เส้นทางมิจฉาชีพ รู้เท่าทันสแกมเมอร์ก่อนตกเป็นเหยื่อ!
เส้นทางมิจฉาชีพ รู้เท่าทันสแกมเมอร์ก่อนตกเป็นเหยื่อ!
“น้ำตาซึม! ลุง 74 ถูกแก๊งคอลฯหลอกโอน 3.2 ล้าน” ช่วงนี้เราจะพบข่าวและบทความเตือนเรื่องการเป็นเหยื่อของแก๊งคอลเซ็นเตอร์และสแกมเมอร์อยู่เป็นประจำทุกวัน และหนึ่งในนั้นอาจจะเป็นคนใกล้ตัวของพวกเราทุกคน ที่แม้แต่เราเองที่ทำงานทางด้าน IT ยังป้องกันครอบครัวให้ถูกหลอกได้ยาก เนื้อหาในวันนี้ทีมงาน Designil (ดีไซน์นิว) จะรวบรวมประเภทของสแกมเมอร์ที่มีการหลอกลวงในรูปแบบต่าง ๆ ที่เรามักพบบ่อย ตั้งแต่การหลอกให้ชำระค่าภาษี ไปจนถึงการหลอกให้โอนเงินที่มีจำนวนเงินตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลายล้านบาทด้วยวิธีการหลอกล่อเหยื่อหลายรูปแบบ ซึ่งเราอยากให้ทุกคนรู้เท่าทันการหลอกล่อและระมัดระวังตัวก่อนจะตกเป็นผู้ประสบภัย ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มกันเลยนะคะ สแกม (Scam) คืออะไร?สแกม คือการกระทำที่เกิดขึ้นโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ใช้กลวิธีหรือเทคนิคต่าง ๆ เพื่อหลอกลวงผู้อื่น ทำให้ผู้เสียหายส่งมอบข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงิน และจะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการหลอกเอาเงินจากเรา สิ่งที่ไม่เรียกว่าสแกม– การแฮ็กคอมพิวเตอร์, อุปกรณ์หรือบัญชีของคุณเพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคล
สแกมเมอร์ (Scammer) คืออะไร?มิจฉาชีพที่หาเงินโดยใช้วิธีการที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการหลอกลวงคนอื่น เช่น การฟิชชิ่ง (Phishing) เป็นวิธีการที่สแกมเมอร์ใช้ในการหลอกลวงเอาข้อมูลของผู้อื่น เพื่อเข้าถึงข้อมูลบัญชีธนาคาร, ข้อมูลสำคัญส่วนบุคคล, ข้อมูลการรักษาพยาบาล, บัตรประชาชน, พาสปอร์ต, เลขรหัสบัตรเครดิต, และอื่น ๆ เพื่อนำไปใช้ในการโอนเงินออกจากบัญชี ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนการโอนเงินรู้หรือไม่ว่าผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการสแกม มักจะไม่ได้ตกเป็นเหยื่อแค่ครั้งเดียว ผู้เสียหาย 1 ใน 3 คนจะถูกหลอกเอาเงินมากกว่าหนึ่งครั้ง ดังนั้นหากสแกมเมอร์ได้ข้อมูลการเงิน บัญชี หรือรู้ว่าคุณมีเงินจำนวนเท่าไรแล้ว มันจะกลับมาเพื่อหลอกลวงอีกครั้ง ยกเว้นแต่คุณจะหาทางติดต่อบุคคลที่ถูกต้องเพื่อช่วยให้เงินกลับคืนมา จุดสังเกตสแกมเมอร์ (Scammer)จับไต๋มิจฉาชีพ มีจุดสังเกตอะไรบ้างที่เราต้องดูให้ดี ๆ ก่อนถูกหลอก
3 วิธีรับมือกับสแกมเมอร์1. อย่าให้เงิน หรือเปิดเผยข้อมูลทางการเงินกับใครโดยง่าย – ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม โดยส่วนใหญ่สแกมเมอร์มักจะชอบปลอมตัวเป็นคนที่เราเชื่อถือ ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร, แบรนด์สินค้า, ทหาร, ตำรวจ, องค์กร DSI, องค์กรทางการเงิน หรือแม้แต่ปลอมตัวเป็นญาติเราเอง 2. คิดทุกครั้ง – ถามตัวเองว่าข้อความนี้เป็นข้อความหลอกลวง หรือลิงก์ปลอมหรือเปล่า เช่นข้อความจากหน่วยงานราชการจะส่งข้อความแบบนี้มาหาเราทำไม ข้อความจาก Elon musk เขาจะติดต่อหาเราง่าย ๆ ได้อย่างไรในเมื่อคนบนโลกมีเป็นสิบล้าน 3. ปกป้องตัวเอง – ตั้งตัวกลับมาให้ไว เมื่อพบว่าเราถูกหลอกโดยสแกมเมอร์ รีบติดต่อธนาคารผู้ให้บริการของเราอย่างรวดเร็ว เพื่อรับความช่วยเหลือ 6 ช่องทางที่สแกมเมอร์ใช้เพื่อเข้าถึงเรา1. ผ่านทางข้อความ หรือ SMSข้อความหรือ SMS เป็นวิธีการหลอกลวงที่ถูกรายงานมากที่สุดในปีที่ผ่านมา ข้อความหลอกลวงมักจะทำให้รู้สึกกดดัน รีบเร่ง เพื่อให้เรารีบดำเนินการ สแกมเมอร์มักจะแนบลิงก์ที่นำทางไปยังเว็บไซต์หลอกลวง เพื่อให้เรากรอกข้อมูลส่วนบุคคลลงในเว็บไซต์เหล่านั้น จะได้ขโมยหรือปลอมแปลงตัวตนในการโอนเงินของเราออกไปจากบัญชีหรือกระทำการฉ้อโกงในชื่อของเราได้ เพื่อให้ข้อความเหล่านี้ดูสมจริง สแกมเมอร์จะปลอมแปลงหมายเลขโทรศัพท์และรหัส OTP (One-time Password) คนที่คุณรู้จักหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ ซึ่งข้อความหลอกลวงอาจปรากฏในสายข้อความเดียวกันกับข้อความจริงจากองค์กรก็เป็นไปได้ ทำให้ยากต่อการตรวจสอบมากขึ้นไปอีก เรียกได้ว่าพยายามปลอมแปลงกันแบบเนียนกริบเลยจริง ๆ หากเราไม่สังเกตดี ๆ ก็อาจตกเป็นเหยื่อได้อย่างง่ายดาย 2. ทางสายโทรเข้าจากโทรศัพท์มือถือ1 ใน 3 ของการโดนล่อลวงโดยมิจฉาชีพ ซึ่งถูกรายงานเข้ามามากที่สุด เกิดขึ้นจากการติดต่อทางโทรศัพท์ สแกมเมอร์จะโทรเข้ามาโดยอ้างว่ามาจากองค์กรที่มีชื่อเสียง เช่น ตำรวจ, DSI, สรรพากร รวมถึงองค์กรรัฐบาล หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย บริษัทการลงทุนและกฎหมาย ธนาคาร ผู้ให้บริการโทรคมนาคม หรือผู้ให้บริการอื่น ๆ บุคคลเหล่านี้จะกล่าวหาด้วยประเด็นเร่งด่วน เพื่อกดดันให้คุณรีบดำเนินการในทันที และพยายามโน้มน้าวคุณให้มอบข้อมูลส่วนตัวหรือรายละเอียดบัญชีธนาคาร หรือพยายามให้คุณติดตั้งแอปพลิเคชันลงในโทรศัพท์ โน้มน้าวให้กดลิงก์หรือให้สิทธิ์เข้าถึงคอมพิวเตอร์ของคุณจากระยะไกล โดยผู้โทรอาจมีรายละเอียดบางอย่างเกี่ยวกับคุณอยู่แล้ว เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เลขบัตรประชาชน หรือข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ ที่อาจจะเป็นข้อมูลที่เคยหลุดไปก่อนหน้านี้
3. ทางอีเมลสแกมเมอร์ส่วนใหญ่จะส่งอีเมลที่อ้างว่าเป็นเรื่อง “ด่วน” โดยแกล้งทำเป็นว่ามาจากรัฐบาล หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย หรือองค์กรทางธุรกิจต่าง ๆ ลักษณะคือจะปลอมแปลงอีเมล เอกสารโดยใช้โลโก้เดียวกันและที่อยู่อีเมลที่คล้ายคลึงกับขององค์กรจริง นอกจากนี้ยังสามารถคัดลอกหรือ “ปลอม” ที่อยู่อีเมลขององค์กรหรือธุรกิจเพื่อทำให้อีเมลหลอกลวงดูเหมือนจริงยิ่งขึ้น 4. ทางโซเชียลมีเดีย (Social Media) ช่องทางต่างๆแกมเมอร์จะสร้างโปรไฟล์ปลอมบนโซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์มส่งข้อความ และแอปฯ ต่าง ๆ โดยจะแกล้งทำเป็นว่ามาจากรัฐบาล องค์กรธุรกิจจริง นายจ้าง บริษัทลงทุน หรือแม้แต่เพื่อน สมาชิกครอบครัว หรือคนรัก ตัวอย่างเช่น:
สแกมเมอร์ยังสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับคุณจากเรื่องราวที่คุณแชร์บนโซเชียลมีเดียของคุณได้ด้วย พวกเขาจะสร้างแบบทดสอบหรือเกมง่าย ๆ มาให้คุณเล่นเพื่อหลอกขอสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของคุณบนโลกโซเชียล อาทิ ชื่อ นามสกุล เบอร์โทร. อีเมล รูปถ่าย คลิปวิดีโอ และรายชื่อผู้ติดต่อหรือเพื่อนของคุณบนโซเชียลมีเดีย หรือสร้างโพสต์ที่ออกแบบมาเพื่อหลอกให้คุณแชร์ข้อมูลส่วนตัว มิจฉาชีพจะใช้ข้อมูลนี้เพื่อเดารหัสผ่านบัญชีของคุณ หรือนำข้อมูลจากทางโซเชียลมีเดียไปใช้หลอกลวงด้วยวิธีการอื่น ๆ อีกมากมาย 5. ทางเว็บไซต์สแกมเมอร์จะสร้างเว็บไซต์ปลอม ๆ ให้ดูเหมือนแบรนด์สินค้าที่มีชื่อเสียงและเสนอโปรโมชันที่ดึงดูใจ หรือแอบอ้างเป็นคนดังที่มีชื่อเสียงมากแนะนำสินค้าหรือบริการต่าง ๆ โดยใช้รีวิวปลอมเพื่อทำให้คุณไว้วางใจ นอกจากนี้ยังมีแบนเนอร์โฆษณา หน้าต่างป๊อปอัปแจ้งเตือน หรือข้อความแสดงข้อผิดพลาดปลอม ๆ ที่สามารถกดดันให้คุณกรอกข้อมูลส่วนตัวได้ รวมถึงยังมีการยิง ads หรือโฆษณาปลอมผ่านทางเว็บไซต์ Google หรือโซเชียลมีเดีย เพื่อหลอกล่อให้คุณมาลงทุน ซื้อสินค้าหรือบริการปลอม ๆ หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีส่วนบุคคลได้ด้วย 6. การหลอกลวงแบบเข้าถึงตัวบุคคลสแกมเมอร์อาจจะมาเคาะประตูบ้านคุณหรือเข้าหาคุณในที่สาธารณะและขอให้คุณทำบางอย่าง พวกเขาอาจจะ:
7 ประเภทหลักของสแกมหากรู้ตัวว่าโดนหลอกแล้ว จะทำอย่างไร?1. ยอมรับว่าตัวเองตกเป็นผู้เสียหาย และรีบติดต่อผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับเราทันที เพื่อขอรับความช่วยเหลือ 2. ติดต่อธนาคารตามเบอร์สายด่วนของแต่ละธนาคาร และติดต่อตำรวจไซเบอร์ที่เบอร์ 1441 เพื่อขอความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน อย่าเชื่อสแกมเมอร์ที่ปลอมตัวมาเป็นตำรวจและธนาคารที่โทรเข้ามาหาเราโดยเด็ดขาด ให้เลือกติดต่อช่องทางโดยตรงเท่านั้น โดยเราต้องเป็นผู้ติดต่อและแจ้งความด้วยตนเอง ขั้นตอนการติดต่อธนาคารหากตกเป็นเหยื่อ
แจ้งความออนไลน์ คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีรู้หรือไม่ว่าผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการสแกมมักจะไม่ได้ตกเป็นเหยื่อแค่เพียงครั้งเดียว ผู้เสียหาย 1 ใน 3 คนจะถูกหลอกเอาเงินมากกว่าหนึ่งครั้ง ดังนั้นหากสแกมเมอร์ได้ข้อมูลการเงิน บัญชี หรือรู้ว่าคุณมีเงินจำนวนเท่าไรแล้ว มันจะกลับมาหลอกคุณอีกครั้ง ยกเว้นแต่คุณจะหาทางติดต่อบุคคลที่ถูกต้องเพื่อช่วยให้เงินกลับคืนมา รีบตั้งสติถ้าตกเป็นเหยื่อ เตรียมตัวหาข้อมูลให้พร้อมเพื่อเรียกร้องสิทธิ์ของเรากลับคืนมา ปัจจุบันมิจฉาชีพมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การหลอกลวงเริ่มมีความแนบเนียนกว่าที่เราคาดคิด ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะเห็นคดีความเกี่ยวกับมิจฉาชีพเยอะมากขึ้น หวังว่าบทความนี้จะทำให้ทุกคนได้ระมัดระวังและเตรียมพร้อมตั้งรับมือกับมิจฉาชีพ สามารถป้องกัน แก้ไข และดูแลตัวเองได้ แล้วกลับมาเจอกันใหม่กับบทความดี ๆ จาก Designil (ดีไซน์นิว) นะคะ ^_^ ขอบคุณข้อมูลจาก
ที่มา : https://www.designil.com/what-is-scams/
|