Carbon as collective language : toward carbon neutrality

     
 
    วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ร่วมเป็นวิทยากรเสวนาในงาน สถาปนิก’67 หัวข้อ “Carbon as collective language: toward carbon neutrality” โดยได้กล่าวถึงภาพรวมสถานการณ์ก๊าซเรือนกระจกในประเทศ เทียบกับสถานการณ์ภาพรวมของภูมิภาคและโลก รวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง สร้างความเข้าใจและกระตุ้นให้เกิดแนวคิดเพื่อมุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับสถาปนิก นักพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ รวมถึง องค์ประกอบและสัดส่วนพื้นที่สีเขียว การใช้ประโยชน์ที่ดิน ความสำคัญของการกักเก็บคาร์บอนจากการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ... และสุดท้ายกล่าวถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมก่อสร้างเพื่อเกื้อหนุน หรือ Incentive ภาคเอกชน ที่ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
 
    นอกจากจากนี้ในการเสวนา มล.ดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ได้กล่าวถึง โครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมและชุมชน ดร.จิตพัต ฉอเรืองวิวัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน กล่าวถึงนวัตกรรมการลดคาร์บอน คุณสาริษฐ์ ไตรโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายสื่อสารองค์กรและแบรนด์ดิ้ง บมจ.เฟรเซอร์ส พร๊อพเพอร์ตี้ ได้ยกตัวอย่างโครงการชั้นนำของเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ที่โดดเด่นด้านความยั่งยืนในนวัตกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน และคุณไพทยา บัญชากิติคุณ คณะกรรมการผู้จัดการบริษัทอะตอม ดีไซเนอร์ จำกัด กล่าวถึงการออกแบบพัฒนาโครงการพัฒนาเมืองให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยเน้นในเรื่องการมิตรกับสิ่งแวดล้อม และพื้นที่สีเขียวในเมือง
 
    งานเสวนานี้จัดขึ้น ณ เวทีกลางของงานสถาปนิก’ 67 อิมแพ็คเมืองทองธานี โดย สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมและค้นหาแนวทางการพัฒนาโครงการภูมิสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์เมือง ให้ไปสู่สภาวะความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งมีผลเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมสรรสร้าง (Built Environment) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมฟังการเสวนากว่า 150 คน
 
"ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน"
 
   
 
   "ความหลากหลายทางชีวภาพกำลังจะเป็นโจทย์ใหม่และโจทย์ใหญ่ของทุกคน เมื่อเราปลูกป่าใหม่ ต้องใช้เวลาประมาณ 60-80 ปีกว่านก แมลง สัตว์ใหญ่จะกลับมา และมีความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะฉะนั้นหลังจากเริ่มปลูกป่า ต้องมีกระบวนการดูแลป่าเพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ ส่วนตัวผมให้ความสำคัญกับความหลากหลายทางชีวภาพมากกว่าคาร์บอนเครดิต เพราะคาร์บอนเครดิตคือป่า แต่ความหลากหลายทางชีวภาพ คือ ป่า น้ำ แมลง ระบบที่ทำให้เรามีชีวิตรอด"
 
    "ถ้าจะแก้ปัญหาโลกร้อน ต้องแก้ที่พฤติกรรม เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอะไรได้บ้าง ตัวอย่างที่ทำได้ง่ายๆ เช่น ถ้าเราเปิด-ปิดแอร์เร็วขึ้นครั้งละ 1 ชั่วโมง ไม่อาบน้ำอุ่นช่วงหน้าร้อน หรือเปลี่ยนจากนั่งรถเป็นเดินในระยะที่ทำได้ ถ้าเราทำคนเดียวอาจจะได้วันละ 3 กิโลเมตร แต่ถ้าหนึ่งล้านคนร่วมกันทำ ก็คิดเป็น 3,000,000 กิโลเมตรแล้ว ถ้าทุกคนร่วมมือกันเป็นการหยอดกระปุกและช่วยยืดเวลาให้โลกได้”
ข้อคิดจากหม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ในกิจกรรมเสวนา เรื่อง Carbon as Collective Language: Toward Carbon Neutrality ในงานสถาปนิก ‘67 วันนี้
 
ชมย้อนหลังได้ที่ https://fb.watch/rQfpEsLPjG/? นะคะ
ขอขอบคุณ TALA Thai Association of Landscape Architects ที่จัดงานเสวนานี้ขึ้นเพื่อช่วยกันสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นในการดูแลโลกใบนี้ค่ะ
 
Visitors: 1,430,481