รวม 13 คำถามคาใจ Digital wallet เงินดิจิทัล มีคำตอบทุกประเด็นเคลียร์ ทุกมิติ

รวม 13 คำถามคาใจ Digital wallet เงินดิจิทัล มีคำตอบทุกประเด็นเคลียร์ ทุกมิติ

ประเด็น Digital wallet กลายเป็นเรื่องราวแกนหลักในความสนใจของประชาชนไปแล้ว ตอนนี้ หลังจากที่นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน แถลงประเด็นเงินดิจิทัล 10,000 บาทไปแบบหมาดๆ ทำให้มีคำถามหลายๆ คำถามที่ยังค้างคาใจประชาชน เรามัดรวมคำตอบเรื่องนี้ในทุกๆ มิติ มาให้แล้ว

สำหรับ ประเด็น  เงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ตอนนี้ มีคำถามอยู่ในใจ มากมาย อาทิ 

  • ทำไมต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ 
  • ทำไมต้องเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet 
  • ใครได้รับเงินบ้าง ?
  • ทำไม...ไม่ให้ทุกคน ?
  • นโยบาย Digital Wallet เอาเงินมาจากไหน ใช้ทำอะไร ?
  • ทำไมต้องออกกฎหมายกู้เงิน ?
  • โครงการเริ่มต้นและสิ้นสุดเมื่อใด ?
  • ใครขึ้นเงินได้บ้าง ?
  • ใครเป็นคนสร้างระบบ ระบบที่ว่าเป็นอย่างไร ?
  • โครงการนี้ดีต่อเศรษฐกิจและชุมชน/ท้องถิ่นอย่างไร ?
  • โครงการนี้แตกต่ำงจำกโครงการที่ผ่านมาอย่างไร ?
  • หลังจบโครงการประชาชนจะเห็นอะไร ?
  • มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลมีเท่านี้หรือ ?

เรามาตามหาคำตอบในเรื่องเหล่านี้กัน 

ข้อที่ 1 ทำไมต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ

1. เศรษฐกิจไทยไตรมำสที่ 2 ปี 2566 โตต่ำกว่าที่คาด :
โดยขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8ต่อปี ต่ำกว่าไตรมาสที่ 1 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อปี หลำยหน่วยงำนคำดไว้ตอนต้นปีว่ำจะสูงกว่านี้

2.เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3ปี 2566มีสัญญาณฟื้นตัวช้ำ : การส่งออก กำรผลิตสินค้า และรายได้เกษตรกรยังคงหดตัว การท่องเที่ยวก็ขยายตัวชะลอลงมากจนต้องปรับลดเป้ำ

3. การลงทุนภาครัฐยังขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ไม่เต็มที่ :
ผลของการจัดทำงบประมำณล่าช้า 7เดือน ทำให้การลงทุนภาครัฐช่วงปลายปี 2566 ต่อเนื่องไปยังต้นปี 2567 อัดฉีดเศรษฐกิจได้ไม่เต็มที่

4. มีปัจจัยภายนอกรุมเร้า : เช่น เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว ปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะสงครามอิสราเอล-ฮามาส

5.การปรับลดประมาณการเศรษฐกิจ ปัจจัยข้ำงต้นทำให้ สศช. ธปท. ก.คลัง และ IMF ทยอยปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2566 ลงมาต่ำกว่าร้อยละ 3 ส่วนปี 2567 ไม่เกินร้อยละ 3.5

6.ปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงยาวนาน : สัดส่วนหนี้ครัวเรือนสูงกว่ำร้อยละ 90 ของ GDPGDPและนับตั้งแต่ปี 2559 สะท้อนรายได้โตไม่ทันภาระหนี้

7. ปัญหาความเหลื่อมล้ำเรื้อรัง : รายได้คน 20% บนสุดกับรายได้คน 20% ล่างสุด ยังต่างกัน 9 เท่า สะท้อนว่ายังมี “ช่องว่าง” ระหว่างคนรวยและคนจน
 

ข้อที่ 2 ทำไมต้องเติมเงิน 10,000บาท ผ่าน Digital Wallet

วัตถุประสงค์ของเรื่องนี้ก็คือ 

1. มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่/ชุมชน เพิ่มมากขึ้น เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ
2. บรรเทำภาระค่าครองชีพ/ยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่กลุ่มที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือ
3. สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชน
4. พัฒนาให้เกิดนวัตกรรมด้ำนเทคโนโลยีเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ข้อที่ 3 ใครได้รับเงินดิจิทัลบ้าง 

อายุ 16 ปีขึ้นไป
มีรายได้ไม่เกิน 70,000 บาทต่อเดือน
มีเงินฝากในบัญชีรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

ข้อที่ 4 ทำไม...ไม่ให้ทุกคน

กระตุ้นเศรษฐกิจเต็มที่ 
เอาเงินที่จะให้คนกลุ่มนี้ไปทำประโยชน์อื่นให้แก่ประเทศ 
หากไม่กระตุ้นเศรษฐกิจจะส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโตไม่เต็มศักยภาพและจะเป็นวัฏจักรไม่รู้จบ

 

ทำไม...ไม่ให้เงินดิจิทัลกับทุกคน

ทำไม...ไม่ให้เงินดิจิทัลกับทุกคน

ข้อที่ 5 นโยบาย Digital Wallet Wallet เอาเงินมาจากไหน ใช้ทำอะไร

เอาเงินมาจากไหน ? 
กฎหมายกู้เงิน 500,000 ล้านบาท ตาม พ.ร.บ. วินัยการเงิน พ.ศ. 2561
งบประมาณรายจ่ายปี 2567 100,000 ล้านบาท

ใช้เงินทำอะไรบ้าง 

ระยะสั้น ทำ Digital Wallet
500,000 ล้านบาท

ระยะยาว ใช้ใส่กองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 100,000 ล้านบาท

ทั้งหมดรวมวงเงิน 600,000 ล้านบาท


ข้อที่ 6 ทำไมต้องออกกฎหมายกู้เงิน 

รักษาวินัยกำรเงินการคลังตามรัฐธรรมนูญมาตรา 62
ผ่านการตรวจสอบจากรัฐสภาเต็มรูปแบบ
ใช้เงินใหม่ไม่เจียดเงินเดิม (งบประมาณ) มาใช้
สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลง (หาก GDP เพิ่มขึ้นมากกว่าหนี้สาธารณะ)

ข้อที่ 7 โครงการเงินดิจิทัล หรือ Digital Wallet เริ่มต้นและสิ้นสุดเมื่อใด

มีนาคม 2567 : ลงทะเบียน ยืนยันใช้สิทธิโดยยึดอำเภอตามทะเบียนบ้าน
พฤษภาคม-มิถุนายน 2567 : เริ่มใช้เงินครั้งแรก
ตุลาคม 2567 : ระยะเวลาสิ้นสุดการใช้เงินของประชาชน
เมษายน 2570 : ระยะเวลาสิ้นสุดการใช้เงินของร้านค้า

โดย ประชาชนใช้จ่ายภายในอำเภอตามทะเบียนบ้าน ขณะที่ ร้านค้าใช้จ่ายได้ทั่วประเทศ


ข้อที่ 8  ใครขึ้นเงินดิจิทัลได้บ้าง 

ร้านค้าหรือผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีเท่านั้นที่สามารถขึ้นเงินได้

 

 ใครขึ้นเงินดิจิทัลได้บ้าง

ใครขึ้นเงินดิจิทัลได้บ้าง

 

ข้อที่ 9 ใครเป็นคนสร้างระบบ ระบบที่ว่าเป็นอย่างไร


1 ใช้แอปพลิเคชันใหม่
2 ใช้ฐานข้อมูลประชาชนและร้านค้าจากระบบเดิม (เพื่อความสะดวกของประชาชนและร้านค้า) และเปิดให้ลงทะเบียนเพิ่มเติม
3 ใช้เทคโนโลยี Blockchain เพื่อสร้าง Digital Economy ในอนาคต
4 โปร่งใส ปลอดภัย ตรวจสอบได้


ข้อที่ 10 โครงการนี้ดีต่อเศรษฐกิจและชุมชน ท้องถิ่นอย่างไร

ประชากรมีเงินใช้จ่ายบรรเทาภาระค่าครองชีพ
ตรงเป้า: บรรเทาภาระค่าครองชีพ ยกระดับคุณภาพชีวิต
เท่าเทียม : มีความหลากหลายอายุและอาชีพ
ทั่วถึง : กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ เศรษฐกิจถูกกระตุ้น ร้านค้า ชุมชน ท้องถิ่นมีรายได้

ร้านค้า ชุมชน ท้องถิ่นมีรายได้

เพิ่มรายได้
เพิ่มการผลิต ห่วงโซ่
เพิ่มการจ้างงาน
เพิ่มทักษะด้านดิจิทัล

เศรษฐกิจถูกกระตุ้น 
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) +1.5% ตุลาคม 2566
SCB EIC +2% ถึง 3%  กันยายน 2566 


ข้อ 11 โครงการนี้แตกต่างจากโครงการที่ผ่านมาอย่างไร? 

แตกต่างตรงที่มีการล็อคเป้าพื้นที่เพื่อให้เงินหมุนเวียนอยู่ในแต่ละอำเภอ / จังหวัด พร้อม ๆ กันทั่วประเทศ
• ล็อคพื้นที่อำเภอจังหวัด
• สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่นั้น ๆ พร้อม ๆ กันทั่วประเทศ
 

 

โครงการนี้แตกต่างจากโครงการที่ผ่านมาอย่างไร?

โครงการนี้แตกต่างจากโครงการที่ผ่านมาอย่างไร?

ข้อ 12 หลังจบโครงการประชาชนจะเห็นอะไร?


1. เศรษฐกิจจะขยายตัวมากขึ้น
2. การบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริงขยายตัวมากขึ้น
3. ภาษีมูลค่าเพิ่มบนฐานการบริโภคเพิ่มขึ้น
4. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสูงขึ้น
5. ความเชื่อมันอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคสูงขึ้น
6. ความเชื่อมั่น MSMEs สูงขึ้น
7. ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้น
8. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมบางสินค้าสูงขึ้น
9. เงินเฟ้อผู้บริโภคและผู้ผลิตอาจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
10. การจ้างงานเพิ่มขึ้น
11. หนี้ครัวเรือนลดลง


ข้อ 13 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลมีเท่านี้หรือ?


โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นเพียง 1 ใน Package ของนโยบายรัฐเท่านั้น
กระตุ้น/สนับสนุน การบริโภคภาคเอกชน (54%)
• โครงการเติมเงิน Digital Wallet
• การพักหนี้เกษตรกร
• การบรรเทาค่าครองชีพ
• ส่งเสริมความรู้ทางการเงิน
• ส่งเสริมการออม
.
กระตุ้น/สนับสนุน การลงทุน (18%)
• การค้ำประกันสินเชื่อ SMEs
• ใช้กองทุนขยายโอกาสให้แก่ประชาชน
• สนับสนุน Startup
• ภาษีเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม 
.
กระตุ้น/สนับสนุน การใช้จ่ายภาครัฐ (23%)
• เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ
• ส่งเสริมการลงทุน สนับสนุน EEC ผลักดัน Land Bridge
• สนับสนุน Soft Power และ OTOP
• เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้
• ปรับโครงสร้างรายได้รัฐบาล
• ปรับปรุงรายจ่ายสวัสดิการเพื่อเพิ่มพื้นที่ทางการคลัง
• ใช้เครื่องมือทางการคลังสนับสนุนสังคมและสิ่งแวดล้อม
.
กระตุ้น/สนับสนุน การส่งออกสินค้าและบริการ (68%)
• การสร้างบทบาทไทยในเวทีโลก
• ความร่วมมือทางการค้าและการเงินระหว่างประเทศ

 

ที่มา : https://www.springnews.co.th/news/hot-issue/845116

 

Visitors: 1,405,471