Carbon Neutral คืออะไร รู้จักคำนี้เบื้องต้นจาก ดร.การดี เลียวไพโรจน์

Carbon Neutral คืออะไร รู้จักคำนี้เบื้องต้นจาก ดร.การดี เลียวไพโรจน์

หากติดตามการประชุมเพื่อร่วมแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 หรือ COP26 จะเห็นคำว่า Carbon Neutral ปรากฏในสื่อทั้งไทยและเทศ แต่ความหมายของคำนี้คืออะไร เกี่ยวกับประเทศไทยหรือไม่ มาไขข้อข้องใจในบทความนี้

พูดถึง Climate Change หรือ ภาวะโลกร้อน อากาศร้อนขึ้นแค่ไหน คนไทยคงรับรู้กันดี แต่ถ้าถามว่า Carbon Neutrality หรือ Carbon Neutral คืออะไร เชื่อว่ามีคนจำนวนมากยังไม่เก็ต

ไม่เป็นไร มาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กัน

Carbon Neutral คืออะไร?

Carbon Neutral ก็คือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน หมายถึง การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ ซึ่งเป้าหมายของโลกกำหนดให้ทำได้ภายในปี 2050 [ลดการปล่อยก๊าซตามแผนยุทธศาสตร์ของแต่ละประเทศ ไม่ใช่ปราศจากก๊าซคาร์บอนไปเลย (Carbon Neutral does not mean carbon free.)]

 

Carbon Neutral is a term used to describe the state of an entity (such as a company, service, product or event), where the carbon emissions caused by them have been balanced out by funding an equivalent amount of carbon savings elsewhere in the world.

Carbon Neutral is a term used to describe the state of an entity (such as a company, service, product or event), where the carbon emissions caused by them have been balanced out by funding an equivalent amount of carbon savings elsewhere in the world.


แล้วทำยังไงจึงจะเกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน?

แนวทางเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นเป้าหมายที่ภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรมต้องทำให้ได้ภายในปี 2050 คือ ในทุกๆ ขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ เช่น การผลิตสินค้า การให้บริการ ต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนหรือก๊าซเรือนกระจกไม่ให้เพิ่มเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ - ภาคธุรกิจที่ยังปล่อยก๊าซคาร์บอนอยู่ ต้องมีโครงการกำจัดก๊าซคาร์บอนที่เหลืออยู่ให้หมดไป หรือมีค่าเท่ากับศูนย์ (Zero emissions) จึงจะเรียกได้ว่า มีความเป็นกลางทางคาร์บอน

มนุษย์ปล่อยก๊าซคาร์บอนจนเป็นปัญหาระดับโลก แล้วจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร?

 

 

เป้าหมาย Carbon Neutral ของโลกและของชาติ

เป้าหมายความร่วมมือก้าวไปสู่ Carbon Neutral ในระดับนานาชาติ กำหนดไว้ว่าจะเกิดขึ้นภายในปี 2050 (พ.ศ. 2593) แต่สำหรับประเทศไทยประกาศจุดยืนว่า จะทำให้ได้แต่ถัดจากเป้าหมายโลกไปอีก 20 ปี!

 

Photo by Marcin Jozwiak from Pexels

Photo by Marcin Jozwiak from Pexels


ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริการ ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลล์แล็บ โดย MQDC (FutureTales Lab by MQDC) แพลตฟอร์มที่ใช้สร้างความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับนักอนาคตศาสตร์ทั่วโลก เพื่อออกแบบอนาคตที่ดีขึ้นร่วมกัน กล่าวถึงภาพใหญ่ของการพัฒนานโยบาย Carbon Neutral

"EU ประกาศ Carbon certificates ว่าต้องทำให้ได้เต็มรูปแบบภายใน 5 ปีข้างหน้า โดยมีเป้าหมายจะทำให้เป็น Carbon Neutral ภายในปี 2050 หรือประเทศไทยก็มีนโยบายที่จะไปเป็นคาร์บอน Carbon Neutral ในปี 2070"

เมื่อดูจากข้อมูลและความเป็นจริงแล้ว  ดร.การดีย้ำว่า ไทม์ไลน์ที่กล่าวถึงนี้ ประเทศไทย ช้าไปมาก

 

Carbon Neutral เรื่องสำคัญและและต้องวัดผลได้

สำหรับการวัดผลว่า แต่ละประเทศทำได้ตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ในแต่ละปีเพื่อไปสู่เป้าหมาย Carbon Neutral หรือไม่ climateactiontracker.org เผยเกณฑ์วัดและประเมินผล 5 ด้าน (ค่อนข้างซับซ้อน) รวมถึงการจัดอันดับความสามารถในภาคปฏิบัติจริง เมื่อสรุปคะแนนแล้วก็จะจัดให้ประเทศนั้นๆ อยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจาก 5 กลุ่ม ดังนี้

 

Climate Action Tracker : 5 Rating Categories

      Climate Action Tracker : 5 Rating Categories

 

  • วิกฤตจนไม่สามารถทำได้ (CRITICALLY INSUFFICIENT) 
  • ไม่สามารถทำได้อย่างยิ่ง (HIGHLY INSUFFICIENT)
  • ไม่สามารถทำได้ (INSUFFICIENT)
  • เกือบทำได้ (ALMOST SUFFICIENT)
  • สามารถทำได้ตาม (SUFFICIENT)

"มันแบ่งว่า ทำได้ตามเป้าหมาย ทำไม่ได้ ไม่สามารถทำได้ ในขั้นวิกฤต ความน่ากังวลก็คือว่า แต่ละประเทศจะทำได้ตามไทม์ไลน์นั้นอย่างไร ซึ่งประเทศไทยอยู่ในขั้นวิกฤต เพื่อนๆ เราที่อยู่ในกลุ่มนั้น ก็จะมีไทยแล้วก็สิงคโปร์ด้วย ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าที่จะกังวล"

ดร.การดียังบอกด้วยว่า ประเทศที่มีการเก็บคะแนนและคาดว่าจะทำได้ตามเป้าหมายมีเพียงประเทศเดียว คือ สาธารณรัฐแกมเบีย (The Gambia) ประเทศเล็กๆ ที่อยู่ฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ใกล้เคียงกับบุรีรัมย์ และยังห่างไกลความเจริญอยู่มาก 

 

The Gambia

The Gambia

 

Source : Wikipedia

Source : Wikipedia

 

Dr.Karndee Leopairote

Dr.Karndee Leopairote

 

จากยุทธศาสตร์ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่รัฐบาลไทยประกาศจุดยืนในอีกหลายสิบปีข้างหน้า ดร.การดีกล่าวย้ำเพื่อสร้างความตระหนักว่า 

"เราไม่มี privilege ด้านการใช้ชีวิตยาวนานขนาดนั้น ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนเป็นคำว่า Carbon Neutral ได้อย่างจริงจัง อาจจะไม่เหลือปี 2060 ให้เราทำความรู้จักก็ได้"

โปรดติดตามคลิปสัมภาษณ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟกับ ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริการ ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลล์แล็บ โดย MQDC (FutureTales LAB by MQDC) เร็วๆ นี้

 

ที่มา : Springnews
Carbon Neutral คืออะไร รู้จักคำนี้เบื้องต้นจาก ดร.การดี เลียวไพโรจน์ (springnews.co.th)

 

Visitors: 1,377,205