พายุสุริยะ คืออะไร นาซาสั่งจับตาส่อเกิด อินเทอร์เน็ตล่ม ทั่วโลกปี 2025

5 ปรากฏการณ์สะเทือนโลก พายุสุริยะ ปี 2567 เร็วแรงกระทบไทย

 

พายุสุริยะปี 2567 คาดรุนแรงหนักในรอบ 11 ปี จับตาปรากฏการณ์แบบวันต่อวัน หากเกิดขึ้นมีผลกระทบต่อดาวเทียมไทย และระบบสื่อสารภายในประเทศ ย้ำปีหน้าไทยมีระบบเตือน แต่อยากให้ติดตามใกล้ชิด

ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ GISTDA กล่าวว่า ในปี 2567 มีการคาดการณ์ผลกระทบจากพายุสุริยะจะมีความรุนแรงมากขึ้นในรอบ 11 ปี โดยสภาพอวกาศนี้ จะมีความรุนแรงแปรผันตามรอบของวัฏจักรสุริยะ ซึ่งมีวงรอบหมุนกลับมาทุก 11 ปี และเนื่องจากปี 2567 ถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นช่วงสูงสุด จะมาถึงไวกว่าที่หน่วยงานการบริหารจัดการมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ ของสหรัฐอเมริกาหรือ NOAA (National Oceanic and Atmospheric Administration) เคยคาดการณ์ไว้ กล่าวคือมีความน่าจะเป็นที่อาจจะเกิดได้มากและรุนแรง

 

"สภาพอวกาศ หรือ Space weather ได้รับอิทธิพลจากดวงอาทิตย์ เช่น การส่งเปลวสุริยะมายังโลก หากเกิดการระเบิดที่รุนแรงจากดวงอาทิตย์อาจส่งผลเป็นพายุสุริยะได้ ถัดมาคือลมสุริยะ หากลมสุริยะมีความเร็วสูง และมีทิศทางที่เชื่อมต่อกับสนามแม่เหล็กของโลกได้นั้นอาจก่อให้เกิดพายุสนามแม่เหล็กโลก รวมไปทั้งการระเบิดจากมวลโคโรนาของดวงอาทิตย์ มีผลกระทบหลายอย่างต่อเทคโนโลยี ระบบการสื่อสาร และแม้กระทั่งสุขภาพของมนุษย์"  

...

 

ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ไทยควรเฝ้าระวังคือ 1. รบกวนการทำงานของดาวเทียมของไทย ที่โคจรอยู่ในอวกาศ และระบบการสื่อสารบนโลก เนื่องจากอนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์สามารถสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของดาวเทียม ส่งผลให้เกิดการทำงานผิดปกติชั่วคราวหรือถาวร

 

2. การส่งกำลังฟ้าจากโรงไฟฟ้ามีปัญหา เนื่องมาจากพายุสนามแม่เหล็กโลก เกิดจากลมสุริยะ ซึ่งสามารถเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าในระบบนำส่งไฟฟ้าบนโลกได้ สิ่งนี้อาจทำให้หม้อแปลงและส่วนประกอบอื่นๆ ของระบบส่งกำลังเสียหายได้ โดยพายุสนามแม่เหล็กโลกที่มีความรุนแรงสูงนั้นมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างและยาวนานได้

3. ความเสี่ยงด้านการบิน การบินในพื้นที่ละติจูดสูง (High latitude) โดยเฉพาะเที่ยวบินที่อยู่ใกล้บริเวณขั้วโลก อาจต้องเผชิญกับระดับรังสีที่เพิ่มขึ้นระหว่างพายุแม่เหล็กโลก

4. ความเสี่ยงเรื่องสุขภาพของมนุษย์ นักบินอวกาศในอวกาศหรือสถานีอวกาศ ต้องเผชิญกับรังสีคอสมิกในระดับที่สูงขึ้นในช่วงเวลาที่มี Solar activity เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพในระยะยาว รวมถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคมะเร็ง โดยลูกเรือและผู้โดยสารบนเครื่องบินในพื้นที่สูง และบนเที่ยวบินที่ทำการบินผ่านขั้วโลกอาจต้องเผชิญกับระดับรังสีที่สูงขึ้นในระหว่างที่เกิดพายุสนามแม่เหล็กโลก

 

5. ผิดปกติของปริมาณอิเล็กตรอนในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ และการรบกวนของชั้นบรรยากาศดังกล่าว อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดในระบบนำทางด้วยระบบ GNSS ซึ่งอาจส่งผลต่อความแม่นยำในการนำทางและเวลา ส่งผลกระทบต่อภาคส่วนต่างๆ เช่น การบิน การขนส่ง และการสำรวจ

ขณะนี้หน่วยงานอวกาศและองค์กรต่างๆ ทั่วโลก ได้ทำงานร่วมกัน ในการติดตามและคาดการณ์เหตุการณ์สภาพอวกาศ Space weather เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และพยายามพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า และมาตรการป้องกันเพื่อปกป้องเทคโนโลยี (safeguard technology) โครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) และกิจกรรมของมนุษย์จากผลกระทบของสภาพอวกาศหรือ Space weather

 

...

 

ที่สำคัญ สิ่งที่ประชาชนควรทราบคือการมีความตระหนักรู้ แต่ไม่ตื่นตระหนกกับสิ่งที่เกิดขึ้น ความน่าจะเป็นการเกิดพายุสุริยะ หรือลมสุริยะ ในครั้งนี้เป็นเพียงแค่การคาดการณ์จากเกิดในรอบ 11 ปี ในแต่ละครั้งที่ผ่านมา เราไม่อาจจะรับรู้ถึงระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้ แต่การรับมือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และหมั่นติดตามข่าวสาร เกี่ยวกับสภาพอวกาศ เพื่อที่เราจะได้เข้าใจและรู้เท่าทันเหตุการณ์.

 

 

ที่มา : https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2748344

 

 

 

Visitors: 1,405,615