รู้จักนวัตกรรมพัดลมไฟฟ้าเครื่องแรกของโลก จาก ชูเลอร์ วีเลอร์
รู้จักนวัตกรรมพัดลมไฟฟ้าเครื่องแรกของโลก จาก ชูเลอร์ วีเลอร์
ทำความรู้จัก นวัตกรรมพัดลมไฟฟ้าเครื่องแรกของโลก จาก ชูเลอร์ วีเลอร์ , นี่คือสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก ใน เวลาที่เราต้องเจอกับอากาศร้อนทุกข์ทนทรมานแบบนี้ สำหรับพัดลมถือเป็นเครื่องมือคลายร้อน ที่ทุกคนจับต้องได้ ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ กับ โลก มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน จนโลกออนไลน์มาเปรียบเทียบว่า ทั้ง 2 สิ่ง กำลังผูกความรักต่อกันอย่างไม่อาจแยกได้ , แต่ผลจากการที่ ทั้งพระอาทิตย์กับโลก แนบชิดใกล้กันในความสัมพันธ์แบบนี้ ผลร้ายก็ตกอยู่กับพวกเรา เหล่ามนุษย์ที่อาศัยอยู่บนโลก , โดยเฉพาะพวกที่อยู่แถวแทบเส้นศูนย์สูตร อย่างประเทศไทย ที่ต้องทนร้อน ต้องทุกข์ทรมานกับแดดที่แผดเผา ราวกับซ้อมตกนรกอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน โดยหากจะย้อนเข็มนาฬิกากลับไปที่ต้นกำเนิดของ การเกิด พัดลม นั้น , พัดลม ในความหมายของการให้ลมคลายความร้อนตามธรรมชาตินั้น มีมาเป็นเวลา กว่าพันปีที่แล้ว แต่กว่าที่โลกของเรา จะมีพัดลมไฟฟ้าที่ใช้งานได้อย่างสะดวกจริงๆ ก็ปาไปถึงปี 1882 หรือเมื่อราวๆ 142 ปีที่แล้ว
โดย ชูเลอร์ วีเลอร์ Schuyler Wheeler วิศวกรชาวอเมริกัน เป็นคนรีดมันสมองและคิดมันออกมา โดยดีไซน์แรกๆ ที่ออกมานั้นมีเพียง 2 ใบพัด ส่วนในแง่นวัตกรรมพัดลม ณ เวลานั้น จะมีมอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน แต่ไม่มีตะแกรงครอบเพื่อความปลอดภัย จากนั้น ในปี1892 หรืออีก 10 ปีต่อมา ฟิลิป ดีลห์ Philip Diehl ได้ทำการจดสิทธิบัตรพัดลมไฟฟ้าโดยพัดลมของเขาจะใช้ไฟฟ้าโดยไมมีเครื่องยนต์ และตั้งแต่นั้นมาพัดลมก็เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมาขึ้นจนปัจจุบัน ก่อนที่ ในยุคต่อๆ มา จะมีการพัฒนาของพัดลมไฟฟ้าให้เหมาะแก่การใช้งานมากขึ้น มีการออกแบบทั้งแบบตั้งโต๊ะ ตั้งพื้น หรือติดเพดาน เรียกได้ว่า พัดลมเป็นสิ่งคลายร้อนแบบง่ายฉบับกระเป๋า พกพาไปไหนก็ได้
โดยใช้พลังไฟฟ้าจากมอเตอร์ไฟฟ้า และใบพัดที่ที่จะต้องทำงานควบคู่กันเสมอ สามารถปรับระดับความแรงได้หลากหลายระดับ (โดยส่วนมากจะมี 3 ระดับขั้นต่ำ หรืออาจจะมากกว่านั้น) สำหรับ ปัจจุบัน พัดลม เป็นเทคโนโลยี คลายความร้อนที่มีการเปลี่ยนแปลงจากอดีต , เราใช้รีโมตสั่งการยังได้ , หรือจะใช้แบบสไตล์บ้านๆ ใช้ปลายนิ้วเท้ากดเบอร์พัดลมได้ , หรือ อาจจะล้ำยุคหน่อย อย่าง พัดลมไร้ใบพัด (Bladeless Fan) ซึ่งเป็นความแตกต่างจากที่เคยรู้จัก ด้วยระบบการทำงานที่มอเตอร์จะดูดอากาศเข้าไปในเครื่อง และถูกดูดเร่งผ่านช่องวงแหวนที่อยู่ภายในหัวจ่ายลม กลายเป็นกระแสลมพ่นออกจากหัวจ่ายลมที่มีลักษณะเป็นช่องวงแหวน จึงไม่จำเป็นต้องมีตะแกรงป้องกันใบพัด สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยและทำความสะอาดได้ง่าย ที่มา : tme.eu https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/849399
|