22 มีนาคม วันน้ำโลก แต่คนรวยกำลังแย่งน้ำจากคนจน
22 มีนาคม วันน้ำโลก แต่คนรวยกำลังแย่งน้ำจากคนจน
ปัญหา Climate Change ทำให้หลาย ๆ ประเทศกำลังประสบกับภัยแล้งอย่างหนัก ซึ่งแน่นอนว่าคนที่มีกำลังทรัพย์ก็สามารถเข้าถึงน้ำได้มากกว่าคนที่กระเป๋าเบา ส่อให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำได้อย่างชัดเจน 22 มีนาคม วันน้ำโลกวันที่ 22 มีนาคมของทุกปีเป็นวันน้ำโลก (World Water Day) แต่หน่วยงานระหว่างประเทศกลับออกมาเตือนว่า ในเวลานี้มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆที่จะเกิดความขัดแย้งในการแย่งแหล่งน้ำ เนื่องจากปัญหา Climate Change ทำให้เกิดภัยแล้งตามมา และบรรดาบริษัทที่ร่ำรวยหรือประเทศที่ร่ำรวยกว่าก็กำลังแย่งน้ำจากภูมิภาคที่ยากจน
สำนักข่าว Voice of America รายงานอ้างอิงคำเตือนของสหประชาชาติว่า สถานการณ์ตึงเครียดจากปัญหาเรื่องน้ำอาจเกิดขึ้นได้ระหว่างชุมชนและประเทศ เมื่อแหล่งน้ำลดลงหรือสกปรก หรือเมื่อผู้คนไม่เท่าเทียมกันและไม่สามารถเข้าถึงได้ โดยในเวลานี้ มีประชาชนกว่า 3 พันล้านคนทั่วโลกที่ต้องพึ่งพาน้ำจากประเทศอื่น แต่มีเพียง 24 ประเทศทั่วโลกเท่านั้นที่มีข้อตกลงร่วมกันในการแบ่งปันน้ำ
ขณะที่ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทำให้เกิดผลกระทบด้านแหล่งน้ำเพิ่มขึ้น และจำนวนประชากรโลกก็เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นเร่งด่วน ทั้งจากภายในและระหว่างประเทศ เพื่อร่วมมือร่วมใจกันปกป้องและอนุรักษ์แหล่งทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดอย่างเช่นน้ำ ปลาใหญ่แย่งน้ำปลาเล็กรายงานระบุว่า ในเมืองใหญ่อย่างนครโจฮันเนสเบิร์กของประเทศแอฟริกาใต้ น้ำประปาไม่ไหลมาหลายสัปดาห์แล้ว ขณะที่เมืองโซเวโต ประชาชนหลายพันคนต้องเข้าแถวเพื่อรอรับน้ำจากรถน้ำ ที่ต้องไปบรรทุกน้ำมาจากนอกเมือง
ด้านอ็อกซ์แฟม องค์การนอกภาครัฐที่ไม่แสวงหาผลกำไรเผยแพร่รายงานเมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา กล่าวหาว่า ในเวลานี้บรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่ร่ำรวยหลายแห่งกำลังแย่งน้ำจากประเทศที่ยากจนกว่า โดยภาคเอกชนกำลังแย่งหรือทำให้แหล่งน้ำสกปรก เพียงเพื่อผลประโยชน์และเม็ดเงิน ซึ่งนั่นทำให้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ภัยแล้ง ซึ่งเกิดจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ก็ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตร ดังนั้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆซึ่งพึ่งพาการเกษตรก็ได้รับผลกระทบ และยิ่งไปทำให้ปัญหาความยากจน ความไม่มั่นคงทางอาหารและปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแทบทางตอนใต้ของโลก
อ็อกซ์แฟมยังเตือนด้วยว่า ในบางประเทศ บริษัทยักษ์ใหญ่ได้รับอนุญาตให้นำน้ำไปใช้ ทั้งที่ชาวบ้านท้องถิ่นต้องเผชิญกับข้อจำกัดในการใช้น้ำ
ที่มา: VOA https://www.springnews.co.th/keep-the-world/climate-change/848841 |