พัฒนา'เมืองคาร์บอนต่ำ' ลดก๊าซเรือนกระจกช่วยประเทศ

พัฒนา'เมืองคาร์บอนต่ำ' ลดก๊าซเรือนกระจกช่วยประเทศ

พัฒนา'เมืองคาร์บอนต่ำ' ลดก๊าซเรือนกระจกช่วยประเทศ
23 มิถุนายน 2564
 

ทส. TGO ผนึกกำลังกับ UNDP และ สถ.เสนอผลงานการพัฒนา 'เมืองคาร์บอนต่ำ' ผ่านระบบการจัดการเมืองอย่างยั่งยืน ตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) 'TGO' ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก 'GEF' และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย หรือ UNDP ร่วมกันจัดงานสัมมนาและเผยแพร่แนวคิด เมืองคาร์บอนต่ำ สุขอาศัยอย่างยั่งยืน (Sustainable & Livable Low-carbon Cities)

ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอพลิเคชั่น Zoom และ Live streaming ผ่าน Page PPTV HD 36, Facebook องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และ CITC Society ระหว่างวันที่ 21-22 มิถุนายน 2564 เวลา 09.00-12.00 น. เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการพัฒนา 'เมืองคาร์บอนต่ำ' ผ่านระบบการจัดการเมืองอย่างยั่งยืน ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ


162443271979

ขยายผลและต่อยอดสู่การเป็น'เมืองคาร์บอนต่ำ'ต่อไป ตลอดจนเพื่อเป็นการสร้างการรับรู้และเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เยาวชน รวมถึงประชาชนที่สนใจมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการมุ่งสู่การเป็น'เมืองคาร์บอนต่ำ'

โดยได้รับเกียรติจาก นายวราวุธ ศิลปอาชา Mr.Renaud Meyer Resident Representative: UNDP Thailand นายประยูร รัตนเสนีย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และนายเกียรติชาย ไมตรีวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดงาน และมีผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ มาร่วมเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนแนวคิด มุมมอง ให้ความรู้

  
  • พัฒนาเมืองสู่ 'เมืองคาร์บอนต่ำ' ลดก๊าซเรือนกระจก

ร่วมแบ่งปันประสบการณ์การดำเนินงานจากบุคคลสำคัญๆ ทั้งจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชนที่ได้ดำเนินการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาไปสู่ 'เมืองคาร์บอนต่ำ' สุขอาศัยอย่างยั่งยืน มากกว่า 40 คน จาก 8 หัวข้อ

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ระบุประเด็นเรื่องการพัฒนา 'เมืองคาร์บอนต่ำ'ไว้ในแผนต่างๆ ของประเทศ ซึ่งต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในทุกระดับ ตั้งแต่ข้าราชการ เอกชน และประชาชนทั้งในเมืองและในท้องถิ่น ในการดำเนินงาน เพื่อให้เป้าหมายการ 'ลดก๊าซเรือนกระจก' ของประเทศสามารถบรรลุผลสำเร็จ รวมถึงยกระดับขีดความสามารถของประเทศไทยให้ปรับตัวต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสามารถพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน

 

162443290417

ทั้งนี้ มีประเด็นเสวนาที่น่าสนใจ เช่น หัวข้อ สร้างเมืองคาร์บอนต่ำไม่ยากอย่างที่คิด เป็นนำเสนอผลการปฏิบัติที่ดีด้านการพัฒนา 'เมืองคาร์บอนต่ำ' และสังคมคาร์บอนต่ำ การ 'ลดก๊าซเรือนกระจก' ของเมืองนำร่องต้นแบบทั้ง 4 เมือง ได้แก่ เทศบาลนครขอนแก่น เทศบาลนครนครราชสีมา เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลนครเกาะสมุย และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเอง รวมทั้งขยายวงการมีส่วนร่วมไปยังชุมชนด้วยกระบวนการเรียนรู้และการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ ตลอดจนจุดประกายการพัฒนาไปสู่สังคม 'เมืองคาร์บอนต่ำ' แก่เมืองอื่นๆ ต่อไป

162443274755

 

 

  • เปิดหัวข้อสร้าง 'เมืองคาร์บอนต่ำ' ลดโลกร้อนยั่งยืน

หัวข้อ เศรษฐกิจหมุนเวียนในท้องถิ่น เพื่อลดโลกร้อนอย่างยั่งยืน เป็นการนำเสนอแนวทางขับเคลื่อนและการนำแนวคิด 'เศรฐกิจหมุนเวียน' ไปประยุกต์ใช้ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ท้องถิ่นควรดำเนินการ เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดงบประมาณ และเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการแล้ว ยังช่วยโลกประหยัดทรัพยากร ลดขยะ และลดโลกร้อน ช่วยเพิ่มความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมและกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

หัวข้อ คาร์บอนเครดิต พิชิตโลกร้อน โดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดทำโครงการ 'ลดก๊าซเรือนกระจก' ภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเกิดผลประโยชน์ร่วม (Co-benefit) ของการ 'ลดก๊าซเรือนกระจก'

162443277069

เช่น ช่วยลดมลพิษ เพิ่มความร่มรื่น และพื้นที่สีเขียวลดการใช้พลังงานและค่าไฟฟ้า สนับสนุนเศรษฐกิจในชุมชนและอื่นๆ รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาอาชีพใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับ 'สิ่งแวดล้อม' มากขึ้น และยังต่อยอดการสร้างมูลค่าเพิ่มจากคาร์บอนเครดิตของโครงการ T-VER ในประเทศ ผ่านตลาดซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตซึ่งเป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน

ในงานสัมมนาครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมจากทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ซึ่งให้ความสนใจอย่างมาก ผ่านทางแอพพลิเคชั่น Zoom รวมทั้ง 2 วัน จำนวน 1,042 คน Facebook live ทั้ง 3 ช่อง รวมทั้ง 2 วัน จำนวน 87,069 คน (นับเฉพาะการเข้าถึงในช่วงเวลาการจัดงาน)

 

162443279549

ผู้สนใจการเสวนาในหัวข้อต่างๆ สามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ Facebook Page : องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก – องค์การมหาชน  Link :  https://www.facebook.com/tgo.or.th


Visitors: 1,430,486