คำแนะนำจาก สสส เมื่อรัฐให้สวมหน้ากากอนามัย โดยสมัครใจ

คำแนะนำจาก สสส เมื่อรัฐให้สวมหน้ากากอนามัย โดยสมัครใจ

คำแนะนำจาก สสส เมื่อรัฐให้สวมหน้ากากอนามัย โดยสมัครใจ ย้ำผู้ที่เป็นโรคกลุ่มเสี่ยง 608 ยังควรสวมหน้ากากอนามัย

วันที่ 24 มิถุนายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ ( 23 มิ.ย.65 ) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 46 โดยให้มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ประกาศฉบับดังกล่าวได้ระบุข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายตามคำแนะนำของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ในข้อ 3 เรื่องการผ่อนคลายข้อปฏิบัติในการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทั่วราชอาณาจักร ระบุว่า เพื่อให้ประชาชนสามารถดําเนินชีวิตได้ใกล้เคียงกับสภาวะปกติยิ่งขึ้น จึงสมควรผ่อนคลายข้อจํากัดในเรื่องการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า

 

การสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าให้เป็นการปฏิบัติโดยความสมัครใจ โดยขอให้ประชาชนพิจารณาประโยชน์ตามข้อมูลที่ฝ่ายสาธารณสุขรายงานว่า การสวมหน้ากากอย่างถูกวิธีเป็นประโยชน์ด้านสุขอนามัยในการป้องกันการแพร่เชื้อและการรับเชื้อ ทั้งเชื้อโรคโควิดและโรคติดเชื้อ ทางระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ

ทาด้านสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ออกข้อแนะนำให้ประชาชนต้องรู้เกี่ยวกับการถอดหน้ากากอนามัย

3 คำแนะนำจาก สสส. ที่ประชาชนต้องรู้ก่อนถอดหน้ากากอนามัย

1. ฉีดวัคซีนครบโดสหรือยัง
คนที่มีความพร้อมมากพอจะถอดหน้ากากอนามัยไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถถอดหน้ากากอยามันได้แต่ต้องเป็นคนที่ได้รับวัคซีน mRNA เช่นไฟเซอร์ โมเดอร์นา หรือวัคซีนประเภท adenvirus vector เช่น แอสต้าเซเนกาและต้องมีวัคซีน mRNA เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นด้วย

 

2. ที่ไหนบ้างที่ถอดหน้ากากอนามัยได้
การถอดหน้ากากอนามัย ควรถอดหน้ากากเมื่ออยู่ในสถานที่ ที่เปิดโล่ง ไม่แออัด และจำนวนคนไม่หนาแน่นจนเกินไป เช่น สวนสาธารณะ ชายหาด สนามกีฬา ที่เว้นระยะห่างไม่ต่ำกว่า 2 เมตร แต่หากเป็นสถานที่ปิด เช่น อาคารแบบปิด ผับ บาร์ สถานบันเทิง รวมทั้งสถานที่ทำงานที่มีแอร์ หรือพื้นที่ที่มีการรวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมาก เช่น โรงพยาบาล ยังมีความจำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัย

 

3. ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง 608 ใช่หรือไม่
กลุ่มเสี่ยง 608 ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีอายุที่ 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคประจำตัวในกลุ่ม 7 โรค ได้แก่
1. โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
2. โรคหัวใจและหลอดเลือด
3. โรคไตวายเรื้อรัง
4. โรคหลอดเลือดสมอง
5. โรคอ้วน
6. โรคมะเร็ง
7. โรคเบาหวาน และกลุ่มหญิงตั้งครรถ์
ถ้าใช่ ก็ยังมีความจำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัย โดยเฉพาะกลุ่มเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ และกลุ่มที่ภูมิต้านทานบกพร่อง

 

 

ที่มา : prachachat
https://www.prachachat.net/general/news-962455

 

Visitors: 1,427,799