ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
การใช้ซอฟต์แวร์ที่ผู้อื่นสร้างขึ้นจำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจากผู้สร้างก่อน โดยใบอนุญาต (license) เป็นสัญญาระหว่างผู้สร้างกับผู้ใช้ซอฟต์แวร์ ใบอนุญาต เป็นการให้สิทธิผู้ใช้ในการใช้ซอฟต์แวร์ได้โดยไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งผลก็คือใบอนุญาตทำหน้าที่เหมือนคำสัญญาว่าผู้สร้างจะไม่ฟ้องร้องผู้ใช้ในการใช้ซอฟต์แวร์ซึ่งถือเป็นสิทธิของผู้สร้างแต่เพียงผู้เดียว โดยซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ ถือเป็นงานวรรณกรรม คือ งานนิพนธ์ที่ทำขึ้น ซึ่งได้รับการคุ้มครองแบบลิขสิทธิ์ ได้แก่
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ความสำคัญและข้อควรรู้ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ลิขสิทธิ์ หมายความว่า สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะทำการใดๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น และตามพ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ กำหนดว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่นำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือให้ได้ผลอย่างหนึ่งอย่างใด ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ หมายถึง เป็นผู้เขียนหรือพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาเอง กรณีที่ไม่ได้ทำขึ้นมาเอง แต่เป็นการว่าจ้างพัฒนาขึ้นมา โดยมีสัญญาว่าจ้าง ผลลงานที่ได้จะเป็นของผู้ว่าจ้าง ผู้ถูกว่าจ้างจะนำไปขายต่อให้แก่องค์กรอื่นไม่ได้
บทลงโทษเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์
การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม (สนับสนุนให้เกิดการละเมิด) : มีโทษปรับ 10,000 - 100,000 บาท หากทำเพื่อการค้า มีโทษจำคุก 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือ 50,000 - 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกเหนือจากการแก้ไขบรรเทาความเสียหายในคดีอาญาแล้ว เจ้าของลิขสิทธิ์ยังสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่ง ในกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ในซอฟต์แวร์ภายใต้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ หากศาลพบว่ามีการกระทำความผิดจริงอาจมีคำห้ามมิให้กระทำละเมิดอีกต่อไป และมีคำสั่งให้ชำระค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงอันเนื่องจากการละเมิดดังกล่าว แต่บางครั้ง ก็อาจเจรจายอมความกันได้
.....อย่างไรก็ตาม ซอฟต์แวร์แต่ละชนิดที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน มีกฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองอยู่ การทำความเข้าใจเรื่องสิทธิการใช้งานอย่างถูกต้อง จึงเป็นสิ่งจำเป็นและควรเรียนรู้ เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้
ขอบคุณที่มา : ลงทุนในบัญชีและภาษี
|