5 เรื่องเด่น ปัญหาสิ่งแวดล้อมประเทศไทย ปี2566
5 เรื่องเด่น ปัญหาสิ่งแวดล้อมประเทศไทย ปี2566เนื่องในวันที่ 4 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย Keep The World ชวนย้อนดูเหตุการณ์สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ประจำปี 2566 ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง?เนื่องในวันที่ 4 ธันวาคมเป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย Keep The World จึงชวนมาย้อนร้อยประเด็นเด่นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ว่าในปี 2566 บ้านเราเกิดอะไรขึ้นบ้าง?
สมุทรปราการเมืองอากาศดี 0 วัน ปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่ยังไม่มีวี่แววจะคลี่คลายไม่ต้องถาม คนไทยก็รู้อยู่เต็มอกว่าสภาพอากาศเมืองไทยเป็นอย่างไร ในช่วงเข้าสู่ฤดูหนาว ปริมาณค่าฝุ่น PM2.5 จะพุ่งสูงขึ้นหลายพื้นที่ทั่วไทย หลายวันที่สภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์อันตรายต่อสุขภาพ จนล่าสุด เว็บไซต์ต่างประเทศ House Fresh จัดอันดับให้จังหวัดสมุทรปราการติดโผ เมืองที่อากาศดี 0 วัน หรือ ไม่มีวันไหนใน 365 วันที่มีอากาศดีเลย จากการวิเคราะห์ดัชนีคุณภาพอากาศโลก (World Air Quality Index) แต่หากมองจากประสบการณ์คนไทย ปัญหานี้เป็นกันเกือบทุกจังหวัดแล้ว โดยเฉพาะภาคเหนือที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย อีกทั้ง หลายปีที่ผ่านมา มีผู้คนเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากมีอาการเจ็บป่วยจากพิษฝุ่นควันจำนวนมาก นั่นจึงเป็นเหตุผลให้เราต้องมาทวงสิทธิอากาศสะอาด
เมื่อเร็ว ๆ นี้อาจจะมีข่าวดีอยู่บ้าง เพราะค.ร.ม.ลงมติอนุมัติรับร่างพ.ร.บ.การจัดการเพื่ออากาศ พ.ศ. ... ไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งกว่าจะผ่านก็ผ่านเศษซากความหวังของประชาชนมานานหลายปี ย้อนกลับไปยังการตอบคำถามของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่ามกลางปัญหาหมอกควันที่รุนแรงในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ ได้ตอบสื่อมวลชนว่า
ประชาชนโดยเฉพาะในจังหวัดภาคเหนือรวมตัวกันส่งเสียงถึงปัญหาหมอกควันที่ทำให้สุขภาพของคนในพื้นที่ย่ำแย่ลงเรื่อย ๆ ด้วยการเร่งให้รัฐบาลรับร่างพ.ร.บ.กำกับดูแลอากาศสะอาดฯ ฉบับประชาชน แต่ก็ถูกตีตกมาเรื่อย ๆ ด้วยเหตุผลว่า มีความขัดแย้งกับ พ.ร.บ.การเงินฯ หากอยากตามต่อเรื่องนี้ ติดตามต่อได้ที่ >>> 'พ.ร.บ.อากาศสะอาด' กว่าคนไทยจะมีอากาศที่ดี ทำไมถึงยากเย็นแสนเข็ญ? ทะเลศรีราชา กลายเป็น Dead Zone ทำปลาตายเกลื่อนนับแสนอีกหนึ่งเรื่องราวที่ดูเหมือนเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ แต่ก็เป็นปรากฏการณ์ที่หนักหน่วงทีเดียว และเบื้องหลังของเหตุการณ์แท้จริงแล้วถูกกระตุ้นจากภาวะโลกร้อน เมื่อเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ปี2566 ทะเลไทย โดยเฉพาะทะเลศรีราชา จ.ชลบุรี เผชิญหน้าหลายเหตุการณ์มาก ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันดิบรั่วไหล ปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูมทำทะเลศรีราชากลายเป็น Dead Zone หรือพื้นที่ไร้ออกซิเจน ทำให้ปลาตายเกลื่อนหาดนับแสนตัว นี่ยังไม่นับรวมกับประเพณีลอยกระทงล่าสุด ที่ขยะกระทงเกลื่อนหาดหลายแห่ง
ปัญหาทะเลมีมากไม่ต่างกับบนบก และถือว่ากิจกรรมของมนุษย์ล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น และเมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ก็ย่อมกระทบต่อห่วงโซ่ของระบบนิเวศและการใช้ชีวิตของมนุษย์เราเองด้วย ทั้งในเรื่องของการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และระยะเวลาที่ใช้ในการฟื้นฟูทะเล
ภูเขาขยะแพรกษา วิวภูเขาที่มองยังไงก็ไม่เห็นสบายตาสักทีจริง ๆ แล้ว ประเทศไทยมีภูเขาขยะหลายแห่ง จากอดีตเคยเป็นหลุมฝังกลบ แต่เมื่อขยะมีปริมาณมากขึ้น จากหลุมกลายเป็นเนินจากเนินกลายเป็นภูเขา ภูเขาขยะแพรกษา เป็นหนึ่งในภูเขาขยะขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้ชุมชน ตั้งอยู่ที่จ.สมุทรปราการ เราสามารถมองเห็นได้จากระยะไกลหลายกิโลเมตรได้ด้วย
ภูเขาขยะแพรกษา เป็นปลายทางของขยะทั้งจากในกรุงเทพและปริมณฑล ที่พอกพูนขึ้นมาจากขยะวันละ 2,000 ตัน ซึ่ง 2,000 ตรงนี้จะถูกแบ่งออกไป 500 ตันต่อวัน เพื่อนำไปเข้าสู่โรงไฟฟ้าขยะ ที่จะนำขยะบางชนิดไปแปรเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงพลังงาน และส่วนที่เหลือที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลหรือทำเชื้อเพลิงได้ก็จะถูกส่งไปทับถมกันบนภูเขาขยะแพรกษาแห่งนี้ ส่งผลให้มีกลิ่นเหม็นลอยโชยไปยังชุมชน ตามแต่ทิศทางลมจะพาไป นอกจากนี้ความชันของภูเขายังส่งผลให้ขยะในด้านตะวันออกของภูเขาขยะเลื่อนไถลลงไปด้านล่างซึ่งเป็นคลองทับนาง ทำให้ขยะลงไปสู่แหล่งน้ำ ทำสภาพน้ำในคลองนิ่ง มีขยะปะปนอย่างชัดเจน แต่ที่น่าหดหู่ไปมากกว่าคือด้านตะวันตกก็มีความสุ่มเสี่ยงที่ขยะจะไหลลงไป ใกล้กับศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 200 เมตรเท่านั้น และเสี่ยงก่อให้เกิดไฟไหม้ได้ง่ายด้วย
คนไทยฮือฮา มลพิษทางแสง สร้างแสงเหนือเมืองไทยเมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน เกิดภาพไวรัลในสื่อโซเชียลว่าท้องฟ้าเหนือจุดชมวิวเขาพะเนินทุ่ง ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เกิดแสงสีเขียว เหมือนแสงเหนือออโรร่าของประเทศใกล้ขั้วโลก แต่ก็เกิดข้อถกเถียงกันว่า ใช่แสงเหนือจริงเหรอ เกิดขึ้นในไทยได้จริง? ซึ่งในเวลาต่อมา ผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็ได้ออกมาอธิบายว่า แสงสีเขียวที่เห็นนั้นคือแสงจากเรือไดหมึก จากทะเลอันดามัน แต่โซเชียลยังไม่เชื่อเต็มร้อย แสงจากเรือไดหมึกจะมาถึงเพชรบุรีได้อย่างไร
แต่อย่างไรก็ตาม แสงดังกล่าว ถือเป็นมลพิษทางแสง จนขนาดที่ว่าเราสามารถมองเห็นแสงนี้ได้จากนอกโลก ปัญหามลพิษทางแสงของเรื่องนี้คือ แสงที่มากเกินไปส่งผลกระทบต่อนกที่บินอพยพในช่วงเวลาตอนกลางคืน รวมถึงแมลงและสัตว์อื่น ๆ ในระบบนิเวศใกล้เคียง ที่ใช้ความมืดในการออกล่า สารซีเซียม -137 ที่หายไปเรื่องราวนี้เกิดขึ้นในเดือนมีนาคม 2566 เมื่อมีคนไปพบว่าวัสดุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 หายออกไปจากโรงไฟฟ้า จ.ปราจีนบุรี ซีเซียม-137 เป็นสารกัมมันตภาพรังสีอันตรายประเภท 3 ตามการจำแนกของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ มักถูกใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น เครื่องวัดความชื้นและความหนาแน่น ในทางการแพทย์ ใช้บำบัดมะเร็งใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมา มาตรฐานสำหรับการปรับเทียบระบบการวัดรังสี แกมมาในห้องปฏิบัติการวิจัยทางรังสี นอกจากจะอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้ก่อเกิดโรคมะเร็ง ยังทำอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมด้วย อาจมีการปนเปื้อนลงไปยังฝุ่น อากาศ และแหล่งน้ำ ทำให้ทั้งคนและสัตว์เสี่ยงได้รับสารอันตราย ถือว่านี่คือความหละหลวงของโรงงานและการออกกฎควบคุมโดยรัฐ ที่ทำให้วัสดุอันตรายหลุดรอดสู่ชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ที่มา : https://www.springnews.co.th/keep-the-world/climate-change/845779
|