8 เทรนด์การทำงาน ที่จะมาแรงในปี 2025 อนาคตขึ้นอยู่การปรับตัว !
8 เทรนด์การทำงาน ที่จะมาแรงในปี 2025 อนาคตขึ้นอยู่การปรับตัว !
8 เทรนด์การทำงาน มาแรงในปี 2025 ออฟฟิศต้องปรับตัวเพื่อดึงบุคลากรคุณภาพ มีการลงทุนให้พนักงานเรียนรู้ มีความท้าทาย เลือกทำงานจากระยะไกลได้ ในปี 2025 แนวคิดเรื่อง รูปแบบการทำงาน จะเปลี่ยนไปในทิศทางที่ยืดหยุ่นและตอบโจทย์ชีวิตสมัยใหม่มากขึ้น ผู้คนอาจเลือกงานที่ให้ความอิสระและความท้าทายมากกว่าการผูกมัดระยะยาว ขณะที่องค์กรต่างๆ ต้องปรับตัวเพื่อนำเสนอโครงการที่ดึงดูดใจเพื่อดึงดูดบุคลากรที่มีทักษะสูง นอกจากนี้ การทำงานแบบไฮบริดและการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญจะยังคงเป็นหัวใจของการเปลี่ยนแปลง องค์กรที่สามารถสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ยืดหยุ่น พร้อมกับให้คุณค่ากับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน จะเป็นผู้นำในยุคนี้ ! เบอร์นาร์ด มาร์ (Bernard Marr) นักอนาคตวิทยาที่มีชื่อเสียงระดับโลก และผู้เขียนหนังสือ Intelligence is Changing Business and Society อันโด่งดัง ได้ให้ความเห็นถึงเทรนด์การทำงานที่จะเกิดขึ้นในปีหน้าเอาไว้ 8 ข้อดังนี้
8 เทรนด์การทำงาน มาแรงในปี 20251. พัฒนาทักษะใหม่ คือกุญแจสำคัญสู่ความมั่นคงในอาชีพ เมื่อ AI เข้ามาเปลี่ยนแปลงแปลงโลกการทำงาน ความจำเป็นในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องจึงมีความสำคัญยิ่งกว่าเดิม แม้ว่าบางบทบาทงานอาจล้าสมัย แต่โอกาสใหม่ๆ กำลังเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งต้องการทักษะและความสามารถที่แปลกใหม่ องค์กรที่มีการเสนอโอกาสการเรียนรู้ให้หนักงาน จะสามารถดึงดูดบุคลากรชั้นนำได้ ในทางกลับกัน หากองค์กรที่ไม่ปรับตัวเพื่อรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิตอาจต้องตามหลัง ในปี 2025 ความสามารถในการปรับตัวและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจะเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จทั้งในระดับองค์กรและความมั่นคงในอาชีพของบุคคล 2. ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ เพื่อสมดุลที่ดี แนวคิดการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น และกำลังท้าทายองค์กรที่ยังทำงานแบบเดิมๆ คาดว่าในปี 2025 จะมีองค์กรจำนวนมากขึ้นนำรูปแบบนี้มาใช้ เนื่องจากช่วยส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน เพิ่มสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน เนื่องจากเวลาพักฟื้นที่ยาวขึ้น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ 3. เศรษฐกิจงานชั่วคราวที่หลากหลายขึ้น ระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากงานแบบครั้งคราว (Gig Economy) กำลังพัฒนาไปไกลกว่าบริการเรียกรถรับส่งหรือส่งสิ่งของ เพราะปี 2025 จะมีคนที่มีทักษะจำนวนมาก เข้ามาทำในรูปแบบนี้ เพราะมีอิสระ และมีโอกาสที่หลากหลาย งานประจำตลอดชีวิตอาจค่อยๆ เลือนหายไป เพราะคนทำงานยุคใหม่ต้องการความยืดหยุ่น และความท้าทาย รูปแบบนี้จะมีความสำคัญอย่างยิ่งในสาขาที่ขาดแคลนทักษะ เช่น บริการการดูแลสุขภาพ 4. การทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และ AI แนวคิดเกี่ยวกับ AI กำลังเปลี่ยนจากการเข้ามาแทนที่มนุษย์เป็นการเสริมศักยภาพแทน แม้ว่าบางงานอาจถูก AI แทนที่โดยสมบูรณ์ แต่บางงานเครื่องมือ AI กลับช่วยเพิ่มความสามารถให้มนุษย์ ด้วยการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประสิทธิภาพและสร้างนวัตกรรมได้มากขึ้น ซึ่ง AI จะทำไม่ได้หากไม่มี ความฉลาดทางอารมณ์ และการคิดที่ซับซ้อน ซึ่งล้วนมาจากมนุษย์ ดังนั้น การทำงานระหว่างมนุษย์และ AI จึงไม่ใช่แค่การอยู่ร่วมกัน แต่คือการปลดล็อกศักยภาพใหม่ๆ ที่น่าทึ่งอีกด้วย 5.คนเป็นผู้นำต้องเติบโต บทบาทของผู้นำ ต้องไม่ใช่แค่มอบหมายงาน แต่ต้องสร้าง ความสัมพันธ์ทางอารมณ์และส่งเสริมทีมให้ทำงานร่วมกันได้อย่างกลมเกลียว รวมถึงมีความเห็นอกเห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชา และมุ่งให้ทีมงานมีการพัฒนาทักษะอยู่เรื่อยๆ หากผู้นำมีทักษะเหล่านี้ จะเป็นที่ต้องการขององค์กร 6. ทำงานจากระยะไกล แพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ จะช่วยให้ แนวคิด "ทำงานนอกสถานที่" เป็นกระแสหลักมากขึ้น ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ทุกคนจะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยี VR Virtual Reality และ AR (Augmented reality) ยังช่วยสร้างบรรยากาศการทำงานที่เสมือนจริง เทรนด์นี้กำลังเปลี่ยนแปลงการทำงานทางไกลให้ไม่เหมือนเดิม 7. AI ในงานทรัพยากรบุคคล AI กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในงานหลัก เช่น การสรรหาบุคลากร การประเมินผลการทำงาน การสร้างความผูกพันกับพนักงาน และการพัฒนาทักษะบุคลากร เมื่อ AI เข้าจัดการงานที่ซ้ำซ้อน แผนก HR ที่จะประสบความสำเร็จในปี 2025 จะใช้ AI เข้ามาช่วยเพื่อการตัดสินใจอย่างมีความเห็นอกเห็นใจ ไม่ใช่นำ AI เข้ามาแทนมนุษย์ 8. Hybrid Working แม้หลายองค์กรจะมีความพยายามดึงพนักงานกลับมาทำงานที่ออฟฟิศอย่างเข้มงวด แต่รูปแบบการทำงานที่พนักงานสามารถเลือกทำงานได้ทั้งจากออฟฟิศอาจกลายเป็น มาตรฐานใหม่ไปแล้ว เพราะ"ความยืดหยุ่น" เป็นกุญแจสำคัญในการดึงดูดบุคลากรชั้นยอด นายจ้างที่มีวิสัยทัศน์ก้าวไกลที่นำรูปแบบใหม่นี้มาใช้ จะสร้างโอกาสให้พนักงานมีสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถรักษาความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับเพื่อนร่วมงานและวัฒนธรรมองค์กรไปด้วยได้ ที่มา : Forbs |