หน้ากากอนามัยที่ช่วยป้องกันโควิดในวันนี้อาจจะกลายมาเป็นวิกฤติที่กลับมาคร่าชีวิตเราได้

หน้ากากอนามัยที่ช่วยป้องกันโควิดในวันนี้อาจจะกลายมาเป็นวิกฤติที่กลับมาคร่าชีวิตเราได้
 
 
ที่มา  Best Review Asia เคยลองนับกันไหมว่าตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด เราใช้หน้ากากอนามัยไปเท่าไรแล้ว?
 
สิ่งที่จำเป็นที่เป็นปัจจัยที่ 5 ในทุกวันนี้อาจไม่ใช่เครื่องมือสื่อสารหรือพาหนะแล้ว ทุกครั้งที่มีการออกจากที่พักมาข้างนอกสิ่งที่จำเป็นต้องใช้นั่นก็คือหน้ากากอนามัย ถึงแม้ว่าจะมีการจับปรับหรือไม่ก็ตามที แต่เชื่อมั่นว่าแม้ไม่ปรับคนไทยส่วนมากยินดีที่จะสวมใส่ หากเกิดความผิดพลาดในการรับเชื้อโควิดเข้ามาในร่างกาย นอกจากจะทำให้ตัวเองเจ็บไข้ได้ป่วยแล้วยังทำให้คนอื่นๆต้องพลอยเดือดร้อนไปด้วย
 
ที่มา มติชนออนไลน์
 
ส่วนมากแล้วก็จะเป็นการใช้หน้ากากอนามัยที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพราะนอกจากจะสะดวกแล้วยังมีราคาที่ย่อมเยา จึงทำให้มีปริมาณการใช้จำนวนมากตามไปด้วย ประมาณการณ์คร่าวๆดูว่าคนไทย 69 ล้านคน มีคนที่ต้องใช้หน้ากากอนามัยเป็นประจำ 80% เพราะคนป่วยนอนติดเตียงหรือผู้ที่อยู่ในถิ่นที่อยู่ห่างไกลอาจจะไม่ได้ใช้ ก็จะมีจำนวน 55 ล้านคน ครึ่งหนึ่งใช้หน้ากากที่ใช้ซ้ำได้ คนที่ใช้แบบครั้งเดียวทิ้งก็จะเหลืออยู่ประมาณ 23 ล้านคน เท่ากับว่าเรามีขยะจากหน้ากากอนามัยสูงถึง 23 ล้านชิ้นหรือมากกว่าในทุกๆวัน
 
ซึ่งนี้เป็นเพียงตัวเลขประมาณการณ์เท่านั้น หากเป็นตัวเลขจริงมีโอกาสสูงกว่านี้มาก เพราะอาจจะเกิดการสูญหายหรือเลอะเปรอะเปื้อนจำเป็นต้องทิ้งไปต้องใช้อันใหม่ แล้วตอนนี้ขยะเหล่านี้จะไปอยู่ไหนกัน?
 
หน้ากากอนามัยที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือหน้ากากทางการแพทย์ ที่ผลิตมาจากพลาสติกหลายชนิด เช่น โพลีโพรพีลีน (Polypropylene) โพลีเอทิลีน (Polyethylene, PE) และ ไวนิล (Vinyl) เป็นต้น นั่นหมายถึงว่า หน้ากากอนามัยเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการย่อยไม่น้อยกว่า 450 ปีกันเลยทีเดียว ประกอบกับจำนวนที่ต้องทิ้งจำนวนมหาศาลในทุกๆวันทั่วโลก เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้คาดว่าคงจะไม่จบลงง่ายๆในเร็ววัน บุคลากรทางแพทย์ก็ยังแนะนำว่าถึงแม้จะได้รับวัคซีนครบแล้วก็ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยไว้ตลอดเมื่อต้องพบปะผู้คน
 
 
ที่มา  Xinhuathai
 
ย้อนไปเมื่อปีสองปีที่ผ่านมามีปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการที่สัตว์น้ำจำนวนมากกินขยะพลาสติกเข้าไป และที่เป็นข่าวที่เป็นกระแสรุนแรงจนต้องมีการรนณรงค์ในการลดขยะพลาสติกในเวลาต่อมาก็คือ การจากไปของน้องมาเรียมพยูนน้อยขวัญใจคนไทย ที่เสียชีวิตการการกินขยะพลาสติกเข้าไป ทำให้ห้างร้านหลายๆแห่งต่างยกเลิกการให้ถุงหิ้วพลาสติก หันมารณรงค์ให้ใช้ถุงผ้าแทน
 
ในช่วงนั้นผลกระทบที่เกิดจากขยะพลาสติกก่อให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงกับท้องทะเลของโลก และพลาสติกเหล่านั้นก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการทำหน้ากากอนามัยในปัจจุบันนี้ด้วย ที่สำคัญปริมาณขยะที่เกิดจากพลาสติกในรูปแบบเดิมยังไม่ได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัดมากนัก แต่กลายเป็นว่ามีขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นใหม่ในปริมาณที่มากกว่าเดิมจำนวนมหาศาลตอกย้ำเข้าไปอีก
 
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
 
เรามาดูกันว่าขยะเหล่านี้จะก่อให้เกิดผลร้ายที่จะมาคร่าชีวิมนุษย์ได้อย่างไร ขยะเหล่านี้จะถูกเล็ดลอดลงสู่แม่น้ำและไหลออกสู่ทะเลในที่สุด ในเบื้องต้นก็จะทำให้ขยะพลาสติกไปบดบังแสงกับแพลงตอนพืชและสาหร่ายต่างๆ รวมถึงการเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว ทำให้การผลิตออกซิเจนของโลกลดลง ส่งผลต่อจำนวนสัตว์น้ำที่ลดลงด้วย ออกซิเจนที่มีในโลกส่วนใหญ่ก็ถูกผลิตมาจากทะเล ซึ่งผลกระทบอื่นๆอาจจะส่งผลให้จากการเสียสมดุล มีโอกาสเกิดภัยพิบัติที่ร้ายแรงรวมถึงโรคอุบัติใหม่ขึ้นมาได้ เรื่องนี้มีโอกาสเป็นไปได้สูงมากเพราะทุกวันนี้เรามีโรคอุบัติใหม่ถี่กว่าในอดีตมาก รวมถึงภัยพิบัติที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
 
ที่มา  ไทยรัฐออนไลน์
 
นอกจากจะมีผลต่อแหล่งน้ำแล้วขยะหน้ากากอนามัยยังส่งผลกระทบต่อสัตว์อีกหลายชนิด มีการพบเห็นนกทะเลและสัตว์ป่าจำนวนมากที่ถูกสายคล้องของหน้ากากอนามัยรัด หลายตัวก็ต้องตายลงไปหลายตัวก็ได้รับความช่วยเหลือจากมนุษย์ ซึ่งก็มีจำนวนน้อยกว่าที่ตายลงไป
 
ขยะพลาสติกจากหน้ากากอนามัยเป็นวัสดุที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recycle) ไม่สามารถย่อยสลายได้ จะมีการแตกตัวมีขนาดเล็กลงที่เรียกว่าไมโครพลาสติก ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงกับมนุษย์อย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะขยะเหล่านี้จะเข้าไปสู่ในตัวสัตว์น้ำที่จะเป็นอาหารของมนุษย์ บางส่วนก็เข้าสู่ในสัตว์บกที่เป็นแหล่งอาหารโปรตีน เพราะวัวควายก็มีโอกาสกินหญ้าที่ปนเปื้อนไมโครพลาสติกเข้าไปด้วย
 
Source: The Knight News
 
สารเคมีที่มีอยู่ในไมโครพลาสติกเป็นพิษต่อสุขภาพมนุษย์สูง เพราะในไมโครพลาสติกมีกลุ่มสารมลพิษตกค้างยาวนาน หรือ Persistent Organic Pollutants (POPs) อย่างเช่น ยาฆ่าแมลงและพลาสติกไซเซอร์ รวมถึงส่วนประกอบในพลาสติกประเภท PE และ PP ด้วย และอย่าลืมว่าโลกเราต้องรับปัญหานี้ยาวนานกว่า 450 ปีด้วยนะครับ (Greenpeace Thailand 24 September 2020)
 
เมื่อเรามองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นที่จะมีขนาดใหญ่ รัฐบาลหลายๆประเทศไม่อาจจะดำเนินการบริหารจัดการได้เพียงลำพังด้วยวิธีเดิม เช่น การฝังกลบหรือการเผาแบบไร้มลพิษ แต่เรื่องนี้จะสร้างมูลค่าให้กับผู้ที่มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ลึกๆแล้ว “ยุคใหม่ฯ” ยังเชื่อว่าต้องมีวิธีการกำจัดขยะเหล่านี้ได้และยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่นได้ เพราะเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็เคยเห็นว่ามีการพัฒนาในการใช้จุลินทรีมาย่อยสลายน้ำมันที่รั่วไหลลงทะเล พลาสติกเหล่านี้ก็มีแหล่งกำเนิดมาจากผลผลิตจากน้ำมันดิบ มั่นใจว่าจะสามารถพัฒนามาใช้กับขยะหน้ากากอนามัยได้เช่นกัน
 
ที่มา  bbl-sme
 
อีกธุรกิจใหม่ที่จะเกิดขึ้นสำหรับการแก้ปัญหานี้คือธุรกิจการบริหารจัดการขยะพลาสติกจากหน้ากากอนามัย ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีงานให้ทำอีกหลายปี และในโลกใบนี้ก็ไม่เคยว่างเว้นจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโดยเฉพาะการแพร่เชื้อทางอากาศอยู่แล้ว ต่อให้หมดโควิดก็มีโคอื่นเข้ามาอยู่ดี
 
หรืออีกธุรกิจหนึ่งที่จะเกิดขึ้นและมีความต้องการสูง นั่นก็คือธุรกิจการใช้วัสดุทดแทนที่สามารถย่อยสลายได้เพื่อใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัยนั่นเอง โดยเฉพาะวัสดุที่นำมาผลิตหน้ากากอนามัยที่สามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง
 
ที่มา CreativeMOVE
 
ถึงแม้ว่าช่วงนี้ยังไม่มีวิธีการจัดการกับขยะหน้ากากอนามัยได้อย่างชัดเจน อย่างน้อยเรามาช่วยลดปัญหากันด้วยการร่วมมือร่วมใจกันในการทิ้งหน้ากากอนามัยในถึงขยะที่มีฝาปิดมิดชิด ก่อนทิ้งนำหน้ากากอนามัยมาตัดสายรัดออกก่อนเพื่อไม่ให้เป็นภัยต่อสัตว์ต่างๆ บรรจุในถุงก่อนทิ้งเพื่อให้ผู้ที่จัดการขยะดำเนินการแยกขยะได้ง่ายขึ้น ทั้งยังช่วยลดโอกาสการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นโดยไม่ตั้งใจ.....กันดีกว่า
 
ที่มา : ยุคใหม่การตลาดของไทย : https://www.blockdit.com/posts/608aa34205e21f0c524748ea
 
 
Visitors: 1,430,485