มารู้จัก รถยนต์ไฟฟ้า คืออะไร
มารู้จัก รถยนต์ไฟฟ้า คืออะไร
หากพูดถึง รถยนต์ ในปัจจุบัน ต้องบอกเลยว่ามีวิวัฒนาการและเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทำให้รถยนต์มีความก้าวหน้าและมีความสะดวกสบายมากขึ้น ยิ่งทุกวันนี้คนเราหันมาใส่ใจการอนุรักษ์พลังงานและการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์เริ่มพัฒนาเครื่องยนต์ที่ปล่อยไอเสียน้อยลง ไปจนถึง การผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งได้มีการพัฒนาระบบต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ส่วนรถยนต์ไฟฟ้าจะมีระบบใดบ้างนั้น เราตาม ไปหาคำตอบกันเลย รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV) อาจฟังดูเป็นเรื่องใหม่สำหรับยุคนี้ แต่ความจริงแล้วรถยนต์ไฟฟ้าคันแรกของโลกเกิดขึ้นตั้งแต่ประมาณปี 1900 แล้ว แต่เพิ่งจะได้รับความสนใจและมีการหันมาพัฒนารถยนต์ไฟฟ้ากันอย่างจริงจังมากขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 21 (ตั้งแต่ พ.ศ. 2544-2643) ด้วยหลักการทำงานที่ขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ไฟฟ้าแทนการใช้เครื่องยนต์ รู้จัก ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ รถยนต์ไฟฟ้า คือ รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากไฟฟ้า 100% โดยใช้พลังงานไฟฟ้าที่ถูกเก็บไว้ในแบตเตอรีหรืออุปกรณ์เก็บพลังงานไฟฟ้าแบบต่าง ๆ หรือให้เข้าใจง่าย ๆ ก็เป็นการแปลงพลังงานจากแบตเตอรีมาใช้ในการขับรถ ไม่มีกลไกลอะไรซับซ้อนเหมือนรถยนต์ใช้น้ำมันที่ต้องอาศัยการจุดระเบิดเผาไหม้เพื่อขับเคลื่อน จึงทำให้รถยนต์ไฟฟ้ามีเครื่องยนต์เงียบ และไม่มีไอเสียจากการเผาผลาญพลังงาน และนอกจากรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมีข้อดีอื่นอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น -ประหยัดค่าซ่อมบำรุง ค่าน้ำมัน เพราะใช้พลังงานมาทดแทนน้ำมันเชื้อเพลงที่นับวันมีแต่จะยิ่งมีราคาพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ และด้วยความที่ไม่มีเครื่องยนต์ ทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง การดูแลรักษาจึงง่ายและประหยัดกว่า -อัตราเร่งให้แรงบิดที่เร็วทันใจแทบจะทันที เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าไม่ได้ใช้เครื่องยนต์สันดาป ส่งผลให้การทำงานมีเสียงเบาเงียบกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมัน และทำให้มีอัตราการเร่งที่เร็ว ปราดเปรียว ตอบสนองความต้องการในการขับขี่ของผู้ขับได้ดั่งใจ -ไม่เสียเวลาแวะเติมน้ำมัน โดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งรีบตอนเช้าที่น้ำมันในถังใกล้จะหมดแล้วไม่มีเวลาแวะเติมหรือประเมินแล้วว่าขับไปไม่ถึงปั๊มแน่ ๆ แต่รถยนต์ไฟฟ้าสามารถชาร์จแบตที่บ้านได้ เสียบชาร์จทิ้งไว้ระหว่างที่เราหลับ พักผ่อน พอตื่นเช้ามาก็สามารถใช้งานได้ทันทีในปัจจุบันประเทศไทยเองก็มีการสร้างและพัฒนาสถานีชาร์จประจุไฟฟ้าหรือสถานี EV Charger ในวงกว้างมากขึ้น หมดปัญหาหากรถแบตหมดระหว่างทาง สามารถแวะชาร์จตามสถานีที่ให้บริการได้เลย ระบบของรถยนต์ไฟฟ้า แบ่งออกได้หลายประเภท ดังนี้ 2. อี พาวเวอร์ (E-Power) – เป็นเทคโนโลยีที่มีการผสมผสานการทำงานระหว่างระบบ Hybrid กับ EV ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยมีเครื่องยนต์ขนาดเล็กทำหน้าที่ปั่นกระแสไฟฟ้าเก็บไว้ที่แบตเตอรี แล้วส่งพลังงานไปยังมอเตอร์ไฟฟ้า หรือให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ พลังงานไฟฟ้าจะถูกสร้างขึ้นจากเครื่องยนต์ แต่ตัวรถจะขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (แบบรถยนต์ไฟฟ้า EV) ไม่มีการชาร์จไฟ เพียงเติมน้ำมันก็ใช้งานได้ตามปกติแล้ว 3. รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (HEV) – มีรูปแบบการทำงานที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ผสมกับ พลังงานไฟฟ้า ระบบจะทำงานเองอัตโนมัติ โดยมอเตอร์จะช่วยออกตัวด้วยระบบไฟฟ้า ก่อนที่เครื่องยนต์จะทำงานต่อ หากในกรณีรถติดหรือรถหยุดนิ่ง ถ้ารถมีแบตเตอรีมากพอเครื่องยนต์จะดับ แล้วดึงไฟจากแบตเตอรีมาใช้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ไฟหน้ารถ แอร์ เครื่องเสียง 4. รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊ก-อิน ไฮบริด (PHEV) – หนึ่งในรถยนต์ไฟฟ้าประเภทไฮบริด ผสานระหว่างเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล เข้ากับ แบตเตอรีขนาดใหญ่ที่ชาร์จไฟได้ ใช้เวลาชาร์จแบตเตอรีให้เต็มประมาณ 4-6 ชั่วโมง สามารถวิ่งได้โดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรีอย่างเดียวประมาณ 20-50 กิโลเมตร แต่ก็ยังสามารถกลับมาใช้ระบบไฮบริดที่ใช้ทั้งน้ำมันและไฟฟ้าได้ 5. รถพลังงานไฮโดรเจน (Fuel Cell) – รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน (พลังงานสะอาด) มาแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อนำไปขับเคลื่อนให้รถยนต์แล่นไปได้ โดยในโครงสร้างจะมีแผงเซลล์เชื้อเพลิงที่เก็บไฮโดรเจนในรูปแบบของเหลว มอเตอร์ไฟฟ้าทำหน้าที่ขับเคลื่อนควบคู่กับการชาร์จกระแสไฟฟ้าและแบตเตอรี โดยมีหลักการทำงานคือ ส่งไฮโดรเจนและอากาศที่มีออกซิเจนเข้าไปสู่แผงเซลล์เชื้อเพลิง สร้างกระแสไฟฟ้าเก็บไว้ในแบตเตอรี แล้วกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรีก็จะถูกส่งไปที่มอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนรถยนต์ 6. รถยนต์ไฟฟ้าแบบใช้แหล่งพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียว (Plug-in Electric Vehicle: PEVS) – คล้ายกับรถยนต์ไฟฟ้าแบบ PHEV แต่จะมีแบตเตอรีขนาดใหญ่เป็นแหล่งพลังงานหลักเพียงอย่างเดียว เมื่อแบตเตอรีหมดจะต้องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จประจุใหม่ แยกตามการใช้งานได้ดังนี้
แหล่งที่มา
ที่มา : https://www.stkc.go.th/stiarticle
|