สัตว์ออนไลน์ใน Google Docs คืออะไร พวกมันมาจากไหนกัน?
สัตว์ออนไลน์ใน Google Docs คืออะไร พวกมันมาจากไหนกัน?เชื่อว่าหลายคนที่ใช้งาน Google Docsในการทำงานร่วมกับคนอื่นคงเคยเห็นไอคอนสัตว์ต่างๆ หรือชื่อสัตว์ยาวแปลกๆ ราวกับอยู่ในสวนสัตว์ ว่าแต่…เคยสงสัยกันไหมว่า ไอคอนหรือ ‘สัตว์นิรนาม’ (Anonymous Animals) เหล่านี้เป็นตัวอะไรกันบ้าง สัตว์นิรนามมาจากไหน? ที่มาของสัตว์นิรนามเหล่านี้เกิดขึ้นจากไอเดียเมื่อปี 2012 เมื่อกูเกิล (Google) ปรับปรุงบริการต่างๆ โดยนำ Google Document มารวมกันเป็นส่วนหนึ่งของ ในช่วงแรก ทีมงานของกูเกิลเริ่มจากไอคอนสัตว์ที่รู้จักกันทั่วๆ ไปตามสวนสัตว์ก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มสัตว์แปลกเข้ามาเรื่อยๆ เช่น ซาลาแมนเดอร์น้ำ นางอาย เป็นต้น จากนั้นก็เพิ่มสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น วัวป่าออรอช ม้าลายเบอร์เชลล์ หรือกระทั่งไดโนเสาร์ นอกจากนี้ ยังเพิ่มสัตว์ประหลาดอย่างอิฟริท สัตว์มหัศจรรย์ของศาสนาอิสลามที่เป็นอสูรล้อมรอบไปด้วยไฟ หรือชูปากาบรัส สัตว์ดูดเลือดของอเมริกา มีรูปร่างผสมระหว่างกิ้งก่ากับฮามังคิวลัสด้วย ไม่ใช่แค่สัตว์เพียงเท่านั้น สัตว์ใน Google Docs ยังมี Nyan Cat หรือแมว 8 บิต ที่ลำตัวทำจากขนมทาร์ตเชอร์รี่เค้ก สามารถบินได้ พร้อมส่ายหางทิ้งสายรุ้งไว้เป็น 13 สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ใน Google Docs ทั้งนี้ ในปี 2019 กูเกิลได้ร่วมมือกับองค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่าโลก (WWF) และ Netflix ในสารคดีชื่อ Our Planet เพื่อหวังสร้างความรู้ให้ผู้คนตระหนัก และช่วยกระตุ้นการอนุรักษ์สัตว์ที่ใกล้สูญพันธ์ุ ด้วยการเพิ่มสัตว์หายากใกล้สูญพันธุ์อีก 13 ชนิด ได้แก่ 1. หมาป่าแอฟริกัน 2. วาฬสีน้ำเงิน 3. เสือชีตาห์ 4. ช้างทะเลทราย 5. ฟอสซ่าหรือพังพอนมาดากัสการ์ 6. ปลาฉลามจ้าวมัน 7. วอลรัส 8. วาฬนาร์วาล 9. อุรังอุตังสุมาตรา 10. ปลาทูน่าครีบน้ำเงิน 11. เพนกวินราชา 12. หมีขั้วโลก 13. เสือโคร่งไซบีเรีย
การเพิ่มสมาชิกใหม่อีก 13 ตัว ทำให้สวนสัตว์ขนาดเล็กเริ่มขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบันมีสัตว์หายากราว 73 ชนิดด้วยกัน และในอนาคตจะเพิ่มสัตว์ชนิดไหนเข้ามาอีกหรือไม่นั้น คงต้องติดตามกันต่อไป ใครจะได้เป็นสัตว์นิรนามบ้าง ไอคอนสัตว์ต่างๆ เหล่านี้จะปรากฏขึ้นเฉพาะคนที่ไม่ได้ลงชื่อเข้าใช้งาน Gmail แล้วเข้าใช้งาน Google Drive ที่แชร์ลิงก์ให้มีสิทธิ์สามารถเข้าถึงได้เท่านั้น ส่วนคนที่ล็อกอิน Gmail ก็จะอดเป็นไอคอนสัตว์ เพราะภาพของคุณจะเป็นชื่อหรือรูปโปรไฟล์ที่ตั้งเอาไว้ อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถเลือกชนิดสัตว์นิรนามที่ต้องการได้ เพราะระบบกูเกิลจะสุ่มให้คุณเป็นสัตว์ตัวใดตัวหนึ่งเอง ใครที่อยากเข้าชมสัตว์ในสวนสัตว์แห่งนี้ให้ครบทุกชนิด ขอแนะนำว่าอาจจะต้องเข้าใช้งานกันหลายเครื่องหน่อยนะ! อ้างอิง:
ที่มา : https://www.brandthink.me/content/anonymous-animals
|