การประชุม Sino-Thai Symposium ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืนจัดขึ้นท่ามกลางความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีนครบรอบ 50 ปี

“ตำราแม่ฟ้าหลวง” จากดอยตุง ขึ้นเวทีโลก ณ สิบสองปันนา ประเทศจีน สะท้อนว่าเสียงจากพื้นที่จริง กำลังกลายเป็นพิมพ์เขียวที่นานาชาติต้องการฟัง
 
ในการประชุม Sino-Thai Symposium ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืนจัดขึ้นท่ามกลางความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีนครบรอบ 50 ปี และภายใต้บทบาทของจีนในฐานะผู้นำด้าน “Nature Positive” ตัวแทนจากมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้รับเชิญขึ้นพูดในสองเวทีหลัก ท่ามกลางรัฐบาล นักวิจัย และนักเศรษฐศาสตร์ จากทั้งสองประเทศ
 
“แนวทางการจัดสรรงบประมาณ เพื่อดูแล ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยเครื่องมือ Blended Finance จากรัฐและเอกชนจะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับงานอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติได้“ คำกล่าวของคุณธานิษฏ์ กองแก้ว ผู้อำนวยการด้านความยั่งยืนของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ กล่าวในประเด็น Nature Finance
 
ในการประชุมที่เต็มไปด้วยแผนยุทธศาสตร์ ตัวเลข และคำสัญญาจากหลายภาคส่วน หนึ่งในเสียงที่ได้รับความสนใจกลับมาจากดอยเล็ก ๆ ในประเทศไทย 'ดอยตุง' ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นพื้นที่แห้งแล้งและไร้ทางเลือกของชาวบ้าน แต่วันนี้กลับกลายเป็นพื้นที่ต้นแบบของระบบเศรษฐกิจที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้จริง เพราะเริ่มจากการทำให้คน “อยู่ได้” ด้วยการใช้และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ แล้วการ“ดูแล” ป่าจึงเป็นไปอย่างสมัครใจ จากพื้นที่ป่า 28% กลายเป็น 91% ในเวลาไม่ถึง 30 ปี จนต่อยอดองค์ความรู้ไปยังอีกหลายๆป่าชุมชนทั่วประเทศ
 
เมื่อเวทีระดับภูมิภาคหันมาฟังเสียงจากพื้นที่เล็ก ๆ ในประเทศไทย เริ่มขบวนการขับเคลื่อนที่เกิดจากความร่วมมือของนักปฏิบัติการและผู้กำกับนโยบาย จะช่วยรับประกันได้ว่าคนและธรรมาติสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
 
แล้วในวันศุกร์นี้ เตรียมพบกับอีกหนึ่งเสียงจากดอยตุงของ ดร.สุภัชญา เตชะชูเชิด ผู้จัดการสิ่งแวดล้อมอาวุโส ที่จะพาเราไปต่อในเวที Whole-of-Society Governance กับคำถามใหญ่จะทำให้ทุกคนอยู่ได้พร้อมกันบนระบบทรัพยากรเดียวกันได้อย่างไร
 
 
The Mae Fah Luang "Handbook" Reaches the Global Stage at Xishuangbanna, China: Voices from the Ground Are Becoming the Blueprint the World Needs
 
At the Sino-Thai Symposium on Biodiversity Conservation and Sustainable Development—held amid the 50th anniversary of Thailand–China diplomatic ties and China's leadership in promoting a “Nature Positive” future—Mae Fah Luang Foundation's representatives were invited to speak on two key panels.
 
Highlighting the importance of Blended Finance in conservation, Thanit Kongkaew, Director of Sustainability, emphasized that joint funding from governments and the private sector can reduce risks and improve the effectiveness of natural resource restoration.
 
Amidst numbers and policy plans, one voice stood out—from a small mountain in Thailand. Doi Tung, once a barren land of lost hope, has become a model for a local economy that lives with nature: restoring forest cover from 28% to 91% in less than 30 years through empowering communities to “live with the forest.”
 
The fact that regional platforms are now listening to local action highlights a shift: sustainable development must begin with communities.
 
Stay tuned for the next story featuring Dr. Supatchaya Techachoocherd, Senior Environmental Manager, who will take us deeper into Whole-of-Society Governance and the question: how can everyone thrive together using the same resources?
 
 
Visitors: 1,517,834