Digital Footprint กับวิธีลบตัวตนจากโซเชียลมีเดีย
Digital Footprint กับวิธีลบตัวตนจากโซเชียลมีเดียยิ่งโซเชียลมีเดียมีการใช้งานเพิ่มมากขึ้น การแสดงความคิดเห็นทั้งเชิงบวกและลบในอดีต อาจส่งผลสู่ปัจจุบันและอนาคต ดังนั้น คนที่เคยโพสต์อะไรก็ได้อย่างอิสระ เริ่มกังวล Digital Footprint ของตนเองการแสดงความคิดเห็นหรือโพสต์สิ่งต่างๆ บนโลกออนไลน์ กลายมาเป็นหนึ่งใน Digital Footprint ที่ส่งผลต่อปัจจุบันและอนาคต ทำให้หลายคนมีแนวคิดอยากที่จะปิดข้อมูลส่วนตัวบนโลกออนไลน์ หรือลบโพสต์ที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดปัญหา และนี่คือวิธีแก้ปัญหาและเป็นแนวทางให้คนที่พลาดในการโพสต์ข้อมูล หรือเรื่องราวส่วนตัวบางอย่างที่สำคัญ สำหรับคนที่อยากลบนี่คือวิธีที่ควรนำไปปรับใช้งาน
นอกจากนี้ การเลือกใช้เครื่องมือในการลดปัญหาการจัดเก็บข้อมูลอย่างเหมาะสม ลดการเลือกเก็บคุ้กกี้ก็ช่วยลดปัญหา Digital Footprint ได้เช่นกัน
มีตัวเลือกเบราว์เซอร์หลายตัวที่สามารถใช้งานโหมดไม่ระบุตัวตนได้ ซึ่งจะช่วยหลีกเลี่ยงการถูกติดตามข้อมูลในเบื้องต้นได้ หากจำเป็นที่จะต้องใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ แนะนำว่าควรใช้หมวดระบุตัวตนด้วย
ถ้ามีอีเมลเก่าๆ ที่ไม่ได้ใช้แล้ว และคิดว่าจะไม่ใช้อีก แนะนำให้จัดการยกเลิกอีเมลนั้นเพื่อป้องกันข้อมูลส่วนตัวที่ตกค้างอยู่ในนั้นรั่วไหล
เราสามารถกำหนดในบัญชีโซเชียลมีเดียได้ว่าเปิดให้ใครเห็นข้อมูลส่วนตัวของเราได้บ้าง และกำหนดว่าถ้าเป็นคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่เพื่อนเห็นข้อมูลส่วนตัวอะไรได้บ้าง เพราะการให้สิทธิสาธารณะในการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว อาจทำให้ข้อมูลรั่วไหลได้
อย่างไรก็ตาม การลบ Digital Footprint ออกจากบัญชีเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียโดยตรงก็อาจเป็นการแก้ปัญหาที่ดี โดยอาจจะส่งอีเมล์ไปที่ฝ่ายบริการที่ต้องรอการตอบกลับนานสักหน่อย หรือใช้วิธีต่างๆ ดังนี้
ส่งอีเมล์ไปที่เว็บไซต์หรือผู้ให้บริการ เพื่อแจ้งให้มีการลบรายละเอียดข้อมูลผู้ใช้ จากฐานข้อมูล หรือใช้บริการ JustDeleteMe ที่สามารถให้บริการช่วยเหลือในการลบบัญชีจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้
อันนี้เป็นหนึ่งในวิธีที่ PDPA แนะนำว่า ประชาชนมีสิทธิในการร้องขอที่จะถูกลืม หรือ (Right to be Forgotten) ซึ่งเป็นสิทธิทางกฎหมายด้านการปกป้องข้อมูลที่สามารถร้องขอให้มีการลบข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับตัวเองที่ถูกโพสต์ในออนไลน์ขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์ หรือข้อมูลที่เก่า และล้าสมัยไปแล้วออกจากระบบอินเทอร์เน็ตได้
หากผู้ใช้งานไม่อยากจะทิ้งข้อมูลส่วนตัวของตนเองไว้ เพื่อป้องกันข้อมูลรั่วไหล อาจเลือกการไม่ตอบหรือไม่กรอกข้อมูลจริงทั้งหมดด้วยการสร้างข้อมูลปลอมขึ้นมา อาทิ ที่อยู่ อีเมล หรือวันที่เกิดปลอมสำหรับบัญชีสำรองขึ้นมาแทน
ข้อความ Clickbait คือการใช้คำหรือรูปภาพพาดหัวที่ทำให้ดูชวนสงสัยใคร่รู้ หรือจูงใจให้ทำกิจกรรมอะไรสักอย่าง ผู้ใช้งานต้องใช้วิจารณญานก่อนทำ เพราะกิจกรรมแบบนี้มักให้เรากรอกข้อมูลส่วนตัว เราต้องถามตัวเองก่อนว่ามันคุ้มค่าไหมกับการแลกข้อมูลส่วนตัว ให้กลายเป็นข้อมูลสู่สาธารณะ เพราะหลายกรณีความเสี่ยงก็มาจากการเล่นเกม คลิกลิ้งก์ที่ดึงดูด เพื่อแลกเปลี่ยนกับบางอย่าง
ที่มา : https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/841446
|