต้องของสายเรียกเข้า ธุรกิจสามารถใช้โซลูชันนี้เพื่อเสริมสร้างการสื่อสารกับลูกค้า ปกป้องภาพลักษณ์ของแบรนด์ และป้องกันความเสียหายต่อชื่อเสียงจากการถูกแอบอ้าง โดยเบอร์โทรศัพท์ที่ได้รับการยืนยันแล้วจะแสดงชื่อ โลโก้ จุดประสงค์ของการติดต่อ และเครื่องหมายการยืนยัน
  • ระบบเตือนภัยล่วงหน้าเกี่ยวกับการฉ้อโกง (Fraud Early Warning System) เป็นระบบอัจฉริยะที่ให้บริการครบวงจร ทั้งการตรวจสอบ การแจ้งเตือนล่วงหน้า และการป้องกันจากการโทร ข้อความ โดเมน URL หรือโซเชียลที่อาจเป็นภัยต่อองค์กร

 

 

ที่มา : https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/853728

 

 

Visitors: 1,405,878