8 ประเทศทำได้สำเร็จ Net Zero Emissions ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

8 ประเทศทำได้สำเร็จ Net Zero Emissions ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

8 ประเทศทำได้สำเร็จ Net Zero Emissions ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
 

เปิดรายชื่อ 8 ประเทศพุ่งชนความสำเร็จ สู่เป้าหมาย Net Zero Emissions (การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์) ได้แล้ว

เทรนด์เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่อง Keep The World ถือเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสนใจ โดยประเด็นหลักเรื่องใหญ่ ณ เข็มนาฬิกาเดินอยู่ตอนนี้ เรื่องของ Net Zero Emissions (การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์)  ถือเป็นความสำคัญลำดับแรกๆ เรื่องหลักของแทบทุกประเทศ 

ทั่วโลก ทุกมุมของโลก ต่างมุ่งเน้นที่จะต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งได้กระตุ้นให้เกิดความมุ่งมั่นระดับชาติที่จะบรรลุ "เป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์" หรือ "Net Zero" 

• Net Zero Emissions คืออะไร ?

ก่อนอื่นต้องอธิบาย Net Zero Emissions  หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ คือการที่ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีความสมดุล เท่ากับก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดซับออกจากชั้นบรรยากาศ  ในสภาวะสมดุลนี้ ก็ไม่เพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ เลขศูนย์ที่ทั้งโลกอยากเห็นคือไม่มีการปล่อยคาร์บอนสุทธิออกจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้ชีวิตของมนุษย์เลย และถ้าหากทุกประเทศบรรลุเป้า Net Zero Emissions ได้ ก็แปลว่าเราสามารถหยุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนเกินได้นั่นเอง และ สิ่งแวดล้อมของโลกก็จะไม่แย่ลงไปกว่าเดิม จากเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 

8 ประเทศ รักษ์โลก พุ่งชนความสำเร็จ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

8 ประเทศ รักษ์โลก พุ่งชนความสำเร็จ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์



• Net Zero Emissions (การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์) เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ ? 

ย้อนเข็มนาฬิกากลับไปเมื่อปี 2015  การแข่งกันเข้าสู่เลขศูนย์ได้เริ่มต้นขึ้นด้วยการให้คำมั่นสัญญาของสหประชาชาติซึ่งเป็นไปตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อบรรลุการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสภายในสิ้นศตวรรษนี้ ด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลดการปล่อยคาร์บอน เพิ่มตัวดูดซับคาร์บอน หรือซื้อขายคาร์บอนเครดิตก็ตาม

แต่รู้หรือไม่ว่ามีบางประเทศบนโลกได้ทำสำเร็จแล้วโดยที่ไม่ต้องรอให้ถึงอีกเกือบ 30 ปีข้างหน้า  โดย ณ เวลานี้ มีแล้ว 8 ประเทศ ที่บรรลุเป้าหมาย Net Zero Emissions (การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์) ได้แล้ว 
 

 

8 ประเทศทำได้สำเร็จ Net Zero Emissions ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

8 ประเทศทำได้สำเร็จ Net Zero Emissions ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์


1.ภูฏาน 

ประเทศภูฏาน เป็นหนึ่งในประเทศทวีปเอเชีย ที่ มีปริมาณ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์  แถมยังติดลบ (carbon-negative) อีกด้วย มีปริมาณป่าไม้ที่ปล่อยออกซิเจนมากกว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาปีละ 1.1 ล้านตัน ทั้งยังส่งออกกระแสไฟฟ้าจากพลังงานที่หมุนเวียนขายให้กับอินเดียอีกด้วย  ประเทศภูฏาน มีนโยบายส่งเสริมการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนมากกว่าการตัดไม้ทำลายป่า อุทยานแห่งชาติที่ได้รับการคุ้มครองครอบคลุมพื้นที่ 2 ใน 5 ของประเทศ เชื่อมต่อด้วยทางเดินที่อยู่อาศัย ทำให้สัตว์ป่าสามารถเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างกันได้ โดยปราศจากการขัดขวางจากมนุษย์

ภูฏานพัฒนาประเทศภายใต้กรอบการสร้าง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” หรือ GNH (Gross National Happiness) เป็นสำคัญเหนือ “ผลิตภัณฑ์มวลรวม” หรือ GDP โดยใช้ 4 หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนดังข้างต้น และมี 9 แนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาในแบบฉบับ “ภูฎาน โมเดล” (4 Pillars and 9 Domains)

2. คอโมโรส
ประเทศคอโมโรส เป็น หมู่เกาะภูเขาไฟขนาดเล็กแห่งนี้ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย บริเวณทางตอนเหนือของมาดากัสการ์ ในทวีปแอฟริกา ประเทศเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก ประชากร 800,000 คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นตามชายฝั่ง ด้วยอัตราส่วน 400 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร

และ เนื่องจากมีนโยบายปกป้องสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดของคอโมโรส ทำให้พื้นที่ 3 ใน 4 ของประเทศไม่สามารถอยู่อาศัยได้ แต่ก็เป็นเหตุผลให้เกาะแห่งนี้ได้สถานะการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นบวกด้วยซ้ำ

ประเทศแห่งนี้ มีการปล่อยมลพิษต่ำจากการเกษตร การประมง และการเลี้ยงปศุสัตว์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจทั้งประเทศ ประกอบกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดเกือบหนึ่งในสี่ของผืนดิน ช่วยสนับสนุนสถานะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

 

8 ประเทศ รักษ์โลก พุ่งชนความสำเร็จ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

8 ประเทศ รักษ์โลก พุ่งชนความสำเร็จ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

3. กาบอง

ประเทศกาบอง ถือว่าอยู่ในเขตป่าฝนคองโกครองพื้นที่กว่า 88% ของผืนดินของกาบองในแอฟริกากลาง  ได้รับการบันทึกว่ามีระดับการตัดไม้ทำลายป่าที่ต่ำที่สุดในศตวรรษที่ 21 และน่าจะเป็นป่าฝนแห่งเดียวของโลกที่ยังคงปล่อยคาร์บอนเป็นลบ , ประเทศกาบองแห่งนี้ มีสถานะ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียงเล็กน้อยในขณะที่ดูดซับในปริมาณมาก UN ยกให้กาบองเป็นต้นแบบของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

4.  กายอานา 

กายอานา ที่ตั้งอยู่ในทิศเหนือของทวีปอเมริกาใต้ เป็นอีกประเทศที่อุดมไปด้วยต้นไม้ใหญ่ มีป่าฝนปกคลุมมากที่สุดในโลกถึง 85% ของพื้นที่ ป่าขนาด 14.48 ล้านเฮกตาร์ (ราวๆ 90 ล้านไร่)  โดยประเทศ กายอานา หลังบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์แล้ว มีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซลงอีก 70% ภายในปี  2030 กายอานากลายเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหม่ของโลกในปี 2019 ซึ่งอาจมีความท้าทายมากขึ้นในฐานะผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระเป็นสุทธิเป็นศูนย์ในอนาคต

5. มาดากัสการ์

ประเทศมาดากัสการ์ ไม่ได้เป็นเพียงชื่อภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่ฮิตไปทั่วโลก แต่จริงๆแล้ว ประเทศแห่งนี้ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และสัตว์น้อยใหญ่  ในด้านเศรษฐกิจยังถือว่าเป็นประเทศด้อยพัฒนา มีประชากรเพียง 20% เข้าถึงไฟฟ้า 

ปัจจุบัน แม้ มาดากัสการ์ จะมี การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ แต่การตัดไม้ทำลายป่าขนาดใหญ่ ทำให้ 25 % ของพื้นที่ป่าของทั้งประเทศหายไปตั้งแต่ปี 2000 ตามรายงานของ Global Forest Watch และหากอัตราการตัดไม้ทำลายป่าในปัจจุบันยังคงดำเนินต่อไป มาดากัสการ์จะกลายเป็นประเทศผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิภายในปี 2030 หรือในอีก 7 ปีข้างหน้า 

 

8 ประเทศ รักษ์โลก พุ่งชนความสำเร็จ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

8 ประเทศ รักษ์โลก พุ่งชนความสำเร็จ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

6. นีวเว 
นีวเวเป็นเกาะเล็กๆ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ และเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรในท้องถิ่นราว 2,000 คน และยังมีประชากรอีกเป็นจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ มีส่วนปล่อยมลพิษน้อยกว่า 0.0001% เมื่อเทียบกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

โดยส่วนใหญ่ประชาชนประกอบอาชีพ การประมง เกษตรกรรม และการท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลัก แต่เนื่องด้วยตำแหน่งที่ตั้งของเกาะนีวเวมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change  เช่น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ความเป็นกรดของมหาสมุทร และพายุไซโคลน ตัวอย่างเช่น เดือนมกราคม ปี 2004 เมืองหลวงนีวเวได้ถูกทำลายโดยพายุไซโคลนเฮตะ ระดับ 5 

7. ปานามา 

ปานามาประเทศรอยต่อระหว่างอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ โดยมีป่าฝนชุ่มฉ่ำที่ครอบคลุมพื้นที่ 65% รัฐบาลปานามามุ่งมั่นที่จะปลูกป่าเพิ่มอีก 312,500 ไร่ ภายในปี 2050

การประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ เมื่อปี 2021 ประเทศปานามาได้ร่วมมือกับประเทศซูรินาม (Suriname) และภูฏาน จัดตั้งกลุ่มพันธมิตรที่มีการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นลบ เรียกร้องให้มีการสนับสนุนการค้า การกำหนดราคาคาร์บอน และกระตุ้นให้มีความพยายามมากขึ้นในการที่จะบรรลุเป้าหมาย Net Zero หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์  ด้วยจำนวนประชากร 4.5 ล้านคน 

8. ซูรินาม 

ซูรินาม ประเทศเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ในทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ อยู่ในเขตป่าอเมซอน เป็นหนึ่งในประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้มากที่สุดในโลก มีประชากรเพียง 600,000 คน มีป่าไม้ปกคลุมถึง 93% ของพื้นที่ทั้งหมด ป่าไม้ของซูรินามดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์หลายพันล้านตันและสนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพอันอุดมสมบูรณ์  ปล่อยมลพิษที่เกิดจากมนุษย์มีเพียงภาคการผลิตไฟฟ้า เกษตรกรรม และการขนส่งของประเทศ

ที่มา weforum.org



Visitors: 1,430,142