อัพไซเคิลอาหารเหลือทิ้ง เทรนด์ใหม่ของธุรกิจอาหารในอเมริกา
“อัพไซเคิลอาหารเหลือทิ้ง” เทรนด์ใหม่ของธุรกิจอาหารในอเมริกาถังขยะของพ่อครัวคนหนึ่ง สู่ไอศกรีมหวานเย็นของพ่อครัวอีกคน เทรนด์อัพไซเคิลอาหารกำลังมาแรงที่สหรัฐอเมริกา เปลี่ยนอาหารถูกทิ้ง ให้กลายเป็นของกินสดใหม่น่าอร่อยสหรัฐอเมริกา มีขยะอาหาร หรือ อาหารเหลือทิ้งจำนวนมากในแต่ละวัน และยังเคยมีข้อถกเถียงด้วยว่าอาหารเหลือจากร้านที่ยังสภาพดี ควรนำไปบริจาคหรือไม่ เพราะกฎระเบียบของร้านอาหารหลายร้านไม่อนุญาตให้นำอาหารเหลือไปแจกและต้องกำจัดทิ้งเท่านั้น อาหารมากกว่า 35 ล้านตันถูกทิ้งทุกปีในสหรัฐอเมริกา หรือคิดเป็นประมาณ 40% ของการผลิตอาหารของประเทศ ซึ่งมันได้สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจของประเทศมากกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลรายงานของ Upcycled Food Association แต่ปัญหาขยะอาหาร ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่ต้องได้รับการแก้ไข ด้วยเหตุนี้ ไทเลอร์ มาเล็ค (Tyler Malek) เจ้าของร้านไอศกรีม Salt & Straw ในพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน ในสหรัฐอเมริกาจึงได้ปิ๊งไอเดียนำอาหารเหลือทิ้งเหล่านั้นมาอัพไซเคิล (Upcycling) ให้กลายเป็นอาหารสดใหม่อีกครั้ง ไทเลอร์ นำขยะอาหารเหลือทิ้งมาเปลี่ยนเป็นไอศกรีม เป็นการผสมกับข้าวและธัญพืชที่เหลือจากการผลิตเบียร์ และเติมความเปรี้ยวด้วยการใช้หางนมที่เหลือจากร้านผู้ผลิตโยเกิร์ตทางตอนเหนือของนิวยอร์ค เชนไอศกรีมของไทเลอร์ เป็นหนึ่งในแนวหน้าของธุรกิจอาหาร Upcycling ลักษณะการนำอาหารเหลือทิ้งมาผลิตเป็นอาหารสดใหม่กำลังเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภคด้วย ผู้บริโภคสมัยใหม่ใช้เวลามากขึ้นในการอ่านฉลากบรรจุภัณฑ์และส่วนผสมในเมนู เพื่อต้องการที่จะรู้ว่า อาหารของพวกเขาทำมาจากอะไร มาจากไหน และจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ นอกจากไอศกรีม มีอาหารอัพไซเคิลเกิดขึ้นจำนวนมากในสหรัฐฯ อย่าง เค้กและมันฝรั่งทอดตามร้านขายของชำทั่วไปที่มีส่วนประกอบมาจากผักและผลไม้จากฟาร์มที่ถูกปฏิเสธจากร้านอาหารและร้านขายของชำเนื่องจากรูปร่างและสีสันของมันไม่สมบูรณ์
สหรัฐอเมริกามีองค์กรที่ชื่อว่า Upcycled Food Association ที่จะทำการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์อัพไซเคิลที่ได้มาตรฐาน “Upcycling Certified” และกำลังทำงานอย่างหนักเนื่องจากมีร้านเข้ามาให้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์มากขึ้น จากผลิตภัณฑ์ 30 รายการในปี 2021 จนมาถึง 450 รายการในปี 2023 ซึ่งร้าน Salt & Straw ของไทเลอร์ ก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ได้รับการรับรองคุณสมบัติ
ที่มา : https://www.springnews.co.th/keep-the-world/sustainable/841487
|