ซีเซียม 137 คืออะไร สารกัมมันตรังสี อันตรายแค่ไหน
ซีเซียม 137 คืออะไรผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 66 ว่า สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ชลบุรี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลเรื่อง ซีเซียม 137 คืออะไร ว่า ซีเซียม 137 เป็นสารกัมมันตรังสี ที่มีลักษณะโลหะอ่อนมาก สีทองเงิน เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง แต่มักจะจับตัวกับคลอไรด์กลายเป็นผงผลึก ปล่อยรังสีเบต้า และแกมม่า ใช้ในโรงงาน นอกจากนี้ ยังใช้เป็นเครื่องมือทางการแพทย์รักษามะเร็ง อันตรายจากการสัมผัสสารกัมมันตรังสี ซีเซียม 137สำหรับอันตรายจากการสัมผัสสารกัมมันตรังสี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ชลบุรี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า อันตรายจากการสัมผัสสารกัมมันตรังสี ซีเซียม 137 ได้รับอันตรายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสี ชนิดของรังสีที่ได้รับ อาการที่พบเมื่อสัมผัสสารกัมมันตรังสี ซีเซียม 137เมื่อสัมผัสสารกัมมันตรังสี ซีเซียม 137 อาการที่พบคือ
ในกรณีสัมผัสปริมาณมาก ส่งผลกระทบต่อระบบเลือด กดไขกระดูก ระบบประสาท ชักเกร็ง และอาจเสียชีวิตได้
ข้อควรปฏิบัติหลังการสัมผัส ซีเซียม 137
การป้องกันและการปฏิบัติตน
อย่างไรก็ตาม ให้สังเกตอาการที่ควรพบแพทย์ ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลวมากเกินกว่า 2 ครั้ง มีไข้ หนาวสั่น ชักเกร็ง มีเลือดออกที่ใดที่หนึ่งภายในหนึ่งสัปดาห์หลังโดนรังสี หรือมีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ซีเซียม 137 หากสงสัยมีอาการดังกล่าว ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี โทร 037-211626 ต่อ 102 และเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน พร้อมทั้งแจ้งประวัติสัมผัสสารกัมมันตรังสี ซีเซียม 137 ที่มา : https://www.hfocus.org/content/2023/03/27282 |