เมื่อนึกถึงแผงโซลาร์เซลล์ หลายคนคงนึกถึงแผงที่ใหญ่ และติดตั้งไว้ในพื้นที่กว้างที่มีแดดจ้า
แต่นี่คือแผงโซลาร์เซลล์แบบใหม่ที่พับเก็บได้ และสามารถปริ้นท์ไปติดที่ไหนก็ได้ Univeristy of Newcastle Centre of Organic Electronics ในรัฐ New South Wales ประเทศออสเตรเลีย ผู้ผลิตเผยว่า สิ่งนี้สามารถปฏิวัติการผลิตไฟฟ้าในเมืองเลยก็ว่าได้
แผงโซลาร์เซลล์นี้หนา 0.075 มิลลิเมตร สร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ที่ใช้โพลีเมอร์ออแกร์นิคทำให้โซลาร์เซลล์นี้ออกมาในรูปแบบของน้ำหมึก ซึ่งพอปริ้นท์ออกมามันก็สามารถจับพลังงานแสงอาทิตย์มาแปลงเป็นไฟฟ้าได้
ดังนั้น มันจึงต่างจากโซลาร์เซลล์แบบเดิมที่มักใช้ซิลิโคนในการนำไฟฟ้า และหนัก 15 กิโลกรัมต่อ 1 ตารางเมตร ในขณะที่แผ่นโซลาร์เซลล์นี้ปริ้นท์ออกมาได้ความหนาแค่ประมาณหนังสือพิมพ์ 1 แผ่นเอง
และด้วยความที่มันสามารถปริ้นท์ออกมาได้จากเครื่องปริ้นท์ประมาณ 100 ชิ้นต่อวัน การผลิตแผงออกมาในจำนวนเยอะ ๆ ก็มักจะไม่ใช่ปัญหา ราคาของแผงก็จะไม่สูง คาดว่าน่าจะอยู่ที่ประมาณ 10 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (300 บาท) ต่อ 1 ตารางเมตร
ตามที่ศาสตราจารย์ Paul Dastoor จาก University of Newcastle กล่าว แผงโซลาร์เซลล์แบบปริ้นท์นี้สามารถนำไปติดได้กับทุกที่ สามารถนำไปแปลงเป็นพลังงานให้กับไฟถนน ปั๊มน้ำ ไฟ แคมป์ ตึก หน้าต่าง ที่อยู่อาศัยชั่วคราวของผู้หลบภัย หรือแม้กระทั่งไปเป็นพลังงานให้กับรถยนต์
นอกจากนี้ แผงยังสามารถติดเทปกาวได้ เพื่อให้มันเข้าไปพื้นผิวที่นำไปแปะ ดังนั้นค่าการติดตั้ง หรือข้อกังวลในการติดตั้งก็แถบจะไม่มีเลย
อย่างไรก็ตาม แผงแบบใหม่นี้มีทำจากพลาสติก PET มันจึงแข็งแรงทนทานน้อยกว่าแบบเดิม และมีอายุขัยสั้นกว่าแบบเดิมด้วย (แบมเดิมใช้งานได้ 20 ปี แต่แบบใหม่นี้ใช้ได้ 2 ปี) ซึ่งนักวิจัยก็ตระหนักถึงข้อควรแก้ไขนี้ พวกเขาก็เริ่มที่จะวางแผน หาวิธีนำส่วนด้านนอกที่ทำจาก PET ออกมารีไซเคิลต่อในอนาคต
นวัตกรรมนี้ถือว่าตอบโจทย์ความต้องการที่จะทำให้โลกเข้าสู่ยุคของพลังงานสะอาดมาก และยั่งยืนยิ่งขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
ข้อมูลจาก : เพจ Environman
|