รู้จัก Stripe ระบบรับชำระเงิน ที่ประกาศเป็นคู่แข่ง PayPal
รู้จัก Stripe ระบบรับชำระเงิน ที่ประกาศเป็นคู่แข่ง PayPal
หนึ่งในรูปแบบการชำระเงินออนไลน์ ที่นิยมในอเมริกา นอกจาก Paypal ของอีลอน มัสก์ ก็มี Stripe ที่เป็นอีกหนึ่งคู่แข่งที่มาแรงในธุรกิจนี้ และขยายธุรกิจมาให้บริการลูกค้าในไทยแล้ว เกริ่นถึงรูปแบบการชำระเงินออนไลน์หรือ Payment Gateway กันก่อน สำหรับเพย์เมนต์เกตเวย์ คือ เทคโนโลยีที่รวบรวมและถ่ายโอนข้อมูลการชำระเงินจากลูกค้าไปสู่ผู้ขาย มีผู้ให้บริการเป็นตัวกลางระหว่างลูกค้า กับธนาคาร/สถาบันทางการเงิน โดยจะมี 2 รูปแบบ คือ
ทางด้านของ Stripe นั้น คือ ระบบตัวกลางที่ไว้ใช้รับเงินจากลูกค้าผ่านบัตรเครดิต เช่นเดียวกับ Paypal แต่จะมีโค้ดไว้ให้คัดลอกเพื่อเชื่อมต่อกับระบบของ Stripe ผ่าน API เพื่อไปแปะตามแอปหรือแพลตฟอร์มเพื่อเก็บเงินก่อนเข้าใช้บริการหรือซื้อสินค้าบนอีคอมเมิร์ซต่างๆ ก็ได้ คุณศริตา ซิงห์ (Sarita Singh) กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และ และอินเดีย ของ Stripe เล่าว่า ธุรกิจยุคใหม่มีรูปแบบการค้าทางดิจิทัลกว่า 84% โดยธุรกิจที่ทำการสำรวจ ได้ขายสินค้าและบริการในหลายประเทศ นอกจากนี้ ธุรกิจส่วนใหญ่กว่า 66% ยังเตรียมพร้อมที่จะขยายสินค้าและบริการไปสู่ประเทศใหม่ ๆ ในอีกสองปีข้างหน้า แบรนด์ต่างชาติ เตรียมบุกเอเชียมากขึ้นStripe ได้ทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มและธุรกิจหลายประเทศ ในหลายประเทศ เช่น ไทยก็มีบริษัทค้าปลีกแฟชั่นอย่าง จิม ทอมป์สัน (Jim Thompson) ที่ใช้ระบบ Payment Gateway ของบริษัทในการเป็นช่องทางดิจิทัล เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าอายุน้อยที่อยู่ในหลายประเทศ ให้เข้ามาเลือกซื้อแบรนด์เพื่อใช้สำหรับตนเอง รวมทั้งจับกลุ่มลูกค้าที่อายุน้อยลง เพราะภาพลักษณ์ของจิม ทอมป์สันในสายตาทั่วโลกคือสำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน รวมทั้งเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อเจาะกลุ่มสินค้า luxury ระดับนานาชาติ การใช้ระบบของ Stripe ก็เพื่อลดปัญหาความล้มเหลวในการชำระเงินออนไลน์ อัตราการยกเลิกสินค้าในรถเข็นที่เลือกไว้ และการร้องเรียนจากลูกค้า เป็นต้น ความร่วมมือกับระบบแพลตฟอร์มต่างๆแม้ว่าแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์มจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่แพลตฟอร์มและตลาดดิจิทัลกำลังกลายเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจโดยรวมมากขึ้น ในประเทศไทยแพลตฟอร์มอย่าง Baania และ FlowAccount ได้ทำงานร่วมกับ Stripe เพื่อเพิ่มความสามารถที่หลากหลายและสร้างการเติบโตในเศรษฐกิจดิจิทัล จากการวิจัยในกลุ่มอุตสาหกรรมพบว่าภายในปี 2573 แพลตฟอร์มดิจิทัลจะมีส่วนช่วยด้านการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกมากกว่า 30% หรือประมาณ 60 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แพลตฟอร์มอย่าง Agoda, tiket.com และผู้ให้บริการด้านการจองที่พักและบริการด้านการท่องเที่ยวออนไลน์ (OTA) รายอื่น ๆ ได้พลิกโฉมรูปแบบการเป็นตัวแทนบริการจองแบบเดิมโดย Stripe ได้ร่วมมือกับ tiket.com เพื่อเปิดตัวฟีเจอร์การจองบริการต่างๆ ในหลายสกุลเงิน เพื่อช่วยประหยัดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเมื่อจองที่พัก เที่ยวบิน และสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ หรืออย่างเช่นในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่การให้บริการซ่อมบำรุงรถยนต์มีความซับซ้อนมากขึ้น Toyota ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น ได้ร่วมมือกับ Stripe เพื่อเปิดตัวแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ร้านซ่อมรถยนต์ต่างๆ สามารถแบ่งปันและนำอุปกรณ์ชิ้นส่วนอะไหล่ที่มีความเฉพาะเจาะจงและจำเป็นสำหรับให้การบริการรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ กลับมาใช้ซ้ำได้ เพื่อช่วยบรรเทาภาระของร้านซ่อมรถยนต์ และลดการปล่อยคาร์บอนได้ในเวลาเดียวกัน โอกาสการโอนเงินข้ามประเทศแบบไร้พรมแดนหนึ่งในปัญหาการโอนเงินข้ามประเทศจะมีในเรื่องของค่าใช้จ่ายแฝงจากการใช้บริการแพลตฟอร์มต่างๆ Stripe เข้ามาช่วยในเรื่องของการขึ้นทะเบียนผู้เสียภาษี, คำนวณค่าใช้จ่ายทางภาษีสำหรับจัดเก็บส่งภาครัฐ และ ส่งแบบภาษีให้ภาครัฐ ซึ่งเป็นบริการใหม่ที่จะออกในภายช่วงปลายปีนี้ ซึ่ง Stripe ถือว่าช่วยเป็นตัวกลางในการบริหารจัดการภาษีสำหรับธุรกิจที่ต้องมีการโอนเงินข้ามประเทศ ทำให้รูปแบบการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นขึ้น โซลูชั่นของ Stripe ธุรกิจต่าง ๆ สามารถรับการชำระเงินจากลูกค้าต่างประเทศในสกุลเงินมากกว่า 135 สกุลเงิน ขณะเดียวกันก็ได้รับประกันถึงการปฏิบัติตามข้อบังคับต่าง ๆ อย่างถูกต้องและการป้องกันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตในระดับสูงสุด รวมทั้งยังนำเสนอแพลตฟอร์มที่รวมบริการครบในหนึ่งเดียวรองรับวิธีการชำระเงินได้หลายรูปแบบ เช่น พร้อมเพย์ (PromptPay) ไปจนถึงการชำระเงินด้วยบัตรจากทั่วโลก และกระเป๋าเงินเงินดิจิทัลวอลเล็ตแบบต่าง ๆ
ที่มา https://www.springnews.co.th/digital-tech/849748
|