สรุป “Enneagram of Personality” เข้าใจความแตกต่างของคนทั้ง 9 ประเภท

สรุป “Enneagram of Personality” เข้าใจความแตกต่างของคนทั้ง 9 ประเภท


 

“Enneagram of Personality” เข้าใจความแตกต่างของคนทั้ง 9 ประเภท‼️

.

เชื่อว่าทุกคนเคยเจอคนที่ “แตกต่าง” จากเรามาก ๆ ใช่ไหมครับ?

ทำไมเขาคิดแบบนั้น? โคตรแปลกเลย!.

.

“Enneagram of Personality”


วันนี้จะมาสรุปเรื่อง “Enneagram” หรือ “นพลักษณ์” ขั้นพื้นฐาน เพื่อช่วยให้เข้าใจความแตกต่างของคนมากยิ่งขึ้นครับ.

.

ประเภทที่ 1 : Perfectionist — ผู้ที่ชอบความสมบูรณ์แบบ.

คนประเภทนี้ชอบ “ความเนี๊ยบ” เป็นคนที่จริงจัง ตรงไปตรงมา มาตรฐานสูง! ทำทั้งทีต้อง “ดีที่สุด” ถ้าเป็นพนักงานก็จะเป็นคนที่ขยัน มีวินัย ยึดมั่นในหลักศีลธรรม มีการวางแผนและการตัดสินใจที่เป็นระบบ โดยธรรมชาติเป็นคนที่สามารถเป็น “ผู้สอน” ที่ดีอีกด้วย

.

แต่เมื่องานออกมาไม่ดีอย่างที่คิดก็จะทำให้ “เครียดหนัก” และ “หงุดหงิด” ง่ายเมื่อเจอคนที่ไม่ค่อยจริงจัง

.

.

.

ประเภทที่ 2 : Giver — ผู้ให้ ผู้ช่วยเหลือ.

เป็นคนที่ก็ตรงตัวครับ เป็นคนที่ “ชอบช่วยเหลือผู้อื่น” เป็นคนใจดี มีเมตตา สุภาพ ถ่อมตัว ชอบงานอาสา เป็นผู้ที่เสริมความแข็งแกร่งให้กับทีมได้ดี เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น มักเป็นที่รักและเป็น “ผู้สร้างความกลมเกลียว” ให้กับคนในกลุ่ม

.

เนื่องจากลึก ๆ เป็นผู้ที่ต้องการให้ผู้อื่นรู้สึกดีกับตนเอง จึงบางครั้งทำให้ไม่เป็นตัวเองเพื่อเอาใจคนอื่นจนมากเกินไป ทำให้ข้างในรู้สึกอึดอัดได้

.

.

.

ประเภทที่ 3 : Achiever — ผู้ใฝ่ความสำเร็จ.

คนกลุ่มนี้มี “เป้าหมายชัดเจน” มีความมุ่งมั่น กระหายความสำเร็จ ชอบพุ่งเข้าใส่เป้าหมาย มีความสุขเมื่อเห็นสิ่งนั้นสำเร็จ รักในการพัฒนาตัวเองอยุ่เสมอ มักจะเป็นคนที่ยุ่งอยู่ตลอด มีอะไรทำตลอดเวลา มักเป็นผู้ที่ “ปรับตัวได้ดี” กับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่้เกิดขึ้น

.

ในอีกมุมนึงอาจจะทำให้มองหลายอย่างเป็น “การแข่งขัน” กดดันตัวเองมากเกินไป เผลอลืมดูแลจิตใจคนอื่น รู้สึกไม่ดีเมื่อล้มเหลวหรือไม่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น

.

.

.

ประเภทที่ 4 : Individualist — ผู้มีอารมณ์ศิลปิน.

เป็นผู้ที่มี “เอกลักษณ์โดดเด่น” ไม่เหมือนใคร หลายคนอาจมองว่าคนนี้แปลก เนื่องจากมีความเป็นตัวเองสูง เข้าใจในความแตกต่าง ทำงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้ดี ใช้เวลาในการสะท้อนประสบการณ์ในอดีตและใช้อารมณ์สร้างสรรค์ผลงานที่ไม่ซ้ำใคร

.

แน่นอนว่าเมื่อ “อารมณ์ไม่ดี” ก็จะทำให้ผลงานออกมาไม่ดีตามไปด้วย รู้สึกไม่ดีเมื่อต้องทำในสิ่งที่ไม่เป็นตัวเอง หรือเมื่อตัวเองรู้สึกว่าไม่มีความสำคัญ

.

.

.

ประเภทที่ 5 : Investigator — นักคิด นักสังเกต.

คนประเภทนี้ “คิดเยอะก่อนพูด” เป็นผู้ที่ชอบคิดวิเคราะห์ หาความรู้เพื่อความเข้าใจเชิงลึก ช่างสังเกต ใช้เหตุผลและข้อมูลเป็นหลัก เหมาะกับการทำงานวิจัย เป็นคนที่ใจเย็น รักความสันโดด รักษาระยะห่างกับผู้คน แบ่งขอบเขตของครอบครัว เพื่อน และการงานอย่างชัดเจน

.

เนื่องจากใช้เหตุผลเป็นหลัก ทำให้ไม่ค่อนเข้าใจ “ความรู้สึกของผู้อื่น” ทำให้อาจเกิดความขัดแย้งหรือเข้ากับผู้อื่นได้ยากเมื่อต้องทำงานเป็นทีม

.

.

.

ประเภทที่ 6 : Loyalist — ผู้จงรักภักดี นักตั้งคำถาม.

คนกลุ่มนี้ชอบ “ความมั่นคงสูง” ชอบการทำงานที่เป็นระบบระเบียบ เป็นคนที่ใส่ใจรายละเอียด มีความรอบคอบ ชอบทำอะไรที่มีความแน่นอน และสื่อสารได้ชัดเจน นอกจากนั้นยังเป็นผู้ที่มี “ความรับผิดชอบสูง” เป็นผู้เสียสละเพื่อกลุ่มของตน สามารถทำงานเป็นทีมได้ดี

.

มักตั้งคำถามกับการเปลี่ยนแปลง หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาจมีปัญหาหรือกังวลในการปรับตัวกับสิ่งใหม่ หรือปรับตัวได้ช้าเมื่อเทียบกับคนอื่น

.

.

.

ประเภทที่ 7 : Enthusiast — นักผจญภัย ผู้รักสนุก.

เป็นผู้ที่มี “พลังงานล้นเหลือ” เหมือนกับเด็กที่รักสนุก ซุกซนไปทั่ว ช่างสงสัย สนใจอะไรหลายย่างพร้อม ๆ กัน มองโลกในแง่ดี เป็นน้ำที่ไม่เต็มแก้ว ชอบทดลองทำอะไรใหม่ ๆ อยู่เสมอ เข้ากับคนง่ายมักเป็นที่รักของผู้คนรอบข้าง มองโลกเหมือนเป็น “สนามเด็กเล่น”

.

อีกมุมก็จะเป็นคนที่ “เบื่อง่าย” ไม่ชอบทำอะไรจำเจ และบางครั้งก็ไม่ค่อยโฟกัสกับสิ่งที่ทำได้มากเท่าที่ควร ถูกบังคับให้ทำสิ่งที่ไม่ชอบก็จะทำได้ไม่ดี

.

.

.

ประเภทที่ 8 : Challenger — ผู้นำ ผู้ชื่นชอบความท้าทาย.

เป็นผู้ที่ชอบ “ปกป้องผู้อื่น” ชอบพึ่งตนเองมากกว่าให้ผู้อื่นมาช่วยเหลือ เป็นคนตรงไปตรงมา ชอบเป็นผู้ควบคุมมากกว่าการถูกควบคุม มีพลังงานสูงชอบเผชิญหน้ากับสิ่งที่ท้าทาย มักมีความเป็นผู้นำสูง มีความสามารถสูง และมีทักษะการโน้มน้าวผู้อื่นที่ดี

.

ในบางครั้งก็ถือเป็นคนที่ “หัวแข็ง” ไม่ค่อยรับฟังผู้อื่น เพราะเชื่อว่าสิ่งที่ตนทำนั้นถูกต้องและดีกว่า ไม่ชอบถูกควบคุม

.

.

.

ประเภทที่ 9 : Peacemaker — ผู้รักสงบ นักสร้างสันติ.

เรียกได้ว่าเป็น “ผู้สร้างความกลมเกลียว” ไกล่เกลี่ย แก้ไขความขัดแย้งภายในทีมได้ดี เป็นคนที่ค่อนข้างใจเย็นมาก มักเป็นสื่อกลางประสานงานเก่ง หรือเป็นผู้ที่มีคนมาขอคำปรึกษา ขอคำแนะนำเยอะ มองหลายมุมก่อนตัดสินใจไม่ผลีผลาม ใช้ชีวิตเรียบง่าย มีความสุขกับสิ่งเล็ก ๆ รอบตัว

.

แน่นอนว่าเมื่อเจองานที่เครียดมาก ๆ ผู้รักสงบจะจัดการได้ไม่ค่อยดี และการใช้ชีวิตที่ชิว อาจทำให้ไม่ได้มีเป้าหมายที่ชัดเจน หรือไม่ค่อยได้พัฒนาตนเองมากนัก

.

.

.

.

ซึ่งทั้ง 9 ประเภทนี้ก็ถูกจัดเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ อีก นั้นก็คือ

.

1.กลุ่ม Heart (ประเภทที่ 2, 3, 4)

เมื่อเจอเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต คนกลุ่มนี้จะใช้ “ความรู้สึก” เป็นหลัก มักจะเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้ดี และเชื่อมต่อกับผู้อื่นด้วย “ความเห็นอกเห็นใจ”

.

.

2.กลุ่ม Head (ประเภทที่ 5, 6, 7)

คนที่ใช้หัวหรือใช้ “การคิดวิเคราะห์” เป็นหลัก มักใช้ “เหตุผล” ทฤษฎี หรือข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจมากกว่าการใช้ความรู้สึกหรือสัญชาติญาณ

.

.

3.กลุ่ม Body (ประเภทที่ 8, 9, 1)

กลุ่มสุดท้ายนี้เป็นคนที่ใช้ “สัญชาติญาณ” ครับ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือใช้ “เซ้นส์” นั้นแหละ ไม่ว่าจะมาจากประสบการณ์หรือการสังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ ของคนอื่นนั้นเอง

.

-“ความแตกต่าง” เป็นเรื่องธรรมดา อยากให้ทุกคนทำความเข้าใจธรรมชาติของแต่ละคน และดึงจุดแข็งมาใช้มากกว่า

.
-อาจมี “ลักษณะของคนหลายประเภท” รวมอยู่ในคน ๆ เดียวได้ เนื่องจากแต่ละสถานการณ์เราก็จะใช้บุคคลิกที่ไม่เหมือนกัน
.
-“คนเราเปลี่ยนแปลงได้” เมื่อคุณได้ลองทำแบบทดสอบวันนี้ ก็อยากไม่เหมือนกับคุณในอนาคต เพราะประสบการณ์และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปนั้นเอง
.
-“เราไม่สามารถบังคับให้ใครเหมือนกันได้ และเราก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร”
.
.
สำหรับคนที่อยากรู้ว่าเราเป็นคนประเภทไหนตามหลัก Enneagram สามารถทำแบบทดสอบได้ที่ : http://bit.ly/EnneagramPersonality
.
ใครทำแบบทดสอบแล้วได้อะไรเอามาแชร์กันได้นะครับ
.
.
.
จริง ๆ แล้ว “Enneagram” เป็นศาสตร์ที่มีความลึกซึ้งกว่านี้มาก นี่เป็นเนื้อหาเพียงคร่าว ๆ เท่านั้น ถ้าใครที่สนใจลองศึกษาเพิ่มเติมกันได้นะครับ

 

 

ที่มา : https://krittamate.medium.com/

 

Visitors: 1,400,667