ใช้สิงคโปร์โมเดลจำ-ปรับคนไม่สวมแมสก์ ?

ใช้สิงคโปร์โมเดลจำ-ปรับคนไม่สวมแมสก์ ?
 
 
สิงคโปร์กำลังเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวหลังใช้มาตรการเข้มงวดสุดยอดทั้งจำทั้งปรับคนที่ฝ่าฝืนมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้ผล บ้านเราจะเอาโมเดลนี้มาใช้บ้างดีไหม ?
มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ของสิงคโปร์สำหรับผู้ที่ไม่สวมแมสก์ หรือ หน้ากากป้องกันละอองฝอยจากลมหายใจและสารคัดหลั่งจากการไอจามก็คือ การปรับครั้งละ 300 ดอลาร์สิงคโปร์หรือ 6,600 บาท
 
 
ส่วนการฝ่าฝืน หนีออกจากสถานกักตัว หรือไม่ยอมรับการกักตัวมีโทษถึงจำคุก อย่างกรณีชายคนหนึ่งหลบออกจากโรงแรมที่เป็นที่กักกันตัวผู้เข้าข่ายติดเชื้อไปพบคู่หมั้น เมื่อเดือนที่แล้ว เขาถูกจับเข้าคุกเป็นเวลา 2 สัปดาห์
 
 
อีกรายเป็นสตรีวัย 65 ปี หลบไปพบเพื่อนชายที่โรงแรมแห่งหนึ่ง ถูกกล้องวงจรปิดของโรงแรมจับภาพได้ เธอถูกจำคุก 6 เดือน การฝ่าฝืนมาตรการกักตัวมีโทษปรับถึง 10,000 ดอลลาร์หรือราว 226,950 บาท หรือทั้งปรับ ทั้งจำคุก โทษรุนแรงเช่นนี้ ทำให้สิงคโปร์หลุดพ้นจากประเทศติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้เร็ว
 
 
เมื่อมีการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสได้ครบถ้วน สิงคโปร์ก็พร้อมจะเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนแล้ว เข้าเมืองได้เหมือนก่อนเกิดการระบาด ตรงกันข้ามกับบ้านเรา ที่หย่อนยานด้านการใช้กฎหมายกับผู้ฝ่าฝืนมาตรการป้องกันไวรัส
 
 
แม้การแพทย์จะเข้มแข็ง ควบคุมการแพร่ระบาดได้ แต่การละเลย ไม่เข้มงวดกับมาตรการป้องกันเฉพาะบุคคล กลับนำมาสู่การระบาดระลอกสอง ถ้าใช้มาตรการกฎหมายแบบสิงคโปร์ ใครไม่ใส่แมสก์โดนปรับ เอาแค่ครึ่งเดียวของสิงคโปร์ก็พอ เชื่อว่าการระบาดจะสิ้นสุดลงในไม่เกินปีนี้
 
 
สำหรับการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากคลัสเตอร์ตลาดบางแคที่ลุกลามวงกว้างนั้น สาเหตุมาจากความประมาทและการปล่อยปละละเลยของเจ้าหน้าที่ที่ไม่ควบคุมเข้มงวดบรรดาพ่อค้าแม่ค้า ลูกจ้างพม่าที่ไม่สวมแมสก์ ไม่เว้นระยะห่าง
 
 
รวมถึงการปล่อยให้เชื้อแพร่ทางการพูด การคุย การตะโกนและการสัมผัสสินค้า เครื่องใช้ส่วนรวม เช่น ห้องน้ำ ห้องส้วม เป็นต้น คลัสเตอร์ตลาดบางแคที่ยอดพุ่งเกินร้อยคนในระยะเวลาแค่สัปดาห์เดียว เป็นสัญญาณเตือนว่า โควิด-19 ยังไม่ลดหายไปจากเมืองไทยง่ายๆ
 
 
กว่าจะยุติแบบคลัสเตอร์ตลาดมหาชัยได้ ก็คงกินเวลา 2-3 เดือน เพราะรูปแบบเดียวกัน คือแม่ค้าซื้อสินค้าจากตลาดค้าส่งเพื่อนำไปขายต่อ
 
 
ส่วนการปิดตลาดบางแคสามวันนั้นพอหรือไม่ ?
 
 
คงช่วยอะไรไม่ได้มาก เพียงแต่ได้ล้างตลาด พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ แต่หากยังไม่สามารถค้นหาคนแพร่เชื้อมากักตัว รักษาให้หายได้ทั้งหมด และเมื่อเปิดให้บริการใหม่ ไม่มีมาตรการป้องกันการระบาดอย่างเข้มงวด ก็จะกลับไปเหมือนเดิม
 
 
ทั้งนี้ตัวแพร่เชื้อที่น่าระแวง และระวังที่สุดก็คือ แรงงานพม่า ที่แม้คนที่รับจ้างในตลาดจะไม่ติดเชื้อในวันนี้ แต่การติดต่อระหว่างกันของแรงงานเหล่านี้ โดยเฉพาะวันหยุด พวกเขามักจะพบปะ ไปมาหาสู่กันฉันเพื่อนร่วมชาติที่มาอยู่ต่างบ้านต่างเมือง ก็จะเปิดโอกาสให้มีการแพร่เชื้อสู่กันได้
 
 
แรงงานพม่า ส่วนใหญ่อายุยังน้อย ร่างกายแข็งแรงเมื่อติดเชื้อ ก็มักจะไม่มีอาการ จึงกลายเป็นพาหะเงียบไปติดคนอื่น แรงงานพม่าที่สมุทรสาครที่มีการตรวจพบเชื้อนั้น เกือบครึ่งไม่มีอาการ
 
 
จึงทำให้ พ่อค้า แม่ค้า ลูกค้า ที่มาใช้บริการในตลาดย่ามใจ คิดว่าไม่มีเภทภัยไวรัสคุกคาม ทั้งๆที่มันล่องลอยอยู่ในอากาศและพื้นผิวสัมผัสที่มองไม่เห็น
 
 
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินจัดการพวกไม่สวมแมสก์ หรือ สวมไม่ถูกสุขลักษณะ
 
 
ถ้าอยากเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือ ให้ฉลองสงกรานต์กันได้ ก็ต้องใช้มาตรการเข้มงวดแบบสิงคโปร์
 
 
แต่ถ้ายังหย่อนยาน ปล่อยให้คนไม่สวมแมสก์เดินเพ่นพ่านในย่านชุมนุมแออัดอย่างนี้ ไวรัสก็จะยังสิงสู่ในหมู่ชนที่ต้องทำมาหากินกับผู้คนไม่จบสิ้น
 
 
ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจ ก็จะเป็นกระดกหัวขึ้นแล้วตกดิ่ง ขึ้นๆลงๆ เป็นรูป ตัว W ไปอีก 2 ปีนับแต่นี้ไปแสงไทย เค้าภูไทย
 
 
สิงคโปร์กำลังเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวหลังใช้มาตรการเข้มงวดสุดยอดทั้งจำทั้งปรับคนที่ฝ่าฝืนมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้ผล บ้านเราจะเอาโมเดลนี้มาใช้บ้างดีไหม ?
 
 
มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ของสิงคโปร์สำหรับผู้ที่ไม่สวมแมสก์ หรือ หน้ากากป้องกันละอองฝอยจากลมหายใจและสารคัดหลั่งจากการไอจามก็คือ การปรับครั้งละ 300 ดอลาร์สิงคโปร์หรือ 6,600 บาท
 
 
ส่วนการฝ่าฝืน หนีออกจากสถานกักตัว หรือไม่ยอมรับการกักตัวมีโทษถึงจำคุก
 
 
อย่างกรณีชายคนหนึ่งหลบออกจากโรงแรมที่เป็นที่กักกันตัวผู้เข้าข่ายติดเชื้อไปพบคู่หมั้น เมื่อเดือนที่แล้ว เขาถูกจับเข้าคุกเป็นเวลา 2 สัปดาห์
 
 
อีกรายเป็นสตรีวัย 65 ปี หลบไปพบเพื่อนชายที่โรงแรมแห่งหนึ่ง ถูกกล้องวงจรปิดของโรงแรมจับภาพได้ เธอถูกจำคุก 6 เดือน
 
 
การฝ่าฝืนมาตรการกักตัวมีโทษปรับถึง 10,000 ดอลลาร์หรือราว 226,950 บาท หรือทั้งปรับ ทั้งจำคุก
 
 
โทษรุนแรงเช่นนี้ ทำให้สิงคโปร์หลุดพ้นจากประเทศติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้เร็ว
 
 
เมื่อมีการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสได้ครบถ้วน สิงคโปร์ก็พร้อมจะเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนแล้ว เข้าเมืองได้เหมือนก่อนเกิดการระบาด
 
 
ตรงกันข้ามกับบ้านเรา ที่หย่อนยานด้านการใช้กฎหมายกับผู้ฝ่าฝืนมาตรการป้องกันไวรัส
 
 
แม้การแพทย์จะเข้มแข็ง ควบคุมการแพร่ระบาดได้ แต่การละเลย ไม่เข้มงวดกับมาตรการป้องกันเฉพาะบุคคล กลับนำมาสู่การระบาดระลอกสอง
 
 
ถ้าใช้มาตรการกฎหมายแบบสิงคโปร์ ใครไม่ใส่แมสก์โดนปรับ เอาแค่ครึ่งเดียวของสิงคโปร์ก็พอ เชื่อว่าการระบาดจะสิ้นสุดลงในไม่เกินปีนี้
 
 
สำหรับการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากคลัสเตอร์ตลาดบางแคที่ลุกลามวงกว้างนั้น สาเหตุมาจากความประมาทและการปล่อยปละละเลยของเจ้าหน้าที่ที่ไม่ควบคุมเข้มงวดบรรดาพ่อค้าแม่ค้า ลูกจ้างพม่าที่ไม่สวมแมสก์ ไม่เว้นระยะห่าง
 
 
รวมถึงการปล่อยให้เชื้อแพร่ทางการพูด การคุย การตะโกนและการสัมผัสสินค้า เครื่องใช้ส่วนรวม เช่น ห้องน้ำ ห้องส้วม เป็นต้น
 
 
คลัสเตอร์ตลาดบางแคที่ยอดพุ่งเกินร้อยคนในระยะเวลาแค่สัปดาห์เดียว เป็นสัญญาณเตือนว่า โควิด-19 ยังไม่ลดหายไปจากเมืองไทยง่ายๆ
 
 
กว่าจะยุติแบบคลัสเตอร์ตลาดมหาชัยได้ ก็คงกินเวลา 2-3 เดือน เพราะรูปแบบเดียวกัน คือแม่ค้าซื้อสินค้าจากตลาดค้าส่งเพื่อนำไปขายต่อ
 
 
ส่วนการปิดตลาดบางแคสามวันนั้นพอหรือไม่ ?
 
 
คงช่วยอะไรไม่ได้มาก เพียงแต่ได้ล้างตลาด พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ แต่หากยังไม่สามารถค้นหาคนแพร่เชื้อมากักตัว รักษาให้หายได้ทั้งหมด และเมื่อเปิดให้บริการใหม่ ไม่มีมาตรการป้องกันการระบาดอย่างเข้มงวด ก็จะกลับไปเหมือนเดิม
 
 
ทั้งนี้ตัวแพร่เชื้อที่น่าระแวง และระวังที่สุดก็คือ แรงงานพม่า ที่แม้คนที่รับจ้างในตลาดจะไม่ติดเชื้อในวันนี้ แต่การติดต่อระหว่างกันของแรงงานเหล่านี้ โดยเฉพาะวันหยุด พวกเขามักจะพบปะ ไปมาหาสู่กันฉันเพื่อนร่วมชาติที่มาอยู่ต่างบ้านต่างเมือง ก็จะเปิดโอกาสให้มีการแพร่เชื้อสู่กันได้
 
 
แรงงานพม่า ส่วนใหญ่อายุยังน้อย ร่างกายแข็งแรงเมื่อติดเชื้อ ก็มักจะไม่มีอาการ จึงกลายเป็นพาหะเงียบไปติดคนอื่น แรงงานพม่าที่สมุทรสาครที่มีการตรวจพบเชื้อนั้น เกือบครึ่งไม่มีอาการ
 
 
จึงทำให้ พ่อค้า แม่ค้า ลูกค้า ที่มาใช้บริการในตลาดย่ามใจ คิดว่าไม่มีเภทภัยไวรัสคุกคาม ทั้งๆที่มันล่องลอยอยู่ในอากาศและพื้นผิวสัมผัสที่มองไม่เห็น
 
 
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินจัดการพวกไม่สวมแมสก์ หรือ สวมไม่ถูกสุขลักษณะ
 
 
ถ้าอยากเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือ ให้ฉลองสงกรานต์กันได้ ก็ต้องใช้มาตรการเข้มงวดแบบสิงคโปร์
 
 
แต่ถ้ายังหย่อนยาน ปล่อยให้คนไม่สวมแมสก์เดินเพ่นพ่านในย่านชุมนุมแออัดอย่างนี้ ไวรัสก็จะยังสิงสู่ในหมู่ชนที่ต้องทำมาหากินกับผู้คนไม่จบสิ้น
 
 
ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจ ก็จะเป็นกระดกหัวขึ้นแล้วตกดิ่ง ขึ้นๆลงๆ เป็นรูป ตัว W ไปอีก 2 ปีนับแต่นี้ไป
 
 
 
คอลัมน์ : ทางเสือผ่าน
แสงไทย เค้าภูไทย
 
 
 
Visitors: 1,216,671