เทคนิคลดความขัดแย้งเล็กๆ ในที่ทำงาน

เทคนิคลดความขัดแย้งเล็กๆ ในที่ทำงาน
 
 
 
คำพูดบางคำหรือบางประโยคที่ใช้ในที่ทำงาน ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรพูดออกไปหรือพูดทุกอย่างตามที่ตัวเองคิด เพราะบางครั้งคำพูดเหล่านี้ วันหนึ่งอาจย้อนกลับมา
ทำร้ายตัวเราได้ วันนี้มีเทคนิคเล็กๆ เพื่อลดความขัดแย้งในที่ทำงาน จะเป็นอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันค่ะ
 
 
1. ถูกถามเรื่องเงินเดือน ต้องตอบยังไงดี?
“เงินเดือน เป็นเรื่องลับเฉพาะตัว ไม่ควรบอกกล่าวต่อผู้ใด หากบอกกล่าว จะมีความผิดตาม บริษัท”
ที่ไหนทำได้บ้าง? .....ยกมือขึ้นนนน!!
 
 
2. ผมไม่แคร์หรอก ตั้งใจจะลาออกอยู่แล้ว
คนที่พูดแบบนี้ ส่วนใหญ่จะยังอยู่กับบริษัท หรือองค์กร แต่กลุ่มคนที่เงียบๆ มักจะมีใบลาออกมายื่นทันที
“ไม่จำเป็น ไม่ควรพูด“
 
 
3. หนูไม่ทำเรื่องนี้ได้มั้ยคะ
เป็นประโยคปฏิเสธเมื่อได้รับมอบหมายงาน อาจเกิดจากความเคยชิน หรือความตั้งใจจริง
“ให้ระวังหากเจอหัวหน้าที่จำฝังใจ สิ้นปีเจอผลประเมินยาวแน่ๆ”
 
 
4. ชื่นชมหัวหน้าคนอื่น แต่นินทาหัวหน้าตัวเอง
จริงๆแล้ว การชมเป็นเรื่องที่ดี แต่หลายครั้งที่คำชมนั้นถูกเปลี่ยนเป็นความหมายอื่น โดยเฉพาะ หัวหน้าที่อยู่ในหน่วยงานเราเอง
“เลือกพูด เลือกชม ให้ถูกเวลาและโอกาส”
 
 
5. รุ่นพี่ อยู่อีกไม่นาน เดี๋ยวก็เกษียณแล้ว
รุ่นพี่ๆหลายคน ชอบใช้คำพูดนี้กับน้องใหม่ บางครั้งทำให้เกิดความสงสัยว่า องค์กรนี้มีปัญหารึเปล่า
“แทนที่จะเป็นคำพูดกระตุ้นจูงใจ บางครั้งกลายเป็นแรงกดดันให้น้องลาออกเร็วขึ้น”
 
 
 
6. เม้าท์เรื่องส่วนตัวเพื่อนร่วมงาน
กลุ่มที่ชอบยุ่งเรื่องส่วนตัวของเพื่อน ไม่ว่าจะส่ง FB ตาม IG แล้วนำเรื่องของเพื่อนมาพูดต่อ ไม่ว่าจะดี หรือเสียหาย คุณได้สร้างศัตรูขึ้นแล้ว
“เรื่องส่วนตัว อย่าเอามายุ่งกับเรื่องงาน”
 
 
7. ใช้คำพูดหักหน้า เพื่อนร่วมงาน
หลายครั้งที่อยากแสดงความเห็น หรือร่วมวงคุยกับเพื่อน แต่ไม่สามารถใช้คำพูดที่เชื่อมโยงกับวงสนทนา บางครั้งกลายเป็นการหักหน้า ต้องระวังให้มาก
“พูดไม่ค่อยเก่ง ก็เป็นผู้ฟังที่ดี ก็น่ารักนะ”
 
 
8. ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เคยทำ จำไม่ได้
เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการขาดความใส่ใจ หรือการตระหนักถึงความสำคัญของงานที่รับผิดชอบ
“ช่วยคิด ช่วยหาบ้าง เป็นน้ำใจเล็กๆ สำหรับคนที่ต้องการความช่วยเหลือ”
 
 
Visitors: 1,429,856