ดีเอสไอ เผย 25 กลโกงที่โจรใช้หลอกให้ลงทุนในแชร์ลูกโซ่

ดีเอสไอ เผย 25 กลโกงที่โจรใช้หลอกให้ลงทุนในแชร์ลูกโซ่

ดีเอสไอ เผย 25 กลโกงที่โจรใช้หลอกให้ลงทุนในแชร์ลูกโซ่

กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ได้รวบรวมข้อมูลวิจัยเกี่ยวกับ 25 วิธีกลโกงของโจรออนไลน์ ที่นำมาใช้หลอกลวงให้ลงทุนในรูปแบบของแชร์ลูกโซ่แก่ประชาชน เพื่อให้รู้เท่าทันและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

จากการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับกองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ กรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงได้วิจัยและถอดรหัส 25 กลโกงแชร์ลูกโซ่แก่ประชาชนทั่วไป

 

ดีเอสไอ เผย 25 กลโกงที่โจรใช้หลอกให้ลงทุนในแชร์ลูกโซ่

 รวม 25 วิธีที่โจรออนไลน์ใช้ในการหลอกให้ลงทุนแชร์ลูกโซ่
  • หลอกให้เหยื่อเกิดความอยากได้ โดยการใช้ผลตอบแทนที่สูงเกินความเป็นจริง
  • โน้มน้าวให้รู้สึกว่า ชีวิตนี้โชคดีเหลือเกินที่ได้มาพบเจอบริษัทหรือกิจการนั้นๆ
  • สร้างภาพความรวย โชว์การใช้ชีวิตหรูหรา (กินหรูอยู่สบาย) ใช้รถหรูบ้านหรู โชว์เงินสดจำนวนมากเป็นปึกๆ
  • ใช้การสร้างภาพให้เห็นว่า บริษัทหรือกิจการนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือ เป็นอย่างมาก ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานในเวลาอันรวดเร็ว แบบก้าวกระโดดหรือแบบฉับพลัน
  • ทำให้รู้สึกหรือเข้าใจว่า เป็นการลงทุนกับบริษัทหรือกิจการที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก 
  • เชิญชวนให้เข้าร่วมงานสัมมนา แสดงว่ามีแผนธุรกิจ ที่สามารถเติบโตอย่างรวดเร็วได้กำไรงาม
  • สร้างภาพว่าเป็นกิจการที่ช่วยเหลือสังคม ได้รับรางวัลมากมาย
  • รับประกันหรือการันตี (guarantee) ว่าเมื่อลงทุนแล้วจะได้รับผลตอบแทน 100% ไม่มีการขาดทุนเด็ดขาด
  •  เชิญชวนว่าเหมาะกับคนที่ชอบทำงานสบาย งานง่ายๆ ไม่ลำบาก ไม่ยาก ทำงานได้โดยไม่กระทบต่องานประจำที่ทำอยู่ ลงทุนน้อย ได้รับผลตอบแทนสูง และได้รับแน่นอน ไม่มีความเสี่ยงใดๆทั้งสิ้น

 

ดีเอสไอ เผย 25 กลโกงที่โจรใช้หลอกให้ลงทุนในแชร์ลูกโซ่

 
  • โฆษณาว่า เป็นการทำธุรกิจแนวใหม่ หรือเป็นการลงทุนแบบใหม่ (Start Up) หรือลงทุนในสินทรัพย์/หลักทรัพย์ตัวใหม่ๆ หรือสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีความทันสมัย มีแนวโน้มมาแรง ลงทุนแล้วจะได้ผลตอบแทนสูง
  • แสดงให้เราเห็นว่า เมื่อเข้ามาเป็นสมาชิกกับบริษัทหรือกิจการของเขาแล้วจะทำให้มีชีวิตที่ดีขึ้นจากเดิม
  • จูงใจด้วยการจ่ายผลตอบแทนตามที่โฆษณาเชิญชวน ในอัตราที่สูงโดยจ่ายแค่ครั้งแรกๆ ก่อนที่จะหอบเงินเหยื่อหนีหายไป
  • อ้างว่าต้องใช้สกุลเงินดิจิทัลในการลงทุน และต้องเปิดกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ในการลงทุน สุดท้ายก็เชิดหนี
  • แอบอ้างว่า มีการจัดตั้งบริษัทหรือกิจการที่ถูกต้องตามกฎหมาย 
  •  หลอกให้โอนเงินไปลงทุน แล้วจูงใจแจ้งเราว่ารอรับผลตอบแทนอย่างเดียวไม่มีขาดทุน
  • ให้ค่าแนะนำเชิญชวนบุคคลอื่นมาเข้าร่วมในลักษณะแม่ทีมลูกทีม       
  • เชิญชวนเราไปในพื้นที่ส่วนตัว หรือในโซเชียลมีเดีย (Social Media)ส่วนตัว เพื่อชักจูงให้เราเกิดความอยากลงทุน อยากได้รับผลตอบแทนสูงๆ
  • มีการอุปโลกน์ตัวอย่างคนที่ได้รับผลตอบแทน ให้เห็นว่าได้รับผลตอบแทนสูงจริงเพื่อจูงใจ
  • เปิดให้ทุกคนเข้ามาลงทุนได้ โดยไม่มีข้อจำกัด
  • แอบอ้างว่า มีการจดทะเบียนหรือร่วมลงทุน หรือนำเงินไปลงทุนกับธุรกิจ ที่อยู่ในต่างประเทศ   
  • แสดงให้เราเห็นว่ามีบริษัท หรือกิจการในเครืออีกหลายแห่ง 
  • มีวิธีการทำให้ตรวจสอบทางการเงินไม่ได้ ทำให้เข้าใจว่าสาเหตุที่คนอื่นๆที่เข้ามาลงทุนร่ำรวยมากขึ้นเพราะเกิดจากการเข้ามาลงทุนนี้
  • อ้างว่าจะมีการนำเงินสด(เงินบาท)ของเรา ไปลงทุนหรือแลกเปลี่ยนเป็นหน่วยลงทุนที่บริษัทหรือกิจการกำหนดขึ้นมาเอง (เอาเงินจริงไปแลกเป็นเงินสมมุติที่ทางเขากำหนดขึ้นมา)
  • สร้างโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งเหมือนจริงทุกประการ มาเป็นหน้าจอแสดงผลหรือรายงานผลการลงทุน/ผลตอบแทน 
  • ให้ไปชักชวนคนใกล้ชิด หรือคนสนิทของเรา หรือในทางกลับกันอาจเป็นคนใกล้ชิดหรือคนสนิทของเรามาชวนเราให้เข้ามาลงทุนหรือให้เข้ามาติดกับดัก 

 

ที่มา : https://www.springnews.co.th/news/infographic/836773

 

 

 

Visitors: 1,405,426